คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 14|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 14

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 14

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 14

  • Defalut Image

1.บุคคลสามคนร่วมวางแผนกันมาก่อเหตุเพื่อที่จะกระทำความผิด

บทความวันที่ 18 ก.ค. 2562, 10:08

มีผู้อ่านทั้งหมด 2231 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 14

1.บุคคลสามคนร่วมวางแผนกันมาก่อเหตุเพื่อที่จะกระทำความผิด แต่ขณะที่ 2 คน กระทำความผิดเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ผู้ร่วมวางแผนอีกคนหนึ่งแยกออกไปก่อน ไม่ได้อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่จะมีเวลาพอที่จะช่วยเหลือพวกอีกสองคนได้ ไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นแต่เพียงความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 74/2555

จำเลยที่ 2 ร่วมวางแผนกับจำเลยที่ 1 และ ส. มาก่อนเกิดเหตุเพื่อที่จะมากระทำความผิด แต่ขณะที่จำเลยที่ 1 และ ส. กระทำความผิดเอาทรัพย์ของผู้ตายไป จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์แยกทางออกไปก่อน ไม่ได้รออยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุที่จะมีเวลาเพียงพอที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และ ส. ในขณะกระทำความผิดได้ จึงไม่ใช่เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำอันจะเป็นตัวการในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และ ส. ได้ จำเลยที่ 2 คงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเท่านั้น หาใช่ร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป อันจะเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค2 ฟังในส่วนนี้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจึงชอบแล้ว

2.ผู้ร่วมวางแผนเพื่อกระทำความผิดแต่มิได้อยู่ร่วมกันด้วยในขณะกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นผู้สนับสนุนน
คำพิพากษาฎีกาที่ 7894/2559

จำเลยที่ 1 ร่วมวางแผนประสานงานหาคนมาปล้นทรัพย์โดยมีส่วนรู้เห็นมาตั้งแต่ต้นตลอดจนพาพวกไปดูลาดเลาบ้านผู้เสียหายทั้งสองและตามไปรับส่วนแบ่งใกล้กับที่เกิดเหตุซึ่งแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้เข้าไปร่วมปล้นทรัพย์โดยตรง แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกแก่คนร้ายก่อนการกระทำผิด เข้าองค์ประกอบฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 86

3.หุ้นส่วนคนหนึ่งนำเงินที่มีกรรมสิทธ์ร่วมกันในฐานะหุ้นส่วนไปแล้วหลบหนีไม่ยอมกลับไปทำงานอีกจนเกือบหนึ่งปีจึงถูกจับกุม เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 7077/2547

จำเลยนำเงินที่โจทก์ร่วมและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในฐานะหุ้นส่วนไปโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับเงินค่าหุ้นและเงินส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนร่วมกัน เมื่อโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นหุ้นส่วนกัน เงินที่จำเลยนำไปดังกล่าวจึงเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจนกว่าจะมีการเลิกการเป็นหุ้นส่วนและมีการชำระบัญชี ดังนั้น แม้จำเลยจะมีความประสงค์จะเลิกเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ร่วม แต่เมื่อยังไม่มีการตกลงเลิกหุ้น ทั้งยังไม่มีการชำระบัญชีว่าเงินส่วนนี้จะเป็นของโจทก์ร่วมและจำเลยจำนวนเท่าใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะนำเงินที่เป็นของหุ้นส่วนไปใช้เป็นประโยชน์แก่ส่วนตัว เมื่อจำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วก็หลบหนีไม่ยอมกลับไปทำงานอีกจนเกือบหนึ่งปีจึงถูกจับกุม ย่อมแสดงได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองเงินที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวนั้นไปเป็นของตนเองโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก

4.ข้าราชการตำแหน่งอาจารย์มีหน้าที่สอนหนังสือ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ใหญ่ให้ทำหน้าที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุของโรงเรียน ซึ่งอาจารย์ใหญ่มีอำนาจมอบหมายได้ เมื่อจำเลยเบียดบังโดยนำเครื่องพิมพ์ดีดอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีหน้าที่จัดการหรือรักษาไปขายโดยทุจริต จึงมีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 147
คำพิพากษาฎีกาที่ 6013/2546

จำเลยรับราชการครูตำแห่นงอาจารย์ 2 มีหน้าที่สอนหนังสือ และได้รับมอบหมายจาก ส. อาจารย์ใหญ่ให้ทำหน้าที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุของโรงเรียน ต่อมาวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินของโรงเรียน และอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยได้สูญหายไป
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้นำเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวไปขายให้แก่ห้างทองซือเซ้ง ขอนแก่น ในราคา 2,500 บาท ส่วนจำเลยฎีกาว่า จำเลยมีตำแหน่งอาจารย์ 2 ซึ่งเป็นตำแหน่งครูผู้สอน คำสั่งของนายสมศักดิ์ที่มอบหมายการงานให้แก่จำเลยไม่ใช่คำสั่งแต่งตั้งจากต้นสังกัดของจำเลย ไม่ทำให้จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องนั้น
เห็นว่า แม้จำเลยมีตำแหน่งอาจารย์ ทำหน้าที่สอนหนังสือ แต่จำเลยก็ได้รับคำสั่งมอบหมายจากนายสมศักดิ์ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ให้ทำหน้าที่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุของโรงเรียน ซึ่งอาจารย์ใหญ่มีอำนาจมอบหมายได้ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือรักษาพัสดุของโรงเรียนอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจ
เมื่อจำเลยเบียดบังโดยเอาเครื่องพิมพ์ดีดอันเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีหน้าที่จัดการหรือรักษาไปขายโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147

5.นำเอกสารหลักฐานของผู้อื่นไปขอไถ่สร้อยคอของผู้อื่นโดยไม่แสดงออกให้แจ้งชัดว่าตั๋วไถ่ไม่ใช่ของตน เป็นเหตุให้ผู้รับไถ่หลงเชื่อว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริง จึงได้มอบสร้อยคอไป เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษฎีกาที่ 5319/2547

การที่ผู้เสียหายนำสร้อยคอไปจำนำเจ้าของร้านทองผู้รับจำนำได้ออกหลักฐาน (ใบสำคัญการจำนำ)ให้ผู้เสียหายว่าเป็นการ ขายฝาก โดยมีกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายใน 1 เดือน กรรมสิทธิ์และการครอบครองสร้อยคอที่รับจำนำไว้จึงตกอยู่แก่เจ้าของร้านทองผู้รับจำนำจนกว่าผู้เสียหายจะไถ่คืน ดังนั้น การที่จำเลยนำหลักฐานที่เจ้าของร้านทองออกให้แก่ผู้เสียหายไปขอไถ่สร้อยคอของผู้เสียหายจากผู้รับจำนำโดยไม่แสดงออกให้แจ้งว่าตั๋วไถ่ไม่ใช่ของตน เป็นเหตุให้ผู้รับจำนำหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่แท้จริง จึงได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์และการครอบครองของผู้เสียหายให้แก่จำเลยไป เป็นการกระทำโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341

5.การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของผู้อื่น หรือภยันตรายอันละเมิดต่อกฏหมายได้เกิดขึ้นแล้วแต่ภยันตรายยังไม่หมดสิ้นไป สามารถอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฏหมายได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 479/2557

จำเลยมิได้เป็นฝ่ายก่อเหตุหาเรื่องก่อนใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกับพวก หลังจาก ศ. บุตรชายจำเลยถูกพวกผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงที่บริเวณหน้าท้อง 1 นัด และ ศ. ได้ร้องตะโกนให้จำเลยช่วย ถือว่าภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายได้เกิดขึ้นแล้วในขณะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะใช้อาวุธปืนยิงไปเพื่อป้องกัน ศ. บุตรชายมิให้ถูกพวกผู้ตายยิงซ้ำให้ถึงแก่ความตาย แต่หลังจากนั้นพวกของผู้ตายยังใช้อาวุธปืนยิงไปที่จำเลยอีก 1 นัด ดังนี้ภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันยังไม่หมดสิ้นไป จำเลยมีสิทธิใช้อาวุธปืนยิงโต้ตอบไปอีกเพื่อป้องกันตัวได้ถึงแม้กระสุนปืนที่จำเลยยิงไปถูกผู้ตายซึ่งยืนอยู่บริเวณใกล้เคียงกลุ่มพวกผู้ตาย แต่ก็เป็นการที่จำเลยยิงโต้ตอบไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นในสภาพที่มองเห็นกันไม่ชัดไม่ทราบว่าเป็นใคร จำเลยย่อมไม่อาจเลือกยิงคนที่ยิงจำเลยและ ศ. ได้ และคงใช้อาวุธยิงสวนไปตามทิศทางที่มีผู้ใช้อาวุธปืนยิงมาที่จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันสิทธิของตนและผู้อื่นพอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 68

ที่มา : หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 14

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก