WebBoard :บังคับคดี|ศาลมีคำสั่งคำบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์

ศาลมีคำสั่งคำบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ศาลมีคำสั่งคำบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์

  • 267
  • 1
  • post on 5 มิ.ย. 2566, 22:48

     คดีมโนสาเร่ บริษัทประกันภัย...โจทก์ เรีบกร้องจำนวนทุนทรัพย์.....บาท..(ค่าซ๋อมรถที่ทางบริษัทจ่ายไปให้แกผู้เอาประกัน..แล้วมาเรียกเอาคืนกับผู้ละเมิด)(ศาลออกหมายเรียกให้ไปเจรจาไกล่เกลี่ยจำเลยไม่ได้ไป) 

     ขณะนี้ศาลมีคำสั่ง คำบังคับ โดยมีใจความว่า "ให้จำเลยชำระเงินแกโจทก์จำนวน.......บาทพร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม(ค่าทนายความ)จำนวน.....บาท ถ้าจำเลยไม่ปฏิบ้ติตามภายในระยะเวลา "จะต้องถูกยิดทรัพย์ หรือถูกจับและจำขัง" ดังที่บัญญญัติไว้ใน ป.วิ แพ่ง"

     ขอสอบถามวาถ้าจำเลยไม่สามารถชำระเงินตามคำบังคับศาลได้

     1.จำเลยจะถูกยึดทรัพย์ภายในเวลาประมาณเท่าใด (คิดว่าคงไม่สามารถชำระได้..เนื่่องจากจำเลยที่หนึ่งผู้ก่อเหตุยังไม่มีรายได้ยังเป็นนักศึกษาและรักษาตัวทางจิตเวช (กินยา) ส่วนจำเลยที่สอง(ผู้ลงนามยอมรับผิดชดใช้)มีรายได้เพียงให้มีชีวิตอยู่

     2.จะถูกจับและจำขัง เนื่องจากมีเหตุกรณีใดบ้าง (เข้าใจมาโดยตลอดว่าเป็นคดีแพ่ง...ไม่เคยทราบมาก่อนว่าจะต้องถูกจับและติดคุก)

     3.ขอคำแนะนำ

                   ขอบคุณครับ

โดยคุณ ตันติกร (xxx) 5 มิ.ย. 2566, 22:48

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

คำพิพากษา/การบังคับคดี


  เมื่อถูกฟ้องในคดีแพ่ง  ถ้าจำเลยไม่ยื่นคำให้การตามกำหนด  และไม่ไปศาลในการพิจารณาคดี  โจทก์สามารถร้องขอให้มีการพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว(ลับหลังจำเลย)ได้  ผลก็คือจำเลย  จะแพ้คดี  ค่อนข้างแน่  ก็จะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ ตามที่ถูกฟ้อง...ก็มีขั้นตอนในการเจจาหลังคำพิพากษา  อาจมีทางตกลงกันได้ ที่เป็นประโยชน์ต่อจำเลย   แต่การที่จำเลยไม่ศาล   โจทก์ก็ย่อมขอให้การบังคับคดี  คือติดตามยึดทรัพย์สินของจำเลย  ไปขายทอดตลาด เพื่อใช้หนี้ตามคำพิพากษาได้

ตอบคำถาม..

1.เรื่ิองเวลาในการยึดทรัพย์ก็คงไปกำหนดชัดเจนไม่ได้ แต่ก็คงไม่นานนัก   ในชั้นบังคับคดี   ก็ยังมีช่องทางเจรจากับเจ้าหนี้ได้อีก   ก็ไปที่ สนง.บังคับคดี  เพื่อขอให้เชิญโจทก์มาเจรจากัน  อาจจะมีช่องทางเจรจากันได้ และมีทางออกที่จำเลย  ไม่เดือดร้อนจนเกินควร...การยึดทรัพย์ถ้าจำเลยไม่มีทรัพย์สินใดๆ  ก็ยึดไม่ได้  เช่นถ้าเป็นข้าราชการ  ยึดเงินเดือนไม่ได้  ถ้าเป็นลูกจ้าง  ก็ยึดได้เฉพาะส่วนที่เกิน สองหมื่นบาท เท่านั้น และมีทรัพย์สินหลายรายการที่เป็นของใช้ส่วนตัวก็ยึดไม่ได้ เป็นต้น

2.(พร้อมคำแนะนำ)  การถูกจับ กักขัง  แทบจะไม่เกิดขึ้น  เพราะเป็นคดีแพ่ง  ดังที่ท่านเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว  ถ้าจะมีการกักขัง ต้องเป็นกรณีที่จำเลย  จงใจขัดขวางการบังคับคดี โจทก์ก็ต้องยื่นเรื่องต่อศาล ให้กักขังจำเลยได้ ไม่เกิน 6 เดือน...คำว่าจงใจขัดขวางบังคับคดี  เช่น เมื่อ เจ้าพนักงานบังคดีมายึดรถ หรือทรัพย์อื่นๆ  แต่จำเลยขัดขวางไม่ให้ความร่วมมือ หรือพยายามนำรถ หรือนำทรัพย์นำไปซุกซ่อน อาจมีปัญหาได้  ทางแก้ไข เมื่อมีการมายึดทรัพย์ก็ให้ความร่วมมือกับ จพง.ฯด้วยดี  ส่วนใหญ่ก็คงไม่การนำทรัพย์ไปเพียงสั่งอายัด เช่น ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน   และเมื่อถึงวันขายทอดตลาด  จำเลยก็ยังสามารถไปสู้ราคาในการขายทอดตลาด เพื่อซื้อทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นได้....และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าจำเลยไม่มีทรัพย์สินใดๆให้ยึดได้ จำเลยก็ไม่ได้มีความผิดอะไรเลย  เจ้าหนี้ก็ต้องรอวันเวลาที่จำเลยมีทรัพย์สินเกิดขึ้นมา  ภายในอายุความ 10  ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา  ถ้าไม่มีทรัพย์สินใดๆก็จบ  ดังนั้นประเด็นการจะถูกกักขัง จึงไม่ต้องไปวิตกกังวลอะไรมากมาย  ด้วยความความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 6 มิ.ย. 2566, 08:43

แสดงความเห็น