การกระทำที่เป็นกรรโชกทรัพย์|การกระทำที่เป็นกรรโชกทรัพย์

การกระทำที่เป็นกรรโชกทรัพย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การกระทำที่เป็นกรรโชกทรัพย์

  • Defalut Image

ผู้รับจ้างทวงหนี้โทรศัพท์ทวงหนี้โดยพูดกับลูกหนี้ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้และครอบครัวจะเดือดร้อน

บทความวันที่ 6 พ.ย. 2562, 10:33

มีผู้อ่านทั้งหมด 1013 ครั้ง


การกระทำที่เป็นกรรโชกทรัพย์

            ผู้รับจ้างทวงหนี้โทรศัพท์ทวงหนี้โดยพูดกับลูกหนี้ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้และครอบครัวจะเดือดร้อน เป็นคำพูดข่มขู่ว่าหากไม่ชำระหนี้ลูกหนี้และครอบครัวจะถูกทำร้ายเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

คำพิพากษาฏีกาที่ 1199/2553 
            ถ้อยคำที่กลุ่มจำเลยทั้งห้าโทรศัพท์มาทวงหนี้จากผู้เสียหายที่ว่า "หากผู้เสียหายไม่ยอมชำระหนี้ให้ ผู้เสียหายกับบุตรภรรยาจะเดือดร้อนเพราะอายุยังน้อย" นั้นไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบธรรมที่เจ้าหนี้พึงฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ตามกฏหมายแต่อย่างใด  แต่เป็นถ้อยคำที่สามัญชนโดยทั่วไปย่อมทราบและตีความได้ว่าเป็นคำพูดข่มขู่ว่าหากไม่ชำระหนี้ให้แล้วผู้เสียหายกับครอบครัวอาจถูกทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อนและเป็นอัตรายเสียมากกว่า ถือได้ว่าเป็นการข่มขู่ผู้เสียหายให้ต้องได้รับความยินยอมชำระหนี้ให้แก่กลุ่มจำเลยทั้งห้าตามที่เรียกร้อง ผู้เสียหายเดินไปสถานที่นัดหมายตามคำขู่ มิได้ไปด้วยความสมัครใจ การที่ผู้เสียหายแวะปรึกษาหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ทราบถึงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและครอบครัว เป็นการแจ้งเพื่อขอความคุ้มครองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประชาชนพึงกระทำกันตามปกติ ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่เกิดความกลัวและไม่ยอมทำตามการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกรรโชกสำเร็จแล้ว ไม่ใช่อยู่ในขั้นพยายาม 

เรียกเงินจากผู้เสียหายโดยขู่ว่าหากไม่ให้จะจับกุมเป็นการขู่ว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของผู้เสียหาย 
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 5096/2540
 
                  ครั้งแรก จำเลยและ ถ. ไปบ้านผู้เสียหาย ถ. บอกผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยได้ยินคำพูดของ ถ. แต่ก็นิ่งเฉยและมิได้ปฏิเสธ เท่ากับจำเลยต้องการให้ผู้เสียหายเชื่อหรือเข้าใจตามที่ ถ. บอก ทั้งจำเลยได้เรียกเงินจำนวน 2,000 บาท จากผู้เสียหาย มิฉะนั้นจะจับผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนการเรียกรับเงินครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่ได้บอกหรืออ้างว่าเป็นพนักงานตำรวจ แต่จำเลยเคยไปหาผู้เสียหายและมีพฤติการณ์แสดงให้ผู้เสียหายเชื่อว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริง ทั้งผู้เสียหายเคยให้เงินแก่จำเลยเพื่อมิให้ถูกจับมาก่อน การที่จำเลยไปเรียกเงินจากผู้เสียหายอีกโดยขู่ว่าหากไม่ให้จะจับผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงิน 2,000 บาท แก่จำเลย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น และมีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหาย ตาม ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 145 และ 337 

 ขู่ว่าจะยึดยาบ้าให้ ไม่เป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ไม่ผิดชิงทรัพย์ แต่เป็นการขู่ว่าจะทำอันตรายแก่เสรีภาพ ผิดฐานกรรโชก 
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2912/2550 

             จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหายโดยกล่างอ้างแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและขู่ว่าจะยึดยาบ้าให้เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ขู่เข็ญผู้เสียหายไม่เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายอันจะเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 339 แต่เข้าลักษณะเป็นการข่มขื่นใจผู้เสียหายให้ยอมให้จำเลยได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่ว่าจะทำอันตรายยต่อเสรีภาพของผู้เสียหายผู้ถูกขู่เข็ญ อันเป็นความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 337 

ตัวบทกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฏหมายอาญา 
มาตรา 337
  ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
    ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
(2) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

    

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

โดยคุณ ackarin 6 พ.ย. 2562, 11:51

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก