งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
การอุทธรณ์ลดจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8897/2555
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ตามสัญญาเช่าซื้อได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองเดือนติดต่อกัน และเมื่อผู้ให้เช่าซื้อครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น ตามคำฟ้องที่โจทก์บรรยายให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดราคา โดยคิดจากค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดจากค่าเช่าซื้อทั้งหมดหักจากที่โจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายรวมกับค่าเช่าซื้อจำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว ซึ่งเป็นการคิดคำนวณค่าเสียหายตามที่ตกลงไว้ในสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อในลักษณะเป็นค่าขาดราคารถยนต์ หาใช่เป็นการเรียกค่าเสียหาย ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับสัญญาเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 563 แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2546 สิทธิเรียกร้องค่าขาดราคาตามฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์อุทธรณ์โดยระบุในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า โจทก์ติดใจเรียกร้องค่าขาดราคาเพียง 500,000 บาท ไม่ใช่การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยลดจำนวนทุนทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 หากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์พอใจเรียกร้องค่าขาดราคาในชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนดังกล่าว ซึ่งโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและการที่โจทก์เรียกค่าขาดราคาจากจำเลยทั้งสามทั้งที่ได้ยึดรถยนต์นำไปขายแล้วนั้นเป็นการเรียกเอาค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อที่ทั้งสองฝ่ายสมัครใจทำสัญญาต่อกันโดยจำเลยทั้งสามยินยอมให้โจทก์เรียกเอาค่าขาดราคาดังที่วินิจฉัยมาแล้วได้ ไม่ใช่การเรียกเอาราคารถสองต่อดังที่จำเลยทั้งสามฎีกา
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อแต่ยังคงครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อ ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกหาประโยชน์ในระหว่างเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืนได้ แม้โจทก์จะนำสืบได้ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ขาดประโยชน์ถึงเดือนละ 45,000 บาท ตามฟ้องแต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าขาดประโยชน์ตามที่เห็นสมควรได้
(ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ศาลฎีกา)