สมัครใจทะเลาะวิวาท ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในทางอาญา |สมัครใจทะเลาะวิวาท ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในทางอาญา

สมัครใจทะเลาะวิวาท ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในทางอาญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

สมัครใจทะเลาะวิวาท ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในทางอาญา

  • Defalut Image

การกระทำของโจทก์ร่วมเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทจึงไม่ใช่ผู้เสียโดยนิตินัยและไม่มีอำนาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์

บทความวันที่ 15 พ.ค. 2563, 09:31

มีผู้อ่านทั้งหมด 3249 ครั้ง


สมัครใจทะเลาะวิวาท ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในทางอาญา  

           การกระทำของโจทก์ร่วมเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาทจึงไม่ใช่ผู้เสียโดยนิตินัยและไม่มีอำนาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ในส่วนของการเรียกค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งไม่ได้คำนึงว่าจะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2562
          โจทก์ร่วมบอกให้จำเลยถอยรถเนื่องจากจอดรถขวางทาง จำเลยลงจากรถแล้วพูดว่า “เกี่ยวอะไรกับมึง” จากนั้นจำเลยใช้มือขวาดึงคอเสื้อโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยปล่อยมือ โจทก์ร่วมพูดว่า “เดี๋ยวมึงเจอดีกับกู” แล้งโจทก์ร่วมไปหยิบไม้ข้างประตูทางเข้าออกมาไว้ แต่ยังไม่ทันได้หยิบก็ถูกพวกของจำเลยหยิบไม้ไปเสียก่อนแล้วนำมาตีโจทก์ร่วมจนกระทั่งไม้หัก โจทก์ร่วมจึงหยิบไม้ที่หักตีตอบโต้จำเลยกับพวกแต่ถูกจำเลยเตะเสียก่อนนั้น การกระทำของโจทก์ร่วมยอมเข้าไปเสี่ยงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ตน ซึ่งหากโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะวิวาทกับจำเลยก็ไม่ต้องพูดจาตอบโต้และไปหยิบไม้ เนื่องจาขณะนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกจะรุมทำร้ายโจทก์ร่วมแต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์ร่วม ถือได้ว่าสมัครใจทะเลาะวิวาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และทำให้ไม่มีอำนาจที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ตามมาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลย ฐานทำร้ายร่างกายผู้ร้องเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส ตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) และขอให้ลงโทษจำเลยสถานหนักได้ คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อ ส. ผู้เสียหายยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยไม่ต้องคำนึงว่า ส. ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ แต่จำเลยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 และตามมาตรา 438 วรรคหนึ่ง

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 223 
ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
    วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูกหนี้ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้ หรือเพียงแต่ละเลยไม่บำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 220 นั้นท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 438  ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
    อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
มาตรา 442  ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

ประมวลกฎหมายวิธิพิจารณความอาญา
มาตรา 2
  ในประมวลกฎหมายนี้
(4) “ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5 และ 6
มาตรา 30  คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
มาตรา 44/1  ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
    การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น  ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนก็ได้
    คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้
มาตรา 46  ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก