รวมคำพิพากษาฎีกาที่ควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ใคร|รวมคำพิพากษาฎีกาที่ควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ใคร

รวมคำพิพากษาฎีกาที่ควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ใคร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

รวมคำพิพากษาฎีกาที่ควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ใคร

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2562

บทความวันที่ 11 ม.ค. 2564, 11:43

มีผู้อ่านทั้งหมด 4693 ครั้ง


รวมคำพิพากษาฎีกาที่ควรรู้ก่อนค้ำประกันให้ใคร

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2562
               จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556  โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อจำเลยที่ 1  ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 27  เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558  ถือได้ว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557  ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า บทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสัญญาที่จะทำไปก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมาตรา 19 บัญญัติว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันให้เป็นไปตามมาตรา 686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ โดยบัญญัติว่าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้
               โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันทราบถึงการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 686  วรรคหนึ่ง ย่อมทำให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4  ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 686  วรรคสอง  อันได้แก่ค่าขาดประโยชน์แต่ในส่วนของการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์เป็นหนี้ประธานรวมทั้งถ้าส่งมอบรถยนต์คืนไม่ได้  การใช้ราคาแทนย่อมเป็นหนี้ประธานด้วยเช่นกัน  แม้โจทก์จะไม่ได้บอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2562
              ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า บรรดาหนังสือจดหมายคำบอกกล่าวใด ๆของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้  โดยส่งเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะถึงตัวหรือไม่ถึงตัวและไม่ว่าจะมีผู้ใดรับหรือไม่มีผู้ใดยอมรับไว้  หรือไม่ยอมมารับภายในกำหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้มารับ  ข้าพเจ้ายินยอมผูกพันให้ถือว่าหนังสือ จดหมาย หรือคำบอกกล่าวใดๆ นั้น ได้ส่งให้ข้าพเจ้าโดยชอบแล้ว  เมื่อโจทก์ได้หนังสือขอให้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปตามที่อยู่ของจำเลยที่ 2 ตามที่แจ้งไว้ในสัญญาค้ำประกัน แม้ทางไปรษณีย์จะคืนหนังสือที่ส่งไปให้จำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่มารับภายในกำหนดก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว  โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้
              จำเลยที่ 1 ผิดนัดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้าประกันชำระหนี้และบอกเลิกสัญญาพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากหลุดพ้นกำหนดเวลา 60 วัน  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสอง  แต่หนี้การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ประธาน จำเลยที่ 2 ย่อมไม่หลุดพ้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกันเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี  หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนและค่าขาดประโยชน์อันเป็นค่าเสียหายนับแต่วันผิดนัดแต่ไม่เกิน 60 วัน พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2562
              จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์  ภาระชำระหนี้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งรวมถึงหนี้ที่จะเกิดหากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อก็ให้ใช้ราคาแทนที่เป็นกรณีหนี้ที่เป็นเงื่อนไขสืบต่อเนื่องมาและเป็นหนี้ในตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยตรง อันถือเป็นหนี้ประธานหาใช่เป็นหนี้อุปกรณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดหาได้หลุดพ้นจากความรับผิดจากการที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสอง
             สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2555  ก่อนที่จะมีการเพิ่มเติมมาตรา 681/1 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 และตามมาตรา 18 พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ว่า "ไม่กระทบกระเทือนถึงสัญญาที่ได้ทำไว้ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามข้อสัญญาค้ำประกัน

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2562
              ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันตกลงว่าในกรณีที่ธนาคารมีหนังสือแจ้งหรือบอกกล่าวเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการค้ำประกันตามหนังสือสัญญานี้หรือตามกฎหมายหากส่งไปยังผู้ค้ำประกัน ณ ที่อยู่ดังกล่าวข้างต้นของหนังสือสัญญานี้  หรือส่ง ณ สถานที่ซึ่งผู้ค้ำประกันแจ้งให้ธนาคารทราบเป็นหนังสือในภายหลัง ให้ถือว่าธนาคารได้แจ้งหรือบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ค้ำประกันทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว  เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่เคยแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนั้น ที่พนักงานไปรษณีย์ทำหนังสือทวงถามของโจทก์ที่ส่งให้จำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการ  แม้จะไม่พบจำเลยที่ 2 และไม่มีผู้ใดรับไว้โดยระบุว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่รับหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ และถือได้ว่าหนังสือบอกกล่าวการบอกกล่าวของโจทก์ได้ไปถึงจำเลยที่ 2 ทั้งก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำหนี้ตามที่อยู่เดียวกันกับคำฟ้องซึ่งมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 มีผลเป็นการบอกกล่าวโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคหนึ่ง และมาตรา 169 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 686 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
              หนังสือบอกกล่าวของโจทก์ได้ไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันภายหลังเวลาที่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 686 วรรคสอง  จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยต้นเงินจำกัดเฉพาะช่วงเวลา 60 วัน นับแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2562
             หนังสือบอกกล่าวที่โจทก์ส่งไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 1  ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมียอดหนี้จำนวนเงินค้างชำระและยังมิได้ชำระหนี้ ขอให้ไปชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวซึ่งมีข้อความที่แจ้งว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้  เข้าลักษณะเป็นหนังสือบอกกล่าวตามความมุ่งหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบข้อความหนังสือบอกกล่าวไว้  
              จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้รับหนังสือบอกกล่าวที่โจทก์ส่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้่ำประกันภายใน 60 วัน  นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด  จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสอง  โจทก์คงเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่คิดได้เพียง 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด

6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2562
            จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายหลังพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557  มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 แล้ว แม้สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันจะทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับ แต่สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686  ที่แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันนี้
          จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันได้รับหนังสือบอกกล่าวภายหลังพ้นกำหนดเวลา 60 วัน  นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อผิดนัดมีผลให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นเฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังเวลา 60 วัน แต่หนี้การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นหนี้ประธานหาใช่ค่าภาระติดพันอันเป็นหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสองไม่  จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน

7. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2562
             ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว  โจทก์ไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันภายใน 60 วันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคหนึ่ง  แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ซึ่งมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวบัญญัติให้ใช้บังคับมาตรา 686 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้กับกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2          

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก