คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

  • Defalut Image

การยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทให้แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการเข้าออกของบริษัทอันเป็นเท็จ

บทความวันที่ 9 ก.ค. 2562, 10:08

มีผู้อ่านทั้งหมด 1858 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจในบทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

การยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทให้แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการเข้าออกของบริษัทอันเป็นเท็จเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จและใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดได้
คำพิพากษาฏีกาที่ 6290/2557

              บริษัท ค. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์การที่บริษัทดังกล่าวมีกรรมการเพียงคนเดียว คือ ศ. และศ. ถึงแก่ความตาย ทำให้บริษัทดังกล่าวไม่มีกรรมการเป็นผู้แทนของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นนิติบุคคล ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 73 ได้ และการที่จำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนชั่วคราวดังกล่าว ก็มีผลเป็นเพียงกรรมการชั่วคราวของบริษัท เมื่อบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงต้องจัดการบริษัทไปตามความในบทบัญญัติของประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 22 หมวด 4 บริษัทจำกัด นั่นคือ บริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของบริษัท การแต่งตั้งถอดถอนกรรมการของบริษัทต้องเป็นไปตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นตามมาตรา 1150 และ 1151 ทั้งนี้เพราะกรรมการเป็นผู้จัดการบริษัทจำกัดแทนผู้ถือหุ้น คุณสมบัติของกรรมการจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากกรรมการคนใดล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 1154 ผู้เป็นกรรมการต้องห้ามมิให้ประกอบการค้าใดๆ อันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัทตามมาตรา 1168 วรรคสาม ทั้งกรรมการต้องเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังในการประกอบกิจการของบริษัทตามมตรา 1168 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้จำเลยจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนชั่วคราว ก็หามีอำนาจเป็นกรรมการโดยแท้จริงของบริษัทไม่ กรณีต้องด้วยมาตรา 1159 ที่กำหนดว่า ในกรณีจำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุม กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้นจะทำการอื่นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าจะดำเนินการเลิกบริษัทจึงหาเป็นข้ออ้างได้ไม่ และการเลิกบริษัทจะกระทำได้ต้องเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 1236 และ 1237 เท่านั้น การที่จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน แจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ และใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดดังกล่าวอันเป็นเท็จเพื่อดำเนินการดังกล่าว จึงกระทบต่อสิทธิและประโยชน์ของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่ผู้มีสิทธิเข้าประชุมเพื่อพิจารณาตั้งกรรมการแทน ศ. และมีอำนาจครอบงำบริษัทเพื่อตรวจตราการจัดบริษัทของกรรมการได้ ทั้งเป็นผู้มีสิทธิลงมติพิเศษในกรณีพิจารณาเลิกบริษัทได้ตามมาตรา 1236(4) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด

ด่าว่าผู้อื่นทางโทรศัพท์ โดยผู้กระทำกับผู้อื่นอยู่สถานที่ห่างไกลกัน ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
คำพิพากษาฏีกาที่ 3711/2557

             โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 393 ฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยอยู่ห่างไกลกันคนละอำเภอ แต่องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 นั้น ถ้าเป็นการกล่าวด้วยวาจา ผู้กระทำต้องกล่าวซึ่งหน้าผู้เสียหาย เพราะบทบัญญัติมาตรานี้มีเจตนารมณ์ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเข้าถึงตัวกันทันทีที่มีการกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า

การที่สามีค้ำประกันหนี้ของบุคคลอื่นและภริยาลงลายมื่อชื่อเป็นพยานและให้ความยินยอม แม้ภริยาจะต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมกับสามี แต่ภริยาก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง จึงไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่สามีมาเป็นโทษแก่ภริยาได้ตามมตรา 692
คำพิพากษาฏีกาที่ 14281/2558

              คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของบริษัท น. ต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ว. เจ้าหนี้เดิม โดยจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของคู่สมรสที่ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4 ) ซึ่งต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่จำเลยทั้งสี่ก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง ความรับผิดของจำเลยทั้งสี่ต่อโจทก์เป็นเพียงลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายครอบครัวซึ่งมิใช่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะผู้ค้ำประกัน กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งสี่ได้ ส่วนการที่โจทก์นำคดีไปฟ้องคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ แม้จะมีผลทำให้อายุความในหนี้ที่คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ก็ตาม แต่อายุความที่สะดุดหยุดลงดังกล่าวย่อมเป็นโทษเฉพาะคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่มีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 

คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์เป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ แม้โจทก์จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ทายาท หน้าที่ในการอุปการะเลี้บงดูของโจทก์ก็ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท
คำพิพากษาฏีกาที่ 16040/2555
 
           ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 กำหนดถึงสิทธิของผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาว่าจะสละหรือโอนไม่ได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี สิทธิหน้าที่เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ทรงสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวเช่นกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นอันสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังทายาท เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วสภาพบุคคลของโจทก์ก็หมดสิ้นไป ภาระหน้าที่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นับแต่มีคำพิพากษาจนบุตรบรรลุนิติภาวะจึงยุติไปด้วย แม้โจทก์จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไว้ก็ตาม หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ก็ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 กองมรดกของโจทก์ไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่จำเลยอีกต่อไป

ที่มา : บทบรรณาธิการ หนังสือรวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 70 ปีการศึกษา 2560 เล่มที่ 9

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก