การเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา ต้องพิจารณาสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่าผู้เสียหายในทางคดีอาญามาใช้บังคับ |การเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา ต้องพิจารณาสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่าผู้เสียหายในทางคดีอาญามาใช้บังคับ 

การเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา ต้องพิจารณาสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่าผู้เสียหายในทางคดีอาญามาใช้บังคับ 

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา ต้องพิจารณาสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่าผู้เสียหายในทางคดีอาญามาใช้บังคับ 

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 3098/2563

บทความวันที่ 5 ก.ค. 2565, 13:42

มีผู้อ่านทั้งหมด 427 ครั้ง


การเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา ต้องพิจารณาสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่าผู้เสียหายในทางคดีอาญามาใช้บังคับ 
ลองอ่านฎีกาใหม่และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 3098/2563
           จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยพูดยั่วยุขึ้นก่อนและทำท่าทางเหมือนจะทำร้ายโจทก์ร่วมโจทก์ร่วมจึงชกจำเลยแล้วโจทก์ร่วมกับจำเลยได้ชกต่อยกันหลังจากโจทก์ร่วมเลิกชกต่อยกับจำเลย ขณะโจทก์ร่วมเดินหันหลังให้จำเลย จำเลยใช้อาวุธมีดแทงถูกหัวไหล่ซ้ายด้านหลังและต้นแขนซ้าย ดังนั้น การที่จำเลยใช้อาวุธมีดแทงโจทก์ร่วมภายหลังจากโจทก์ร่วมเลิกชกต่อยกับจำเลยและหันหลังให้จำเลยแล้ว กรณีจึงไม่ใช่ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและภยันตรายที่ใกล้จะถึงและจะถือว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้ จำเลยไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ.มาตรา 68 และมาตรา 72 ได้
    การที่จำเลยใช้มีดแทงโจทก์ร่วมที่หัวไหล่ซ้ายด้านหลังถึงปอดจนทำให้ปอดซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมา บ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม จำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
    แม้ตาม ป.วิ.อ. ได้มีคำอธิบายคำว่า ผู้เสียหาย ไว้ตามมาตรา 2(4) ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6” แต่ข้อความตามมาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ย่อมมีความหมายในตัวว่า หมายถึง ผู้มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงมีความหมายที่แตกต่างขัดกับความหมายของผู้เสียหายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2(4) การตีความคำว่าผู้เสียหายตามมาตรา 44/1 จึงไม่ต้องถือตามความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 2(4) ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 1 ที่บัญญัติว่า “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้ว ให้ถือตามความหมายดังที่ได้อธิบายไว้เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น” ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้จะมีสิทธิยื่นคำร้อง ต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่าผู้เสียหายในทางคดีอาญามาใช้บังคับ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 68
ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด
มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
มาตรา 288  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 (4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6
มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น  ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้
            คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้
#ฆ่า #ป้องกัน #บรรดาลโทสะ #ผู้เสียหาย #ค่าเสียหาย #ทนายคลายทุกข์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก