คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

  • Defalut Image

1.มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ การที่จำเลยคนหนึ่งยื่นอุทธรณ์

บทความวันที่ 5 ส.ค. 2562, 11:41

มีผู้อ่านทั้งหมด 2199 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

1.มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ การที่จำเลยคนหนึ่งยื่นอุทธรณ์และได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ หากจำเลยอื่นแยกยื่นอุทธรณ์ต่างหากก็ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลอีกในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 2172/2559

     โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 และในฐานะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ รวมทั้งการวิศวกรรมจราจรในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำละเมิดศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ควบคุม จัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณที่ก่อสร้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่การจราจรและไม่ได้ควบคุมให้เกิดความปลอดภัยอันเป็นผู้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์และได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษามาวางศาลครบถ้วนแล้ว จึงมีผลถึงจำเลยที่สามซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วยแม้จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกับจำเลยที่ 1 โดยแยกยื่นอุทธรณ์ต่างหาก จำเลยที่ 3 ก็ไม่จำต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ทั้งสองมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นอีก อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 229

2. คำรับสารภาพก่อนที่จะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเป็นผู้ต้องหา โดยไม่มีการแจ้งสิทธิก่อน สามารถรับฟังประกอบพยานได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6389/2560

    หลังจากเกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจทำการสืบสวนทราบว่า ในช่วงเวลาใกล้กับเวลาเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองกับพวกนั่งร่วมวงดื่มสุราอยู่ที่บ้านของ ส. ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา จึงสอบถามเหตุการณ์จาก ก. และ พ. ได้ความว่าช่วงเวลาเกิดเหตุจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านของ ส. ไปประมาณ 20 นาที ตอนแรก จำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำใบเสร็จรับเงินค่าขายข้าวเปลือก ซึ่งตรวจยึดได้จากที่เกิดเหตุและภาพจากกล้องวงจรปิดขณะจำเลยนำข้าวเปลือกไปขายที่โรงสี ท. ตามภาพถ่าย ให้จำเลยทั้งสองดู จำเลยทั้งสองจึงยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยทั้งสองเห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ผ่านหน้าบ้านของ ส. ตามลำพัง จำเลยที่ 2 จึงชวนจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ไล่ติดตามไปเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราและเบียดแซงจนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายล้มลงแล้วลงจากรถไปถอดกางเกงผู้ตายแต่มีรถจักรยานยนต์คันอื่นผ่านมา จำเลยทั้งสองจึงรีบขับรถจักรยานยนต์กลับไปยังกลุ่มเพื่อนที่นั่งดื่มสุรา รายละเอียดตามบันทึกการซักถามและบันทึกการให้ถ้อยคำ การให้ถ้อยคำรับสารภาพดังกล่าวจึงเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยทั้งสองจะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม การที่จำเลยทั้งสองให้ถ้อยคำรับสารภาพแก่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นการกระทำก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุมจำเลยทั้งสองเป็นผู้ต้องหา ซึ่งในกรณีที่มีความผิดอาญาเกิดขึ้นย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะดำเนินการสืบสวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานในการหาตัวคนร้าย การที่จำเลยทั้งสองให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการให้ถ้อยคำในฐานะผู้ถูกจับไม่ จึงไม่จำเป็นต้องมีการแจ้งสิทธิแก่จำเลยทั้งสองก่อน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย และสามารถนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองได้

3. นายจ้างยกอายุความขึ้นต่อสู้ ส่วนลูกจ้างขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลสามารถหยิบเรื่องอายุความมาวินิจฉัยสำหรับลูกจ้างได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5235/2560

    โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กระทำละเมิด จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ มูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันไม่ได้ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) "ห้ามมิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ และให้ถือบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน ในบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดย หรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดย หรือทำการต่อสู้คู่ความคนอื่น ๆ ด้วยเว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อม สิทธิแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ " ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เพราะขาดนัดยื่นคำให้การ  แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ยกเรื่องอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดเกิน 1 ปี ขึ้นต่อสู้จึงถือได้ว่า เป็นการทำแทนจำเลยที่ 1 ด้วย คดีย่อมมีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยเห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกินกว่า 1ปี นับแต่วันที่ผู้เอาประกันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความจึงชอบแล้ว 

4. คำร้องขอยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม ตามป.วิ.พ. มาตรา 155 และ 156 หากศาลสั่งยกต้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 1เดือน 
คำพิพากษาฎีกาที่ 4764/2560 

    คำร้องขอยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างคดีมีทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นพร้อมฎีกา มีใจความว่า “ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย จึงขอยกเว้นการชำระค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์” คำร้องของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นคำร้องขออนุญาตเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มิใช่การยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และ มาตรา 156 การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 156/1 ที่จะต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายใน 7 วัน แต่เป็นการอุทธรณ์ที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 229 ที่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 1 เดือน การที่ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยให้เหตุผลทำนองเดียวกัน จึงไม่ถูกต้องและไม่เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
    แม้จำเลยที่ 1 จะยื่นฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่หากศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมส่งผลให้จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ที่พิพาท

5. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แล้วไม่ถอดถอนจึงฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย ผู้ร้องสอดสามารถขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก อ้างว่า จำเลยและผู้ร้องได้ทำสัญญาระหว่างกันว่า จำเลยจะไม่นำที่ดินพิพาทไปขายฝากถ้าไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ร้องสอดได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6202/2559

    โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปขายฝากแก่โจทก์ ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ไถ่ถอน ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การสู้คดีว่า การขายฝากระหว่างโจทก์ จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน มิได้มีเจตนาขายฝากที่ดินกัน ดังนี้ เป็นกรณีพิพาทกันเรื่องสัญญาขายฝากว่าชอบหรือไม่ และบังคับกันได้เพียงใด สำหรับคำร้องสอดผู้ร้องสอดอ้างว่า ผู้ร้องสอดและจำเลยจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินให้ผู้ร้องสอดยกที่ดินที่ผู้ร้องสอดและจำเลยได้มาระหว่างสมรสซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทพร้องสิ่งปลูกสร้างด้วยให้แก่จำเลย โดยจำเลยจะไม่นำที่ดินไปจำนอง ขายฝาก ขาย จำหน่ายจ่ายโอน หรือทำนิติกรรมอื่นใด ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดก่อน และจำเลยจะแบ่งให้แก่บุตรตามส่วนคนละเท่าๆ กัน ผู้ร้องสอดได้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินขออายัดการจดทะเบียนหรือการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทั้งหมดแล้ว แต่หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยได้ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งที่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบที่สำนักงานที่ดินว่ามีการทำบันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยไว้แล้ว แต่โจทก์กับจำเลยยังยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการขายฝากให้ การกระทำของโจทก์และจำเลยเป็นการสมรู้กัน จงใจให้ผู้ร้องสอดและบุตรทั้งสามได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทั้งที่โจทก์และจำเลยต่างทราบดีว่าจำเลยไม่มีสิทธิขายฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดก่อนได้ สัญญาขายฝากจึงไม่ชอบ โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่ผู้ร้องสอดออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จึงเป็นกรณีพิพาทกันเรื่องสัญญาขายฝากว่าชอบหรือไม่ และบังคับกันได้เพียงใด เช่นเดียวกัน ทั้งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องสอด จึงเป็นการจำเป็นที่ผู้ร้องสอดจะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดจึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 7

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก