คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 10|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 10

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 10

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 10

  • Defalut Image

แม้เรือนจำจะถือว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยก็ตาม แต่มาตรา 22(1)ไม่ได้บังคับให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจ

บทความวันที่ 30 ก.ย. 2562, 11:01

มีผู้อ่านทั้งหมด 2562 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 10

1.แม้เรือนจำจะถือว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยก็ตาม แต่มาตรา 22(1)ไม่ได้บังคับให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้องแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะรับชำระคดีในกรณีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 7253/2560

    แม้เรือนจำกลางเขาบินเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 47 และถือได้ว่าจำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22 (1) บัญญัติไว้ก็ตาม แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง แต่หากบัญญัติให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะรับชำระคดีในกรณีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดอุทัยธานีและการสอบสวนเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดอุทัยธานี โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดอุทัยธานีซึ่งเป็นศาลท้องที่ที่ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นอย่างไร ที่โจทก์อ้างว่าการส่งจำเลยจากเรือนจำกลางเขาบินไปยังศาลจังหวัดอุทัยธานีเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับการนำจำเลยไปศาล และเป็นการป้องกันการแย่งชิงตัวจำเลย ก็เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจแก้ไขและป้องกันได้ ที่โจทก์อ้างว่า หากศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้พยานโจทก์เดินทางมาเบิกความที่ศาลชั้นต้นจะเป็นการสะดวกและสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่านั้นก็เป็นเพียงการคาดคะเนในส่วนของค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีความชัดเจน ประกอบกับการส่งจำเลยจากเรือนจำกลางเขาบินไปยังศาลจังหวัดอุทัยธานีหรือการให้พยานโจทก์เดินทางมาเบิกความที่ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งสิ้น ที่โจทก์อ้างว่าหากศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้ศาลชั้นต้นใช้สืบพยานทางจอภาพจะเป็นการสะดวกและสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยนั้น เมื่อวิเคราะห์หลักการดำเนินคดีอาญาซึ่งให้ความสำคัญกับการที่คู่ความทุกฝ่ายต้องมาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อหน้าศาลเพื่อพิสูจน์ความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของจำเลยในการต่อสู้และในการใช้คำถามกับพยานโดยตรง ซึ่งอาจทำให้จำเลยได้รับผลกระทบจากการที่พยานไม่อยู่ในห้องพิจารณาเมื่อการใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีหรือไม่ ต้องคำนึงถึงความจำเป็นและการที่จะได้รับการพิจารณาที่เป็นธรรม ประกอบกับคดีนี้ยังอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดอุทัยธานีได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับชำระคดี
คำพิพากษาฎีกา 830/2561
    ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22 (1) มิได้เป็นบทบังคับที่ศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่งเมื่อเจ้าหนักงานทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตของศาลนั้นจะต้องรับฟ้องไว้พิจารณาเสมอไป แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะรับคดีไว้พิจารณาหรือไม่แม้จำเลยถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางเขาบินจังหวัดราชบุรี ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ซึ่งถือได้ว่าเรือนจำกลางเขาบินเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 เรือนจำกลางเขาบินจึงเป็นที่อยู่ของจำเลยและศาลชั้นต้นมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) แต่การที่จำเลยใกล้เวลาที่จำเลยจะพ้นโทษตามคำพิพากษาแล้ว ประกอบกับจำเลยให้การปฎิเสธในชั้นสอบสวนทั้งพยานหลักฐานของโจทก์อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสมุทรปราการ การดำเนินกระบวนพิจาณาคดีนี้ในศาลจังหวัดสมุทรปราการที่มูลคดีเกิดจะเป็นการสะดวกมากกว่า ศาลล่างทั้งสองจึงชอบที่จะไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

2.คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีคำขอหย่าและขอแบ่งสินสมต่อมาตกลงกันได้โดยโจทก์ยกบ้านไม้ให้จำเลยศาลพิพากษาตามยอม โจทก์จะมาฟ้องจำเลยขอแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่บ้านไม้ดังกล่าวตั้งอยู่ไม่ได้ต้องห้ามตาม มาตรา 148
คำพิพากษาฎีกาที่ 4148/2560

    โจทก์กับจําเลยเป็นสามีภริยากันจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2524ต่อมาวันที่ 28 มิถุนายน 2548 จดทะเบียนหย่า คดีก่อนโจทก์ฟ้องจําเลยโดยมีคําขอหย่าและขอแบ่งสินสมรส ต่อมา วันที่ 28 มิถุนายน 2548 โจทก์กับจําเลยตกลงกันได้โดยจําเลยตกลงไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์และแบ่งสินสมรสรวม 8 รายการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาตามยอมในคดีหมายเลขแดงที่ 827/2548 ของศาลชั้นต้นจําเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 207คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องซํ้ากับคดีหมายเลขแดงที่ 827/2548 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ตามสําเนาคําฟ้อง คดีหมายเลขแดงที่ 827/2548 ของศาลชั้นต้นเอกสารแนบท้ายฎีกาของโจทก์โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จําเลยหย่าขาดจากกันระบุสินสมรสหลายรายการและขอแบ่งสินสมรสหลายรายการรวมทั้งบ้าน เลขที่ 121/1 โดยขอให้จําเลยนําออกขายทอดตลาดแล้วนําเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งซึ่งตามฎีกาโจทก์ระบุว่า บ้านดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินพิพาทกันในคดีนี้แต่ไม่ระบุว่าเป็นสินสมรสและไม่ได้ขอแบ่ง ต่อมาโจทก์จําเลยตกลงกันได้ในคดีดังกล่าวตามสําเนาสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายบัญชีพยานโจทก์และเอกสารแนบท้ายฎีกาของโจทก์ระบุว่าจําเลยตกลงไปจดทะเบียนหย่าให้โจทก์จําเลยไม่ดําเนินคดีอาญาแก่ ก. ภรรยาน้อยของโจทก์และไม่ดําเนินคดีแพ่งคดีอาญาแก่โจทก์อีกต่อไปสําหรับการแบ่งสินสมรสที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้โจทก์ให้บ้านไม้เลขที่ 121/1 เป็นของจําเลยโดย ไม่ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวพิพากษาตามยอมดังนี้ประเด็นเรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 827/2548 ของศาลชั้นต้นจึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันหากโจทก์เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสและประสงค์จะขอแบ่งต้องยกขึ้นว่ากล่าวไว้ในคดีหมายเลขแดงที่ 827/2548 เพื่อให้สิ้นกระแสความไปในคราวเดียวกันไม่อาจยกขึ้นรื้อร้องฟ้องกันอีกเป็นคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้แม้ไม่ปรากฏในคําฟ้องและคําให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2553 มาตรา 6

3.ต่างฝ่ายต่างฟ้องร้องซึ่งกันและกัน แต่มีประเด็นข้อพิพาทหลักเช่นเดียวกัน ต่อมาศาลชั้นต้นในคดีก่อนมีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีแล้ว ศาลในอีกคดีหนึ่งต้องมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาคดีต่อไปจนกว่าคำพิพากษาคดีก่อนจะถึงที่สุด มิใช่พิพากษายกฟ้อง 
คำพิพากษาฎีกาที่ 9011/2560

    คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทหลักเช่นเดียวกันกับคดีก่อน และมีคู่ความรายเดียวกัน แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ศาลชั้นต้นในคดีก่อนยังไม่มีคำพิพากษาจึงไม่ทำให้การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ก็ตาม แต่ต่อมาศาลชั้นต้นในคดีก่อนมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว ศาลชั้นต้นในคดีนี้ย่อมไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และต้องมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาคดีนี้ต่อไปจนกว่าคำพิพากษาคดีก่อนจะถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 วรรคหนึ่ง มิใช่พิพากษายกฟ้อง เพราะการฟ้องคดีของโจทก์มิใช่กระบวนพิจารณาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อต่อมาคดีก่อนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า จำเลยทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทคืนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วย ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคดหนึ่ง เท่ากับว่าสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทและสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทคืนระหว่างโจทก์จำเลยมีผลสมบูรณ์มิใช่นิติกรรมอำพราง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

4.การแก้ไขหนังสือมอบอำนาจที่เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ศาลอนุญาตให้แก้ไขได้ ซึ่งวินิจฉัยแตกต่างกับฎีกาที่ 5598/2551
คำพิพากษาฎีกาที่ 5746/2559

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า ว. ลงลายมือชื่อ โดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ป. เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องหมายเลข 2 การมอบอำนาจจึงไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขอแก้ฟ้องขอส่งต้นฉบับที่ถูกต้อง ไม่ใช่การแก้ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยเพราะทำให้โจทก์กลับกลายเป็นมีอำนาจฟ้องเป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในรูปคดี เห็นว่า สำเนาหนังสือมอบอำนาจโจทก์เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ซึ่งไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์ แสดงว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่สมบูรณ์ แต่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ฟ้องว่า เอกสารหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องหมายเลข 2 มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยเนื่องจากนำไปถ่ายสำเนาก่อนนำไปประทับตราสำคัญหนังสือมอบอำนาจมีการประทับตราสำคัญของโจทก์แล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลชั้นต้นมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องในส่วนการมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง 

5.การแก้ไขฟ้องในข้อผิดพลาดเล็กน้อยกระทำได้ฝ่ายเดียวไม่จำต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน ส่วนการแก้ไขหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นฟ้องมิใช่คำฟ้องที่โจทก์จะขอแก้ไขได้ 
คำพิพากษาฎีกาที่ 5598/2551

    การที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจตามที่บรรยายในคำฟ้องจากชื่อ "นายธีรพงษ์" เป็น "นายชีระพงษ์" เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไข้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยซึ่งสามารถกระทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่จำต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และมาตรา 181 (1) ส่วนกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อ "นายธีระพงษ์" ตามที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจเป็น "นายชีระพงษ์" นั้นหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการยื่นคำฟ้อง มิใช่คำฟ้องที่โจทก์จะขอแก้ไขได้ การที่โจทก์นำสืบว่าหนังสือมอบอำนาจพิมพ์ชื่อผิดหลงโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น "ช" กลับพิมพ์เป็น "ธ" มิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนำสืบอธิบายความเป็นมาของหนังสือมอบอำนาจเพื่อยืนยันคำฟ้องที่แก้ไขแล้ว

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 71 ปีการศึกษา 2561 เล่มที่ 10
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก