การวิเคราะห์สินเชื่อ
1. ความหมายของการวิเคราะห์สินเชื่อ
2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ
3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ
4. เทคนิค/วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ
การวิเคราะห์สินเชื่อ
1. การวิเคราะห์สินเชื่อ
ความหมาย หมายถึง การตรวจสอบ แสวงหา และรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการขอสินเชื่อ เพื่อให้ข้อมูลเครดิตที่สมบูรณ์ครบถ้วน มีสาระสำคัญเพียงพอที่ใช้ในการพิจารณา และหยิบยกประเด็นสำคัญจากข้อมูลเหล่านั้น ประกอบความเห็นของผู้วิเคราะห์เสนอให้ผู้มีอำนาจขออนุมัติสามารถใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการขอสินเชื่อนั้น ๆ ได้โดยถูกต้องและรวดเร็ว
2. สิ่งสำคัญที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ
1. นโยบาย
2. ระเบียบและหลักเกณฑ์
3. กฎหมายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเครดิต
4. การพิจารณาตามหลัก 5 C’S
- CHARACTER ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะชำระหนี้ของลูกค้า
- CAPACITY ความสามารถในการชำระหนี้คืน
- CAPITAL ส่วนของกิจการนำมาลงทุนในกิจการ
- COLLATERAL มีหลักทรัพย์ หรือหลักประกัน
- CONITION เงื่อนไข หรือกำหนดระยะเวลาการชำระคืนที่เหมาะสม
5. นำหลัก 3 P มาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น
- PURPOSE วัตถุประสงค์ในการกู้
- PAYMENT การจ่ายชำระหนี้คืน
- PROTECTION การป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้คืนไม่ได้
6. มีความรู้ด้านบัญชีและการเงินพอสมควร
7. ทราบลักษณะทั่ว ๆ ไปของธุรกิจประเภทใหญ่ ๆ
- ธุรกิจอุตสาหกรรม
- ธุรกิจการค้า
- ธุรกิจประเภทให้บริการ
8. พิจารณาในแง่ความเสี่ยงทางเครดิต คือการพิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
3. แหล่งข้อมูลที่พึงรวบรวมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ
1. เกี่ยวกับผู้ขอสินเชื่อ
เพื่อให้การวิเคราะห์สินเชื่อให้ได้ผล ลดความเสี่ยงที่เกิดแก่ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูล 7 ประการดังนี้
1. ผู้ขอเครดิต
2. วัตถุประสงค์ที่ผู้ขอเครดิตเสนอมา
3. เงินทุนของผู้ขอเครดิต
4. จำนวนเงินที่ขอกู้
5. ความสามารถในการชำระหนี้
6. การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้ เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน
7. ความเหมาะสมของหลักประกัน
1.1 ผู้ขอเครดิต
- เป็นใคร หมายถึง เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
บุคคลธรรมดา
- ชื่อ, ที่อยู่
- ฐานะ, โสด, สมรส
- พื้นฐานความรู้
- ตำแหน่งหน้าที่การงาน
- ความสามารถในการทำนิติกรรมตามกฎหมายหรือไม่
นิติบุคคล
- ชื่อ, ที่อยู่ หรือสำนักงาน
- กรรมการมีใครบ้าง
- ขอบเขต ข้อจำกัด อำนาจของกรรมการ
- วัตถุประสงค์ในการประกอบการได้กว้างขวางมากน้อยเพียงใด
- ความสามารถในการทำนิติกรรม ตามกฎหมายหรือไม่
ประเภทของผู้ขอเครดิต
หมายถึง ประเภทธุรกิจของผู้ขอเครดิตเป็นอะไร มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่เพียงใด
ความสามารถในการดำเนินกิจการ
- ประสบการณ์ของผู้ขอเครดิตในการประกอบธุรกิจของตนอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ เพียงไร
- ความสามารถในการทำธุรกิจในด้านการบริหารงานบุคคล, การจัดการด้านการเงิน, การผลิต และการตลาด
- มีความซื่อสัตย์/จริงใจ/ตั้งใจ/ อดทนในการประกอบธุรกิจ
- จุดดี จุดเสียของสินค้าและบริการของผู้ขอเครดิตเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
- ประสบการณ์ด้านการศึกษา และพื้นฐานทางครอบครัวของผู้ขอเครดิต
1.2 วัตถุประสงค์ที่ขอกู้
เป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้วิเคราะห์ จะต้องพิจารณาประกอบกับข้อมูลในส่วนอื่น ๆ เพื่อดูว่าลูกค้าขอกู้ยืมไปดำเนินการ จะประกอบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เรามักพบอยู่เสมอ ๆ ว่า ลูกค้ามักจะไม่นำเงินกู้ที่ได้รับการอนุมัติไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่เสนอขอกู้มาตรงกันข้ามกลับนำไปใช้วัตถุประสงค์อื่น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือผลกำไรที่สามารถนำมาชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารได้ การที่ลูกค้านำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการขอกู้นั้น เท่ากับว่าการวิเคราะห์ของผู้วิเคราะห์ผิดเป้าหมายไปหมดเงื่อนไขต่าง ๆที่ผู้อนุมัติตั้งไว้ เช่น ให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือน ให้ลดวงเงินลดลงเป็นรายงวด ก็จะไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ารายนั้นเป็นหนี้ที่มีปัญหาไปในที่สุด
วัตถุประสงค์ในการขอกู้ แยกเป็นหมวดใหญ่ ๆ 2 หมวดคือ
ก. ขอกู้เงินเพื่อใช้ในเป็นทุนหมุนเวียน เป็นการขอกู้เพื่อเสริมหรือปรับสภาพคล่องของกิจการ หรือเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ
ข. ขอกู้เพื่อใช้ลงทุนในทรัพย์สินถาวร เป็นการขอกู้เงินเพื่อนำไปลงทุนในที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ฯลฯ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการชำระคืนมากกว่าการขอกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน
จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะมีผลต่อการกำหนดประเภทเครดิต และวงเงินที่ผู้อนุมัติพิจารณากำหนดให้ลูกค้า ซึ่งจะได้กล่าวไว้ในข้อการกำหนดประเภทเครดิต และวงเงินของลูกค้า
1.3 เงินทุนของผู้ขอกู้
- เงินจากเจ้าของ/ทุนจดทะเบียน
- ทรัพย์สินอื่น ๆ
1.4 เงินทุนของผู้ขอกู้
- มีความเหมาะสมกับธุรกิจของผู้ขอเครดิตหรือไม่/ มากน้อยเพียงใด
- สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการขอกู้ครั้งนี้หรือไม่
- อัตราส่วนเงินที่ขอกู้/เงินทุนของผู้ขอกู้
- อัตราส่วนภาระเงินกู้รวม/เงินทุนของผู้ขอกู้
- สมการบัญชี
1.5 ความสามารถในการชำระหนี้
- รายได้/กำไรจากกิจการ
- การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
- การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
1.6 การจัดประเภทเครดิตให้ผู้กู้/เงื่อนไขการใช้เครดิตและการชำระคืน
- ประเภทเครดิต
- การกำหนดวงเงินเครดิต
- เริ่มจากน้อยไปหามาก
- กำหนดเป็นช่วงระยะเวลา,ฤดูกาล, สถานการณ์
- ตามความต้องการของลูกค้า
- ด้วยเหตุผลและความสามารถของลูกค้า (วัตถุประสงค์ และการใช้เงิน)
- วัตถุประสงค์ในการกำหนดวงเงิน
- เป็นข้อกำหนดความเสี่ยงของธนาคาร
- แนวทางในการติดตามและควบคุมการใช้เครดิต
- ส่งเสริมสินเชื่อแก่ธุรกิจ
- ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดวงเงิน
- ขนาดของธุรกิจ
- หลักการกระจายความเสี่ยง
- ประเภทธุรกิจของผู้ขอสินเชื่อ
- ระยะเวลาที่ขอสินเชื่อ พร้อมทั้งเงื่อนไขในการผ่อนชำระ/ดอกเบี้ย
- สภาพของธุรกิจในขณะนั้นและในอนาคต
- นโยบายการจำหน่ายสินค้า (เทอมการค้า, เทอมการให้เครดิต)
- คู่แข่งขัน
- ความสามารถในการบริหาร
- ยอดรวมของสินเชื่อทั้งหมด
1.7 ความเหมาะสมของหลักประกัน
- เป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ามั่นคง ราคาไม่ลดลง
- เป็นที่ต้องการของตลาด
- ปลอดภาระผูกพันใด ๆ
- ต้องได้รับคำยินยอมจากเจ้าของหลักทรัพย์
- ต้องสามารถครอบครอง/ถือเอาเอกสารสิทธิเกี่ยวกับหลักประกันนั้นได้
- หลักประกันนั้นจะต้องไม่ขัดกับกฎหมายหรือพระราชบัญญัติธนาคาร
ประเภทของหลักประกัน
1. เงินฝาก
2. หุ้น
3. พันธบัตร
4. ตั๋วเงิน
5. ที่ดิน
6. สิ่งปลูกสร้าง
7. เครื่องจักร
8. เรือ
9. สินค้า
10.สิทธิการเช่า
11.สิทธิการรับเงิน
12.อื่น ๆ
การตรวจสอบความเหมาะสมของหลักประกัน
- ผู้ถือกรรมสิทธิ์
- ภาระผูกพัน, การจำกัดสิทธิ
- รูปแบบ, ขนาด, ที่ตั้ง
- วัสดุที่ใช้, ความแข็งแรง, ทนทาน, การบำรุงรักษา
- สภาพแวดล้อม
- ประโยชน์การใช้สอย
- อายุการใช้งาน
- สภาพความเสื่อมค่า
- ราคา/มูลค่าของหลักประกัน
2. ข้อมูลภายในธนาคาร
- สอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายสินเชื่อของธนาคาร
- อยู่ในระเบียบหลักเกณฑ์ กฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคาร
ความคิดเห็น