คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

  • Defalut Image

1.มาศาลตามกำหนดนัด จะต้องเข้าห้องพิจารณาตามที่ศาลกำหนด

บทความวันที่ 7 ส.ค. 2562, 10:18

มีผู้อ่านทั้งหมด 2214 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

1.มาศาลตามกำหนดนัด จะต้องเข้าห้องพิจารณาตามที่ศาลกำหนด แม้จะมาศาลตามกำหนดนัดแต่เข้าห้องพิจารณาอื่น จะมาอ้างว่าเข้าใจเวลานัดผิดไปไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 10383/2559

    ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่าศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 ตั้งแต่เวลา 9.30 นาฬิกา แต่โจทก์เข้าใจผิดว่าศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่เวลา 13.30 นาฬิกา ถึง 16.30 นาฬิกา เมื่อถึงเวลานัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.30 นาฬิกา โจทก์ไม่มาศาล จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อเวลา 12.30 นาฬิกาว่า โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่มีเหตุสมควร ให้ยกฟ้องโจทก์มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่
    เห็นว่า เมื่อคู่ความนำคดีมาสู่ศาลแล้วก็มีหน้าที่ต้องมาศาลตามกำหนดนัด หากมีความจำเป็นจนมิอาจมาศาลได้ก็ต้องแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าว แม้ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10 นาฬิกา โจทก์จะอยู่ที่ศาลชั้นต้นแต่โจทก์ก็อยู่ในห้องพิจารณาคดีอื่นโดยไม่ได้ไปแสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ศาลในห้องพิจารณาคดีนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้วแต่ติดว่าความในคดีอื่น และไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศาลที่จะประกาศเสียงตามสายเรียกโจทก์หรือติดตามโจทก์ให้เข้ามาในห้องพิจารณาคดีเพื่อดำเนินคดีนี้ ทั้งการที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์คดีนี้ตั้งแต่เวลา 9.30 นาฬิกา ถึง 16.30 นาฬิกา แสดงว่าศาลชั้นต้นเริ่มพิจารณาคดีตั้งแต่เวลา 9.30 นาฬิกา ต่อเนื่องกันไปจนถึงเวลา 16.30 นาฬิกา โจทก์จะต้องมาศาลตั้งแต่เวลาเริ่มต้นที่ศาลชั้นต้นเริ่มสืบพยานโจทก์ มิใช่โจทก์จะมาศาลในช่วงเวลาใดในราชการก็ได้มิฉะนั้นเวลานัดของศาลก็จะไม่มีความหมาย ดังนี้ แม้จะฟังว่าโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาคดีอื่นเมื่อเวลา 10 นาฬิกา ก็ไม่ใช่การมาศาลในคดีนี้ตามกำหนดนัดของศาลชั้นต้นความเข้าใจผิดของโจทก์เป็นความบกพร่องของโจทก์เอง กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ 

2.หมายจับหรือหมายค้นที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งศาลไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2853/2559

    คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้ร้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
    ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองอยู่ในพื้นที่ผ่อนผันให้อยู่อาศัยจากรัฐ ทั้งผู้ร้องเคยถูกดำเนินคดีจนพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว ขอให้เพิกถอนหมายจับ
    ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยว่า เมื่อมีการกล่าวหาว่าบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา บุคคลนั้นย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (2) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจย่อมยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้ต้องหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 66 เพื่อให้ได้ตัวมาสอบสวนตาม ป.วิ.อ. 134 ซึ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (1) กำหนดให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจออกหมายจับได้ ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ตอนท้าย กำหนดให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายจับได้หากความปรากฏต่อศาลในภายหลังว่าได้มีการออกหมายจับไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายและมาตรา 68 กำหนดให้หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญานั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน ดังนี้ อำนาจในการออกหมายจับผู้ต้องหาจึงเป็นอำนาจเฉพาะตัวของศาลชั้นต้น ดังนั้น เมื่อคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายจับ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจะอุทธรณ์หรือฎีกาอีกไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 4796/2559
    คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นออกหมายค้นรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า หมายเลขทะเบียน กค 9966 ยโสธร ตามคำร้องขอออกหมายค้นของผู้ร้อง 
    ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองรถยนต์หมายเลขทะเบียน กค 9966 ยโสธร คำร้องขอออกหมายค้นของผู้ร้องไม่มีมูลเพียงพอที่จะออกหมายค้นได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 59/1 ประกอบมาตรา 69 ขอให้เพิกถอนหมายค้น
    ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านฎีกา
    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านชอบหรือไม่ โดยผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 นั้น เห็นว่า หมายค้นเป็นหมายอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (9) การที่ศาลชั้นต้นออกหมายค้นเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในชั้นสอบสวนเพื่อให้การสอบสวนเพื่อให้การสอบสวนดำเนินต่อไปได้เท่านั้น ยังไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องเป็นคดีมาถึงศาล เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรสั่งประการใดแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายประสงค์จะให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ 

4.ผู้ร้องจะฟ้องผู้ดูแลและรักษาเงินรายได้ของบุคคลไร้ความสามารถ ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก
คำพิพากษาฎีกาที่ 1904/2559

    คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ช. และ ซ. เป็นผู้ไร้ความสามารถโดยให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง ผู้คัดค้าน และผู้ร้องสอดร่วมกัน ต่อมา ช. ถึงแก่ความตาย ส่วน ซ. คนไร้ความสามารถมีรายได้เป็นเงินสดอย่างต่อเนื่อง โดยมี ศ. เป็นผู้ดูแลและรักษารายได้ดังกล่าว ผู้ร้องแจ้งให้ ศ. มอบเงินดังกล่าวให้ ซ. เพื่อจ่ายเงินตามความประสงค์ แต่ ศ. เพิกเฉย ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งบังคับให้ ศ. ส่งมอบดังกล่าวให้แก่ ซ. 
    ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ ศ. ส่งมอบเงินของ ซ. คนไร้ความสามารถให้แก่คนไร้ความสามารถได้หรือไม่ เห็นว่า แม้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ศาล หมวด 1 เขตอำนาจศาลได้บัญญัติเกี่ยวกับคำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลว่าให้ฟ้องหรือร้องขอเข้ามาในคดีเดิมได้ตามมาตรา 7 (1) แต่คดีนี้เป็นคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ช. และ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถ ขอให้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล มีผู้คัดค้านและผู้ร้องสอดต่างขอให้ตั้งตนเป็นผู้อนุบาลด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ช. และ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งผู้ร้อง ผู้คัดค้านและผู้ร้องสอดเป็นผู้อนุบาลร่วมกัน การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้บังคับ ศ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลและรักษาเงินรายได้ของ ซ. ให้ส่งมอบเงินให้ ซ. โดย ศ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ได้เป็นคู่ความในคดีและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นผู้อนุบาลแต่อย่างใด การที่ ศ. ไม่ยอมส่งมอบเงินรายได้ของคนไร้ความสามารถ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้น ชอบที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลจะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับ ศ. เป็นอีกคดีต่างหาก คำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่ใช่คำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอในคดีนี้ได้

5.คดีก่อนอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีหลังอ้างว่าที่ดินเป็นของตนเอง ไม่ถือเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาฎีกาที่ 3888/2559

    ก่อนจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีหมายเลขดำที่ ย. 619/2557 ขอให้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และโจทก์คดีนี้ยื่นคำคัดค้านก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ อ้างว่าโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของเดิม คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องซ้อนกับคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีหมายเลขดำที่ ย. 619/2557 ของศาลชั้นต้นหรือไม่
    เห็นว่า คดีก่อนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองที่ดินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกัน เป็นเวลาสิบปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1382 แต่ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นที่ดินพิพาทของตนเองฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 คดีนี้จึงมิใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันหรือเป็นฟ้องซ้อนกับคำร้องของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้หมายเลขดำที่ ย. 619/2557 ของศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ.  มาตรา 173 วรรคสอง (1)   
    ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ จ. และ น. ให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทและใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หากโจทก์ไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาหากจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ ให้โจทก์ใช้ราคาที่ดินพิพาทเป็นเงิน 2,200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยนั้นแม้จะเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องขับไล่ของโจทก์พอจะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ แต่การที่ศาลจะพิพากษาบังคับตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจะต้องพิพากษาว่า จ. และ น. มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง อันเป็นการกระทบกระทั่งต่อสิทธิของบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีซึ่งศาลไม่อาจบังคับให้ได้ เพราะคำพิพากษาของศาลไม่มีผลผูกพันบุคคลทั้งสอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวไว้พิจารณาแม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย และจำเลยที่ 2 มิได้ฎีกาโต้แย้ง แต่ปัญหาข้อที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก