ถ้าถูกฟ้องบังคับคดีค่ะ
การบังคับคดี
เป็นกรณีถูกฟ้องให้ชำระหนี้ ตามสัญญาการเช่าซื้อ เมื่อผิดนัด และบอกเลิกสัญญาฯ ไฟแนนซ์ ก็คงยึดรถนำไปขาย ถ้าได้ราคาต่ำ ก็จะฟ้องเรียกค่าส่วนต่างจากผู้เช่าซื้อ แม้ผู้ถูกฟ้องไม่ไปศาล ตามนัด ไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ก็มีช่องทางให้โจทก์ขอให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวได้ (โดยการขาดนัด) ซึ่งผลก็คือ จำเลย มักแพ้คดี คงต้องใช้หนี้ตามที่ถูกฟ้อง เพราะจำเลยสละสิทธิ์ ไม่ยื่นคำให้การต่อสู้ใดๆ และไม่ไปศาล ก็เสมือนยอมรับผิดโดยปริยาย...เมื่อส่งคำบังคับไปให้จำเลยใช้หนี้ตามคำพิพากษา ถ้าเพิกเฉย ก็จะมาถึงขั้นตอนการ บังคับคดี คือติดตามยึดทรัพย์จำเลย ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้....
ทางแก้ไข....ถ้าการถูกฟ้อง มีการส่งหมายไม่ชอบไม่ว่ากรณีใดๆ ทำให้จำเลยไม่ทราบว่าตนถูกฟ้อง ก็ต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาล แต่ช่องทางนี้ น่าจะทำได้ลำบาก เพราะการส่งหมายให้จำเลย มักทำการรัดกุม คือการส่งหมาย หรือวางหมาย หรือ ปิดหมาย (ตามคำสั่งศาล) กรณีจำเลยไม่อยู่บ้าน บางทีมีการรับฟังข้อมูลมาผิดๆว่า ถ้ามีการคนมาส่งหมาย ก็ให้หลบๆไปก่อน ไม่ต้องรับผิดใดๆ ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด คือแม้หลบไป เมื่อปิดหมาย ก็มีผลว่า จำเลยรับทราบว่าถูกฟ้องแล้ว เมื่อไม่ไปตามนัด ศาลจึงสามารถพิจาณาคดีลับหลังจำเลยได้
อีกช่องทางหนึ่งคือไปติดต่อที่ สนง.บังคับคดี ให้มีการเชิญชวนโจทก์มาเจรจากัน ในการเจรจาก็สามารถเจรจาต่อรองกันได้ เช่นขอผ่อนส่งเป็นงวดๆ เพื่อไม่ให้ต้องถูกยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด...แต่ถ้าเพิกเฉยไม่ทำอะไรเลย ก็คงถูกยึดทรัพย์ไปขายฯแน่นอน แต่..ถ้าไม่ทรัย์สินใดๆให้ยึดได้ ก็ไม่มีความผิดอะไร เจ้าหนี้ต้องรอบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษา ด้วยความปรารถนาดี ครับ
ปรึกษากฎหมาย โทร.02-948-5700ในเวลาราชการ( วันจันทร์-วันศุกร์) และ 081-625-2161, 081-916-7810 (โทรได้ทุกวัน)
*********************************************
รับฟังการ Live สด ให้ความรู้ทางด้านกฎหมายและการเมือง (ได้ทุกวัน)
ทาง facebook : ทนายคลายทุกข์ และ YouTube : ทนายคลายทุกข์ tiktok : ทนายคลายทุกข์ ได้ทุกวันครับ
*************************