โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย|โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย

โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2540

บทความวันที่ 20 เม.ย. 2560, 11:06

มีผู้อ่านทั้งหมด 4744 ครั้ง


 โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2540
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาจำเลยทั้งสี่ในที่ดินมีโฉนด โจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ได้แยกกันครอบครองที่ดินตามส่วนของตนเป็นส่วนสัด เมื่อบิดาจำเลยทั้งสี่ตาย จำเลยทั้งสี่ได้รับมรดกที่ดินส่วนของบิดา โจทก์ทั้งสองต้องการจะขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม จำเลยทั้งสี่ให้การยอมรับว่าโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยจริง แต่เป็นเรื่องบิดาจำเลยทั้งสี่กู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสองไปจำนวน 40,000 บาทแล้วมอบที่ดินให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ได้ยอมให้ครอบครองเป็นส่วนสัด กับฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืนเป็นเงิน50,000 บาท จำเลยทั้งสี่จะขอซื้อที่ดินคืนโจทก์ทั้งสองไม่ยินยอม โจทก์ทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีข้อตกลงกับบิดาจำเลยทั้งสี่ดังที่จำเลยทั้งสี่อ้าง ดังนี้ ตามฟ้องโจทก์และคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสี่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกที่ดินที่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วม จำเลยทั้งสี่มิได้ให้การว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย แต่เป็นของจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อจำเลยทั้งสี่แพ้คดีในศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้บังคับคดีตามฟ้องแย้งโดยอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ ให้บิดาจำเลยทั้งสี่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนในราคา 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่ามีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ทั้งสองในราคา 50,000 บาท หรือไม่ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์และต้องถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทไม่ใช่ถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาในข้อตกลงที่ให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืน เมื่อได้ประเมินราคาที่ดินพิพาทเป็นเงิน1,000,000 บาท คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจำนวน 1,000,000 บาท แม้คำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าที่ดินส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองไม่ตรงกับส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แต่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ได้แสดงโดยชัดแจ้งพอเข้าใจแล้วว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่โดยเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองคนละ 4,000 ส่วน ในจำนวนทั้งหมด 14,300 ส่วน และโจทก์อ้างว่าได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดในที่ดินส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองแล้ว หากเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งรับมรดกของบิดาแบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสองตามสิทธิของโจทก์ทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 ส่วนโจทก์ทั้งสองจะได้รับส่วนแบ่งตามส่วนที่ได้ครอบครองหรือแบ่งตามส่วนในกรรมสิทธิ์ก็แล้วแต่ทางพิจารณาจะได้ความ ซึ่งมาตรา 1364ได้กำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมไว้โดยชัดแจ้งแล้ว อีกทั้งตามคำให้การจำเลยทั้งสี่ก็ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ให้การว่าบิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยตกลงให้โจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่เข้าใจข้อหาตามฟ้องของโจทก์ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ทั้งสองนำสืบว่า บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่คนละประมาณ 10 ไร่ ส่วนของโจทก์ที่ 1อยู่ทางทิศตะวันตก ส่วนของโจทก์ที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเอกสารหมาย จ.1 บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่มีเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนแบ่งแยก จึงจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเอกสารหมาย ล.2 โดยไม่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่ คงบรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินดังกล่าวก็ตาม แต่การนำสืบของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสองในที่ดินของบิดาจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นข้อนำสืบเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์รวมตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่ข้อนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมมีข้อความว่า ก.ตกลงยินยอมให้โจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมคนละ 4,000 ส่วนใน 14,300 ส่วน โดยโจทก์ทั้งสองตกลงให้ค่าตอบแทนแก่ ก.เป็นเงิน 40,000 บาท ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ลงชื่อแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว และได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ก. ตามส่วนที่ตกลงกันไว้ในสารบัญแก้ทะเบียนหลังโฉนดที่ดิน จึงต้องถือว่านิติกรรมการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีโฉนดของ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่โดยบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมจึงมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ตาม มาตรา 1363 การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมายนั้น ในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเองอาจอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัดตามที่ได้ตกลงต่อกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องเกิดจากความยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกฝ่ายพร้อมใจกันให้เป็นเช่นนั้น ขณะที่ ก. เจ้าของรวมคนหนึ่งยังไม่ตายก. กับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยกันได้ตกลงแบ่งที่ดินกันเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364โดยให้โจทก์ทั้งสองครอบครองเนื้อที่ประมาณคนละ 10 ไร่และให้ส่วนของโจทก์ทั้งสองอยู่ด้านใต้ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของก. ให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองเนื้อที่ประมาณคนละ10 ไร่ ตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องดังกล่าว จ.1 ตามที่บิดาจำเลยทั้งสี่และโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยกันตกลงกันได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก