แม้เกิน10ปีนับแต่ศาลพิพากษาแล้ว แต่ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิบังคับจำนองได้|แม้เกิน10ปีนับแต่ศาลพิพากษาแล้ว แต่ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิบังคับจำนองได้

แม้เกิน10ปีนับแต่ศาลพิพากษาแล้ว แต่ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิบังคับจำนองได้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

แม้เกิน10ปีนับแต่ศาลพิพากษาแล้ว แต่ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิบังคับจำนองได้

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2563

บทความวันที่ 7 ม.ค. 2564, 09:42

มีผู้อ่านทั้งหมด 1647 ครั้ง


แม้เกิน10ปีนับแต่ศาลพิพากษาแล้ว แต่ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิบังคับจำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2563
             จำเลยที่ 3 และที่ 4 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 18255 พร้อมสิ่งปลูกสร้างได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อธนาคาร ศ. แล้วผิดนัดชำระหนี้ ธนาคาร ศ. จึงได้ฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง  ศาลจังหวัดสมุทรสาครมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544  ให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ร่วมกันชำระหนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ผู้เข้าสวมสิทธิแทนโจทก์ภายใน 6 เดือน นับจากวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 18255  พร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ภายหลังครบกำหนดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม (วันที่ 14 มิถุนายน 2545) จำเลยทั้งสามผิดนัดชำระหนี้โดยไม่ปรากฎว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ได้บังคับคดียึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 18255  พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาด  แต่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสมุทรสาครให้แก่ผู้ร้อง  ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541  และศาลจังหวัดสมุทรสาครมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์แล้ว
              แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271(เดิม) (มาตรา 274 ปัจจุบัน) ผู้ร้องต้องขอให้บังคับคดีภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยทั้งสามผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (วันที่ 14 มิถุนายน 2545) ก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนเป็นคดีนี้วันที่ 8 สิงหาคม 2559 พ้นระยะเวลา 10 ปี  จากวันดังกล่าวก็มีผลเพียงทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิบังคับคดีในคดีดังกล่าว  แต่ไม่เป็นเหตุให้หนี้จำนองระงับสิ้นไป  ทรัพยสิทธิจำนองยังคงมีอยู่และสามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองนั้นต่อไปได้  แต่ทั้งนี้ผู้ร้องจะบังคับดอกเบี้ยเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 และมาตรา 745  ประกอบกับการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับคดีเหนือทรัพย์นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287(เดิม) (มาตรา 322 ปัจจุบัน)  เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับโอนสิทธิของผู้รับจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 18255 พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์คดีนี้นำยึด และขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองได้ใช้สิทธิตามมาตรา 287(เดิม)  ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันเงินจากการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287(เดิม) ได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก