คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

  • Defalut Image

แม้จะเป็นการยืนบนหลังคาบ้าน ก็ถือว่าเป็นความผิดบุกรุก

บทความวันที่ 10 ก.ค. 2562, 11:35

มีผู้อ่านทั้งหมด 1213 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

แม้จะเป็นการยืนบนหลังคาบ้าน ก็ถือว่าเป็นความผิดบุกรุก
คำพิพากษาฎีกาที่ 7824/2556
 
เคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 1(4) ให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย ฉะนั้นหลังคาบ้านย่อมเป็นเคหสถานตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ผู้เสียหายทั้งสองกับจำเลยจะมีบ้านอยู่ใกล้กันแต่ก็หาได้คุ้นเคยหรือสนิทสนมกันไม่ กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการถือวิสาสะ อีกทั้งขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน จำเลยย่อมไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิจะเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อน แม้จำเลยอ้างว่าเข้าไปเพราะต้องการจะเก็บปืนของเล่นให้แก่บุตรชายของตนก็ตาม แต่เหตุตามที่จำเลยอ้างมิใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วนถึงขนาดว่าจำเลยจะปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านผู้อื่นในยามวิกาลตามอำเภอใจโดยไม่บอกกล่าวหรือขออนุญาตเจ้าของบ้านก่อนทั้งเมื่อจำเลยถูกตำหนิที่ไม่ขออนุญาตกลับโต้เถียงและด่าว่าผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของเคหสถานด้วยถ้อยคำหยาบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 364 

การสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้นไม่มีอยู่จริง
คำพิพากษาฎีกาที่ 833/2555

มีดที่จำเลยใช้แทงผุ้เสียหายมีขนาดยาวประมาณ 1 ฟุต ถือว่าเป็นมีดขนาดใหญ่ วิญญูชนโดยทั่วไปย่อมทราบว่าสามารถทำอันตรายต่อชีวิตได้ การที่จำเลยใช้อาวุธมีดดังกล่าวแทงผู้เสียหายไปที่บริเวณหน้าท้องซึ่งมีอวัยวะสำคัญอยู่ภายใน ทั้งได้ความจากคำเบิกความของแพทย์ผู้ทำการักษาผู้เสียหายว่า การที่คมมีดทะลุไปถึงไตแสดงว่าเป็นการแทงแรงมากกว่าปกติ ดังนั้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการที่จำเลยแทงผู้เสียหายนั้นอาจทำให้ผุ้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แม้จำเลยจะฎีกาว่าผู้เสียหายเป็นญาติ ขณะเกิดเหตุจำเลยไม่ได้ทะเลาะกับปู้เสียหาย จึงไม่มีเหตุที่จะฆ่าผู้เสียหายก็ตาม แต่ในสภาวะขณะจำเลยแทงนั้น ต้องพิจารณาจากการกระทำอันเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยและฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายโดยมีเจตนาเพียงทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
    การที่จำเลยมีเรื่องทะเลาะกับเพื่อน 4-5 คน และถือเก้าอี้จะทำร้ายจำเลย แม้เหตุการณ์ทะเลาะจะเป็นเรื่องเล่นการพนันซึ่งผิดกฎหมาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าจำเลยเป็นคนก่อเหตุและสมัครใจเข้าวิวาทด้วย จำเลยหันไปแทงผู้เสียหายที่เข้ามาทางด้านหลังเพียงหนึ่งครั้ง ย่อมถือว่าจำเลยใช้สิทธิป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้เสียหายเข้าทางด้านหลังจำเลยระหว่างนั้นทำให้จำเลยสำคัญผิดคิดว่าผู้เสียหายจะเข้ามาทำร้าย จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง จำเลยก็สามารถอ้างเหตุป้องกันได้ตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก
    แต่ผู้ที่ร่วมทำร้ายจำเลยมีเพียงเก้าอี้เป็นอาวุธและยังไม่ได้ทำร้ายจำเลย โดยเฉพาะผู้เสียหาย แม้จะเข้ามาทางด้านหลังของจำเลยแต่ผู้เสียหายก็ไม่มีอาวุธ การที่จำเลยใช้อาวุธมีดยาวประมาณ 1 ฟุต แทงผู้เสียหายบริเวณหน้าท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญอย่างรุนแรง จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดเพียงใดก็ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2550/2553
    ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน จำเลยนอนในเปลที่ขนำในนากุ้งเพื่อเฝ้าดูแลรักษาทรัพย์สินของตน เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์แล่นผ่านเข้ามาใกล้ก็ใช้สปอทไลท์ส่องซึ่งจะทำให้ผู้ที่ผ่านมาทราบว่ามีผู้เฝ้าดูแลอยู่ในบริเวณนั้น อันเป็นการกระทำเพื่อรักษาทรัพย์สินของตน แต่โจทก์ร่วมกลับขับรถแล่นเข้ามาบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะที่ใช้สัญจรทั่วไป แต่เป็นถนนทางเข้านากุ้งในยามวิกาลเวลาประมาณ 3 นาฬิกา แล้วชนรถจักรยานยนต์ของจำเลยซึ่งจอดอยู่หน้าขนำ ย่อมทำให้จำเลยตกใจกลัวและสำคัญผิดว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจากคนร้ายที่มุ่งเข้าทำร้ายตน การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าก่อนและยิงอีก 1 นัด ในระยะเวลาที่ใกล้ชิดต่อเนื่องกันขณะ ช. และโจทก์ร่วมกำลังเปิดประตูรถออกมา ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้ที่อยู่ในรถมีอาวุธหากจำเลยช้าเพียงเล็กน้อย จำเลยก็อาจได้รับอันตรายร้ายแรงได้ จึงเป็นการป้องกันตนให้พ้นจากภยันตรายที่จำเลยสำคัญผิดว่าจะเกิดขึ้นแก่ตนและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อีกทั้งหลังจากจำเลยยิงปืนนัดที่สองไปแล้ว จำเลยก็วิ่งหลบหนีไปในทันทีโดยมิได้ยิงหรือทำร้ายโจทก์ร่วมหรือ ช. ซ้ำอีก ทั้งที่มีโอกาสเนื่องจากโจทก์ร่วมถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บและลงมาจากรถแล้ว การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุเพื่อให้ตนพ้นจากภยันตรายที่จำเลยสำคัญผิดว่าจะเกิดขึ้น อันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดตาม ป.อ. มาตรา 68 ประกอบมาตรา 62 วรรคแรก


ผู้เสียหายจากเหตุละเมิดเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้รับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้าง หากนายจ้างโอนขายทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลไปก่อนที่ศาลในคดีแพ่งจะพิพากษาถือเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1698/2535

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ได้บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด" แสดงว่าสภาพการเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ระหว่างผู้ถูกละเมิดคือโจทก์และผู้ต้องรับผิดจากมูลละเมิดคือจำเลย เกิดขึ้นทันทีที่มีการทำละเมิดขึ้น คำพิพากษาของศาลที่บังคับให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กันมิได้เป็นการก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยแต่เป็นการบังคับตามความรับผิดแห่งหนี้ที่โจทก์ทั้งสองกับจำเลยได้มีต่อกัน ดังนั้นถือว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์นับแต่ขณะที่ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อชนท้ายรถยนต์สามล้อที่สามีโจทก์ที่ 1 ขับขี่แล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ก็บัญญัติไว้ว่า"ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดีแกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"จะเห็นได้ว่า ความผิดตามมาตรานี้มิได้ถือเอาคำพิพากษาของศาลให้รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญา ทั้งยังบัญญัติไว้ชัดเจนว่าเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วกระทำการดังกล่าวก็ถือว่าเป็นความผิดแล้ว

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 11

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก