คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 15|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 15

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 15

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 15

  • Defalut Image

1.โจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งและศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ชำระแต่โจทก์เพิกเฉย ศาลมีอำนาจสั่งโจทก์ทิ้งฟ้องในส่วนฟ้องแย้ง

บทความวันที่ 7 ต.ค. 2562, 10:38

มีผู้อ่านทั้งหมด 1747 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 15

1.โจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งและศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ชำระแต่โจทก์เพิกเฉย ศาลมีอำนาจสั่งโจทก์ทิ้งฟ้องในส่วนฟ้องแย้ง
คำพิพากษาฎีกาที่ 7665/2560

    โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1  และที่ 2 มีสิทธิครอบครองที่ราชพัสดุตามฟ้องดีกว่าโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ยกฟ้องโจทก์จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิครอบครองที่ดินดีกว่าโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่าให้โจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทก่อนจำเลยและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องอีกต่อไป โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์สองจำนวน โดยจำนวนแรกตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องชำระครบถ้วนแล้ว อีกจำนวนตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฟ้องแย้ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมสั่งจำหน่ายคดีได้เฉพาะส่วนฟ้องแย้งเท่านั้น จะสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมดรวมทั้ง อุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์ด้วยไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีทั้งหมดจึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องดำเนินคดีในส่วนฟ้องตามอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป

2.นำสืบนอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถาน ห้ามศาลรับฟัง
คำพิพากษาฎีกาที่ 906/2561

    โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ก. จำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและรื้อถอนบ้านพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ซื้อมาจาก จ. จริง แต่จำเลยแย่งการครอบครองโดยยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์และปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินมาโดยตลอด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์ฟ้องเอาคืน ซึ่งการครอบครองที่ดินจากจำเลยเกิน 1 ปี ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินจนได้สิทธิครอบครองหรือไม่ ดังนี้เมื่อประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จนได้สิทธิครอบครองในที่ดินแล้ว ดังนั้น จำเลยจะต้องนำสืบตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดและให้ตรงตามที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การ โดยการนำพยานเข้าสืบให้ได้ ข้อเท็จจริงว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์เมื่อใด อย่างไร จนได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่การนำสืบของจำเลย ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเรื่องที่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จนได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเมื่อใด อย่างไร ตามที่ต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่กลับนำสืบยืนยันข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของโจทก์ บิดาจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ส. โดยไม่ได้จดทะเบียนโอนกัน ต่อมาปี 2532 บิดาจำเลยยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยจึงครอบครองทำประโยชน์ปลูกสวนผลไม้ 3 ไร่ ส่วนอีก 13 ไร่ จำเลยกรีดยางพารา ต่อมาปี 2536 จำเลยปลูกบ้านชั้นเดียวอยู่อาศัยและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาโดยตลอด ต่อมาจำเลยติดต่อเพื่อให้ ส. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย แต่ ส. แจ้งว่าที่ดินพิพาทถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็นของบุคคลอื่นโดยที่ ส. ไม่ทราบเรื่อง ส. จึงมอบอำนาจให้จำเลยฟ้องคดีในเรื่องดังกล่าวต่อศาลปกครอง ซึ่งต่างไปจากข้ออ้างที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้และนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87 (1)
    จำเลยนำสืบยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยบิดาจำเลยยกให้ จำเลยครอบครองทำประโยชน์และปลูกบ้านอยู่อาศัยมาโดยตลอด อันเป็นการนำสืบยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของโจทก์ และจำเลยไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ ซึ่งต่างไปจากที่จำเลยอ้างต่อสู้ในคำให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์จนได้สิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบดังกล่าวเป็นการนอกประเด็นและนอกเหนือจากคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตามป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้ยกฟ้องโจทก์เป็นการยกข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบมาซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 87 (1) ขึ้นกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยอ้างต่อสู้ไว้ในคำให้การ อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.  มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

3. จำเลยอ้างว่า มีที่อยู่ในทะเบียนบ้านตามคำฟ้องจริง แต่ไม่ใช่ที่อยู่ที่แท้จริงเพราะอยู่ต่างประเทศ หรือไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้านหลังดังกล่าวเป็นนาน ต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อขอพิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 15324/2558

    จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 74(2) ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้พิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เป็นที่สุดตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว
               เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2555 พนักงานเดินหมายได้นำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2557 จำเลยยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่อ้างว่า จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น แต่มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงเพราะจำเลยพักอาศัยอยู่ที่ราชอาณาจักรเดนมาร์กตลอดมาไม่เคยเดินทางกลับประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ป. น้าของจำเลยโทรศัพท์บอกว่าคนดูแลบ้านของจำเลยเห็นโจทก์กับพวกเข้าไปในบ้านของจำเลย หลังจากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าบ้านและที่ดินถูกยึด จำเลยติดต่อทนายความจึงทราบว่าถูกโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างว่ากรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยจะต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใดเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงหรือไม่ แต่ในคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จำเลยได้แต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องขอถ่ายเอกสารต่างๆ ในสำนวนเพื่อยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงต้องถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดอย่างช้าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 แล้ว แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าคำขอพิจารณาคดีใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5)

คำพิพากษาฎีกาที่ 5474/2559
    คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองอ้างเหตุแห่งการขาดนัดว่า ขณะที่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองที่ภูมิลำเนาตามฟ้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่อาศัยที่บ้านดังกล่าวเป็นเวลานานหลายเดือนแล้ว จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อคดีเสร็จสิ้นไปแล้วโดยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ เช่นนี้แม้ข้อกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยทั้งสองต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นจำเลยทั้งสองเพียงแต่กล่าวอ้างว่า หากจำเลยทั้งสองได้นำพยานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองมีโอกาสชนะคดีอย่างแน่นอน ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีจึงไม่ชอบ มิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น เพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนใดไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด ทั้งเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วจนอาจเป็นฝ่ายชนะ คำขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง และวรรคสอง

4.คำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ต้องยื่นมาฟ้องคำฟ้อง คำร้องสอด หรือคำให้การ แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ในภายหลัง 
คำพิพากษาฎีกาที่ 861/2561

    จำเลยมิได้ยื่นคำร้องข้อยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์มาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ แต่เมื่อภายหลังเมื่อใกล้จะครบกำหนดขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ครั้งสุดท้ายตามคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ภายหลัง จึงเป็นการยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มาตรา 12 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26, 45 และ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้และจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 156/1 วรรคสี่ จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลโดยมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระและสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลก็เพื่อให้ศาลกำหนดเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลใหม่ อันเป็นการขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ออกไปอีกโดยมีลักษณะเป็นการประวิงคดี คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้กำหนดเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลย และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ภายในกำหนด จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 15
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก