รวมคำพิพากษาคดีทุจริตเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ|รวมคำพิพากษาคดีทุจริตเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ

รวมคำพิพากษาคดีทุจริตเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

รวมคำพิพากษาคดีทุจริตเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ

  • Defalut Image

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2554

บทความวันที่ 12 พ.ย. 2563, 14:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 810 ครั้ง


รวมคำพิพากษาคดีทุจริตเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อ

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2554
           ในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการดำเนินการของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการ ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2540 ของโจทก์มีมติอนุมัติให้ซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์สองคัน ในวงเงิน 1,500,000 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด 1 คัน ราคา 291,970 บาท และยี่ห้อเบนซ์ 1 คัน ราคา 1,750,000 บาท เกินกว่าวงเงินตามมติของโจทก์ดังกล่าวถึง 541,970 บาท ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ และทำให้โจทก์เสียหาย เพราะโจทก์จะต้องจ่ายเงินซื้อรถยนต์ในราคาที่สูงเกินไป แทนที่จะนำเงินจำนวนนั้นไปใช้อย่างอื่นตามวัตถุประสงค์ของโจทก์เป็นการไม่ประหยัดไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสิบสี่อ้างว่าโจทก์ให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำดังกล่าวแล้ว ทั้งโจทก์ยังขายรถยนต์ทั้งสองคัน โดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์จะขายรถยนต์ทั้งสองคันโดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุนก็ไม่อาจทำให้ความเสียหายของโจทก์กลับเป็นไม่มีความเสียหายอีกได้ และการให้สัตยาบันยอมรับรู้การกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อผู้ขายรถยนต์ทั้งสองคัน ผู้สุจริตจากการกระทำของจำเลยทั้งสิบสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 ถึง 823 เท่านั้นโดยมิได้ทำให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นความรับผิดในความเสียหายจากการกระทำของตนต่อโจทก์
          เมื่อปรากฏว่าตั้งแต่วันที่จำเลยทั้งสิบสี่อนุมัติให้ซื้อรถยนต์ทั้งสองคัน จนถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์มีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการชั่วคราว จำเลยทั้งสิบสี่ยังมีฐานะเป็นกรรมการดำเนินการของโจทก์อยู่ จึงยังถือไม่ได้ว่าก่อนหน้าวันที่ 20 ธันวาคม 2543 โจทก์ทราบเหตุการณ์กระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบสี่ แต่ถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 20 ธันวาคม 2543 อันเป็นวันที่นายทะเบียนสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสิบสี่พ้นจากตำแหน่งและตั้งกรรมการดำเนินการโจทก์ชั่วคราว เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2526
            แม้จำเลยจะไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องที่รวมกันมาไม่เป็นเหตุให้ผลแห่งคดีของโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไป ทั้งศาลชั้นต้นได้รับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 681/2506)
           โจทก์ในฐานะตัวการฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 3 ได้ให้จำเลยที่1 กู้เงินไปโดยปราศจากอำนาจหรือนอกขอบอำนาจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่อาจบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ ดังนี้ จำเลยที่ 3 จะอ้างว่าโจทก์ได้ดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้รายงานให้ทราบทุกเดือนโจทก์ไม่เคยทักท้วง จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดไม่ได้ เพราะข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกฟ้องให้ตัวการรับผิดในการกระทำของตัวแทนซึ่งเป็นคนละกรณีกับตัวการฟ้องตัวแทนให้รับผิดต่อตัวการ

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2531
            จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์อนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบหลายราย แต่โจทก์ก็ได้ติดตามทวงถามจนได้รับชำระหนี้ครบถ้วนคงเหลือเพียง 2 ราย ในการอนุมัติดังกล่าวจำเลยได้รายงานให้สำนักงานใหญ่ทราบทุกครั้งเป็นวัน ๆ ไป โจทก์หาได้ทักท้วงเป็นกิจจะลักษณะหรือดำเนินการลงโทษจำเลยทางวินัยไม่ กลับยอมรับเอาดอกเบี้ยอันเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการกระทำของจำเลยมาตลอด แสดงว่าโจทก์เต็มใจยอมรับเอาผลเสียหายอันอาจเกิดแก่โจทก์ในอนาคต ไม่ได้ถือเอาการที่จำเลยอนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เป็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างจริงจังจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญาตัวแทนโดยการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยไม่ได้

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2512
             จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างโดยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ ได้ขายมะพร้าวเชื่อให้ ป. และ ส. ไปโดยมิได้ให้ผู้ซื้อทำหลักฐานการซื้อไว้. และขายมะพร้าวเชื่อให้ ต.และง.เกินอำนาจผู้จัดการสาขาที่จะให้ผู้ซื้อซื้อเชื่อได้.จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ในเรื่องการค้ามะพร้าว ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812. ข้อที่โจทก์เคยฟ้องเรียกหนี้ค่าซื้อเชื่อมะพร้าว แล้วถอนฟ้อง. เหตุที่โจทก์จำต้องถอนฟ้องก็เพราะจำเลยมิได้ทำหลักฐานการซื้อเชื่อไว้.และยังปล่อยให้หนี้ขาดอายุความ. จำเลยจึงยังต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้น. เพราะโจทก์ไม่มีทางรับชำระหนี้อีกต่อไป.
            จำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ขายมะพร้าวเชื่อให้ พ.เกินอำนาจของจำเลย. โจทก์ฟ้อง พ. เรียกให้ชำระหนี้ค่าซื้อมะพร้าวจนโจทก์ชนะคดีไปแล้ว แต่บังคับคดีไม่ได้.เพราะ พ. หลบหนีไป. โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยอีกไม่ได้.ต้องถือว่าความเสียหายของโจทก์หมดไป. โดยการที่โจทก์บังอาจบังคับคดีเอาจาก พ. ลูกหนี้ได้. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในกรณีนี้. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20-22/2512)

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก