งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ภาระจำยอมจดทะเบียนให้เดินจะไปจอดรถหรือเก็บของไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4168/2563
ที่ดินของจำเลยเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระจำยอมที่พิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เฉพาะแต่เรื่องการเดิน แต่ภาระจำยอมที่พิพาทมิได้ใช้เป็นเรื่องทางเดินเป็นเวลากว่าสิบปี ภาระจำยอมที่พิพาทมิได้ใช้เป็นเรื่องทางเดินเป็นเวลากว่าสิบปี ภาระจำยอมที่พิพาทย่อมสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 แม้มีการใช้ประโยชน์ในภาระจำยอมที่พิพาทเพื่อจอดรถและเก็บของในเวลาต่อมา แต่ก็มิใช่เป็นการใช้ประโยชน์ในภาระจำยอมที่พิพาทในเรื่องทางเดิน ซึ่งถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าของสามยทรัพย์ทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือเป็นกรณีที่ความต้องการแห่งเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ซึ่งไม่อาจทำได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1388 และมาตรา 1389 ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อภาระจำยอมที่พิพาทสิ้นไป ที่ดินของจำเลยจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อีกต่อไป จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของจำเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยชอบที่จะปิดกั้นทางภาระจำยอม และขอให้โจทก์จดทะเบียนเพิกถอนภาระจำยอมในที่ดินแก่จำเลยได้โดยชอบ
เดิมที่ดินทั้งสองแปลงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างบิดาโจทก์กับ ช. บิดาโจทก์ได้สร้างบ้านเลขที่ 251 ลงบนที่ดินก่อนบริเวณด้านหน้า แล้ว ช. จึงสร้างบ้านเลขที่ 251/1ลงบนที่ดินบริเวณด้านหลัง จากนั้นจึงได้ไปแบ่งแยกโฉนดที่ดินกันโดยบ้านของบิดาโจทก์ อยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 247682 ส่วนบ้านของ ช. อยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 19262 เมื่อแบ่งแยกโฉนดที่ดินแล้ว ปรากฎว่าระเบียงไม้ของบิดาโจทก์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ช. เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 247682 พร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อมาโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ก่อสร้างระเบียงไม้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย กรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยตรงตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 จึงต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรกมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง โดยถือว่าระเบียงไม้ที่รุกล้ำนั้นเป็นมาโดยสุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์รื้อระเบียงไม้ แต่เมื่อปรากฎต่อมาว่าโจทก์ได้รื้อระเบียงไม้ออกเนื่องจากผุพังแล้วสร้างระเบียงเหล็กขึ้นมาแทนโดยโจทก์ทราบดีว่า ระเบียงเหล็กที่สร้างขึ้นใหม่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 19262 ของจำเลยโดยจำเลยไม่ยินยอม จึงเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนระเบียงเหล็กที่สร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนระเบียงเหล็กที่สร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโฉนดเลขที่ 19262 ของจำเลยตามฟ้องแย้งได้