คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 2|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 2

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 2

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 2

  • Defalut Image

1. ความผิดฐานก่อการร้าย ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ความผิดฐานซ่องโจร เป็นความผิดหลายกรรม

บทความวันที่ 23 ก.ค. 2562, 09:39

มีผู้อ่านทั้งหมด 3492 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 2

1. ความผิดฐานก่อการร้าย ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ความผิดฐานซ่องโจร เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาฎีกาที่ 4278 - 4279/2561

          จำเลยที่ 1 ถูกจับกุมตัวได้ทันทีที่บ้านเกิดเหตุ ขณะพวกผู้กระทำความผิดที่กำลังใช้ สว่านไฟฟ้า เจาะถังน้ำมันแอร์ประกอบวัตถุระเบิดอยู่ หลบหนีไปได้นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ได้ให้ถ้อยคำต่อร้อยตำรวจโท ภ.  ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้คอยดูความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ในหมู่บ้าน วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ไปรับคน 3 คน มาที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เคยได้รับฟังการบรรยายประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรัฐปัตตานี จำเลยที่ 1 เชื่อและคล้อยตาม อีกทั้งจำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีซูเปาะห์ (สาบาน)  มาแล้วด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว มีน้ำหนักให้ฟังได้ว่า เข้าร่วมอยู่ในขบวนการก่อความไม่สงบ โดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวการ กระทำความผิด มิใช่เป็นเพียงการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดอันเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น
            ขณะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่บ้านเกิดเหตุพวกของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่กำลังทำ ประกอบวัตถุระเบิดหลบหนีไปได้รวม 5 คน การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นการปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อแบ่งแยกดินแดนราชอาณาจักรไทย เป็นความผิดฐานก่อการร้ายอันมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมีความผิดฐานอั้งยี่ ทั้งการสมคบกันกระทำความผิดฐานเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติไว้ในภาค 2 และมีบทกำหนดโทษให้จำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปจึงมีความผิดฐานซ่องโจรอีกฐานหนึ่งด้วย
              การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกทำหรือประกอบวัตถุระเบิด เป็นการสะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อนำมาใช้ก่อเหตุ ก่อความไม่สงบตามแผนของกลุ่มก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดนราชอาณาจักรไทยอันเป็นความผิดฐานก่อการร้ายตามป.อ. มาตรา 135/2 นั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ทั้งขณะเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าร่วมเป็นสมาชิกของขบวนการก่อการร้ายที่มีความมุ่งหมายเพื่อแบ่งแยกดินแดนราชอาณาจักรไทยอันเป็นการกระทำเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายนั้นย่อมมีความผิดสำเร็จฐานเป็นอั้งยี่ ตามป.อ. มาตรา 209  แล้วทันทีนับแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกระบวนการดังกล่าว ส่วนความผิดฐานเป็นซ่องโจรนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกับพวกหลบหนีอีก 5 คน เพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 135/2  อันเป็นความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและมีการกำหนด โทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเป็นซ่องโจรตาม ป.อ. มาตรา 210 ต่างหากอีกกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานความผิด ต่างกรรมต่างวาระกันสามารถ แยกเป็นความผิดสำเร็จแต่ละกรรมมิใช่การกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

2. ผู้ซื้อฟ้องผู้ขายให้รับผิดเพราะสินค้าที่ส่งมอบไม่มีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย และมีคุณสมบัติไม่ตรงต่อความเหมาะสมอันมุ่งจะใช้ตามปกติ มีกำหนดอายุความฟ้องร้อง 1ปี  นับแต่เวลาที่พบเห็นความชำรุดบกพร่อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 2995/2561

        โจทก์ฟ้องว่า เดือนพฤศจิกายน 2555 บริษัท อ.ตัวแทนโจทก์จะนำอลูมิเนียมฟอยล์ที่จำเลยส่งมอบให้ไปบรรจุยา ได้ตรวจพบว่าอลูมิเนียมฟอยล์ที่จำเลยส่งมอบไม่มีคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยและมีคุณสมบัติไม่ตรงต่อความเหมาะสมอันมุ่งจะใช้ตามปกติไม่สามารถจะนำมาใช้บรรจุยาขายแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อบริโภคได้ ซึ่งการสั่งซื้อนี้จำเลยทราบเป็นอย่างดีว่าโจทก์จะนำไปใช้บรรจุยาแอสไพรินขายแก่ประชาชนและโรงพยาบาล อลูมิเนียมฟอยล์ที่จำเลยผลิตขายจึงต้องมีคุณภาพดีสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน จึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 ซึ่งโจทก์ต้องฟ้องให้จำเลยรับผิดภายใน 1 ปีนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 474 
         บริษัท อ.ผู้แทนโจทก์ได้รับมอบสินค้าจากจำเลยทั้ง 4 ครั้งไว้ โดยสินค้า 2 ครั้งแรกรับไว้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ครั้งที่ 3 ผู้แทนโจทก์รับสินค้าไว้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ครั้งที่ 4 ผู้แทนโจทก์รับสินค้าไว้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2555 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ผู้แทนโจทก์จะนำสินค้าไปบรรจุยาจึงตรวจพบว่าสินค้าดังกล่าวมีความบกพร่องจึงแจ้งให้ทราบและโปรดส่งคืนสินค้าที่รับมาทั้ง 4 ครั้งให้จำเลยเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ทราบถึงความชำรุดบกพร่องวันใด แต่ตาม
คำฟ้องโจทก์ระบุว่าเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 บริษัทผู้แทนโจทก์ตรวจพบว่าสินค้าที่รับมาทั้ง 4 ครั้งมีความชำรุดบกพร่องและแจ้งให้โจทก์ทราบจึงต้องถือว่าโจทก์ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องในเดือนพฤศจิกายน 2555 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 ฟ้องโจทก์
จึงไม่ขาดอายุความ

3. ผู้รับโอนทรัพย์สิน ซึ่งจำนองขอไถ่ถอนจำนองโดยเสนอจะใช้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้รับจำนองจำต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับตั้งแต่วันที่ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองมีคำเสนอไถ่ถอนจำนอง
ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไม่ได้ใช้สิทธิเสนอไถ่ถอนจำนอง ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองต้อง มีจดหมายบอกกล่าว แก่จำเลยล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อน  แล้วจึงจะบังคับจำนองได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5557/2561

          จำเลยเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยมีการจำนองติดไปด้วย  จำเลยจึงอยู่ในฐานะ ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง การไถ่ถอนจำนองทรัพย์พิพาทจึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 738 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ จำเลยมีหน้าที่ต้องเสนอไปยังบรรดาเจ้าหนี้ที่ได้จดทะเบียนไม่ว่าในทางจำนองหรือประการอื่น ว่าจะรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์พิพาท ส่วนจำนวนเงินอันสมควรจะเป็นเท่าใดนั้นต้องพิจารณาจากราคาทรัพย์พิพาทเป็นสำคัญ
         ทรัพย์พิพาทซึ่งเดิมเป็นของ ส. นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.8402/2553  ของศาลแขวงนนทบุรี ได้ประเมินราคาไว้เป็นเงิน 635,680 บาท  การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้มีหน้าที่ในการยึดและประเมินราคาทรัพย์พิพาทได้ประเมินราคาไว้ดังกล่าวทำให้น่าเชื่อว่าทรัพย์พิพาทมีราคาที่แท้จริงไม่แตกต่างไปจากราคาที่ประเมินไว้ ทั้งราคาประเมินดังกล่าวได้ระบุไว้ในการประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยในฐานะผู้ประมูลซื้อทรัพย์พิพาทก็ย่อมต้องทราบเป็นอย่างดีว่าราคาทรัพย์ประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีใกล้เคียงกับราคาที่แท้จริง การที่จำเลยขอไถ่ถอนจำนองทรัพย์พิพาทโดยเสนอจะใช้เงินจำนวน 400,000 บาท  ซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี 235,680 บาท  จึงถือไม่ได้ว่าเป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์พิพาท เมื่อถือไม่ได้ดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ไม่ฟ้องคดีภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันมีคำเสนอ แม้จะถือเท่ากับว่าโจทก์สนองรับคำเสนอขอไถ่ถอนจำนองของจำเลยโดยปริยายตาม ป.พ.พ มาตรา 739 และ 741  แล้วก็ตาม แต่จำนองจะระงับไปโดยการไถ่ถอนตาม ป.พ.พ มาตรา 744 (4)  ก็ต่อเมื่อจำเลยรับจะใช้เงินให้แก่โจทก์ผู้รับจำนองเป็นจำนวนเงินอันสมควรกับราคาทรัพย์พิพาท เมื่อจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการโจทก์ก็หาจำต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งเดือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 739 ไม่  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยึดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองไว้แก่โจทย์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากฎีกาที่ 5639/2561
        การที่จำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองจากการขายทอดตลาดคงทำให้จำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์จำนอง หาทำให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ และจำเลยในฐานะผู้รับโอนทรัพย์จำนองมีสิทธิ์และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 5  จำเลยมีสิทธิ์ไถ่ถอนจำนองโดยเสนอรับใช้เงินเป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมรับ โจทย์ซึ่งยังทรงสิทธิ์จำนองต้องฟ้องคดี ต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีคำเสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 738 และ 739  และหากจำเลยไม่ได้ใช้สิทธิ์เสนอไถ่ถอนจำนองและโจทก์ประสงค์จะบังคับจำนอง ก็ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่จำเลยล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อน  แล้วจึงจะบังคับจำนองได้ ตามมาตรา 735 ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่า จำเลยไม่ไถ่ถอนจำนอง และโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยตาม ป.พ.พ มาตรา 735 แล้ว  จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55

4.  ข้อตกลงท้ายสัญญาจำนองว่า เมื่อบังคับจำนองแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ ผู้รับจำนอง ยอมชดใช้เงินที่ขาด มีผลบังคับใช้ ได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย
 คำพิพากษาฎีกาที่ 6188/2561 

            ข้อตกลงท้ายสัญญาจำนองที่ระบุว่า เมื่อบังคับจำนองแล้วได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ ผู้จำนองยอมชดใช้ เงินที่ขาดจำนวนให้แก่ผู้รับจำนองจนครบ แม้เป็นการตกลงยกเว้นให้แตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 733 ก็ตาม แต่เป็นข้อตกลงที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างเป็นลูกหนี้ที่จำนองที่ดินเป็นประกันในการชำระหนี้ของตนเอง และหนี้ของจำเลยอีกคน การกำหนดให้ผู้จำนองและลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เป็นไปตามปกติประเพณีของสัญญาจำนองซึ่งจำเลยทั้งสองต้องทราบและคาดหมายไว้อยู่แล้ว ส่วนการจะเรียกให้ผู้จำนองนำทรัพย์อื่นมาจำนองเพิ่มเติมต้องเป็นกรณีทรัพย์จำนองที่มีราคาต่ำลงกว่าในเวลาที่จำนองหรือทรัพย์จำนองบุบสลายหรือเสื่อมราคา จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำนองที่จะต้องเรียกให้จำเลยทั้งสองวางหลักประกันเพิ่มหาได้ไม่ เมื่อข้อตกลงท้ายสัญญาจำนองที่ยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 733  ไม่มีผลให้จำเลยทั้งสองต้องรับภาระเกินที่พึงความคาดหมาย จะไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ 2540 การที่โจทก์ขอบังคับให้ยึดทรัพย์สินอื่น ของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาด กรณีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองและได้เงินไม่พอชำระหนี้เป็นข้อบังคับที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคสอง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 2

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก