คลิป/ไฟล์เสียง ตอน คลิปเสียง วีดีโอเทป รับฟังเป็นพยานได้หรือไม่
ทนายเดชา ในฐานะทนายความ วิทยากรฝึกอบรมด้านกฎหมายและทวงหนี้/นักสืบ ขอนำเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในทางวิชาการเกี่ยวกับการการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เช่น การบันทึกเสียง การบันทึกภาพ ภาพนิ่ง หลายท่านถามว่า ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ซึ่งผมขอตอบเป็นประเด็นเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. การใช้คลิปเสียง/ภาพ/วีดีโอเทป นิยมใช้ในคดีชู้สาวมากที่สุด เท่าที่ผมมีประสบการณ์
2. คดีทางการเมือง เช่น คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผู้บันทึกเสียงคือ DSI (พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันตชัย)
3. คลิปเสียงคดีพนักงานสอบสวนส่อไปในทางจะล้มคดีปูแดง ของ DSI ถูกบันทึกโดย อธิบดีธาริต เพ็งดิษฐ์
4. คดีหมิ่นประมาท ถูกบันทึกเสียงระหว่างมีการด่ากันทางโทรศัพท์หรือในที่สาธารณะ
5. เป็นคดียาเสพติด ใช้สำหรับสายลับบันทึกเสียงผู้ค้ายาเสพติดในระหว่างการล่อซื้อ
การรับฟังคลิปเสียง ถ้าผู้ที่มีเสียงอยู่ในคลิปยอมรับสามารถรับฟังเป็นพยานวัตถุได้ แต่ถ้าไม่ยอมรับให้นำสืบประกอบว่า เป็นเสียงของผู้พูด ศาลจึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญ ห้ามตัดต่อ
ส่วนการรับฟังวีดีโอ ซึ่งวีดีโอห้ามตัดต่อ ดังนั้นถ้าใครจะนำมาเป็นพยานในชั้นศาล ห้ามตัดต่อ กฎหมายใช้คำว่า เป็นภาพและเสียงต่อเนื่อง เท่าที่ผมมีประสบการณ์ ถ้าเป็นวีดีโอเทป ศาลถือว่าชัดเจน แต่มีอยู่คดีหนึ่ง ซึ่งเมียน้อยไม่ยอมรับว่าเป็นตัวเองโดยอ้างว่าจำไม่ได้ว่าเป็นตนเองหรือไม่ ทั้งที่ภาพชัดเจน สุดท้ายศาลพิพากษาเชื่อว่าเป็นภาพของเมียน้อยจริง
ท่านใจสนใจเรื่องงานสืบและการรับฟังพยานหลักฐาน ด้านงานสืบสวนหรือการสืบพยาน สอบถามได้ที่ 02-9485700
บทความและคลิปเสียงโดย อ.เดชา กิตติวิทยานันท์
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการสืบสวน