การรับฟังพยาน คดีหมอข่มขืนคนไข้ |การรับฟังพยาน คดีหมอข่มขืนคนไข้ 

การรับฟังพยาน คดีหมอข่มขืนคนไข้ 

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การรับฟังพยาน คดีหมอข่มขืนคนไข้ 

  • Defalut Image

การรับฟังพยาน คดีหมอข่มขืนคนไข้ 

บทความวันที่ 18 พ.ย. 2561, 14:12

มีผู้อ่านทั้งหมด 1507 ครั้ง


การรับฟังพยาน คดีหมอข่มขืนคนไข้ 

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2543
            การที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยโดยอาศัยเพียงคำเบิกความของประจักษ์พยานเพียงปากเดียวนั้น คำเบิกความของประจักษ์พยานต้องมีน้ำหนักมั่นคง ประกอบด้วยเหตุผลน่าเชื่อถือควรแก่การรับฟังพอจะลงโทษจำเลยได้
            คำเบิกความของ น. ประจักษ์พยานโจทก์ปากเดียวที่เบิกความว่า เห็นจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดย ศ. บุตร น. ก็เห็นเหตุการณ์ด้วยแม้การที่โจทก์ไม่นำ ศ. เข้าเบิกความจะไม่เป็นข้อพิรุธ แต่คำเบิกความของ น. มีข้อพิรุธขัดต่อเหตุผลอยู่หลายตอนคือ น. ยืนยันว่า ผู้เสียหายวางกระเป๋าสตางค์ไว้ที่เขียงสับหมูแต่เมื่อน.ตอบคำถามศ. ว่ากระเป๋าสตางค์ดังกล่าวน่าจะเป็นของจำเลย แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในข้อเท็จจริง จึงไม่ตอบว่าเป็นของผู้เสียหาย และเมื่อ น. เห็นจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ไปไม่ได้ทักท้วง ซึ่งเป็นการขัดต่อวิสัยและเหตุผล เพราะผู้เสียหายเป็นลูกค้าประจำ ส่วน น. มีอาชีพค้าขายตามวิสัยย่อมต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า นอกจากนี้ น. เบิกความเกี่ยวกับธนบัตรที่ผู้เสียหายจ่ายเป็นค่าก๋วยเตี๋ยวว่าเป็นธนบัตรฉบับละ 50 บาท แตกต่างกับผู้เสียหายที่เบิกความว่าเป็นธนบัตรฉบับละ 20 บาท 3 ใบ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ส่วนที่ น. บอกผู้เสียหายว่าจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ผู้เสียหายไป หรือพาเจ้าพนักงานตำรวจไปค้นบ้านจำเลย หาเป็นเหตุผลให้รับฟังว่า น. เห็นจำเลยหยิบเอากระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไป และการจับกุมจำเลยไม่พบกระเป๋าสตางค์หรือของกลางใด ๆ จากจำเลย ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2541
           แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานที่สำคัญเพียงคนเดียว ซึ่งโดยปกติพยานเดี่ยว เช่นนี้จะมีน้ำหนักในการรับฟังน้อย แต่หาใช่ว่าจะรับฟังไม่ได้เลย หากโจทก์มี พยานหลักฐานอื่นที่ดีมาร่วมวินิจฉัยเข้าด้วยกันแล้วพยานเดี่ยว ดังกล่าวก็สามารถรับฟังได้

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2531
            จำเลยกับ ส. ไปด้วยกันที่บ้านเกิดเหตุ เมื่อถึงโต๊ะที่ผู้เสียหายทั้งสองนั่งดื่มเบียร์ จำเลยส่งปืนให้ ส.ส.ขึ้นลำปืนแล้วยิงผู้เสียหายทันที จำเลยกับ ส. หลบหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยกับ ส. สมคบกันยิงผู้เสียหายจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
            การที่จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 นั้น ต้องเป็นเรื่องที่มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดจริงดังฟ้องจำเลยจึงต้องรับโทษตามกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2555
               การแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ศาลจึงนำบันทึกเทปดังกล่าวมารับฟังได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก