WebBoard :บังคับคดี|ผู้กู้มีหนี้โดนฟ้องล้ม โดนยึดบ้านติดจำนองขายทอดตลาด ผู้กู้ร่วมจะโดนฟ้องหรือไม่

ผู้กู้มีหนี้โดนฟ้องล้ม โดนยึดบ้านติดจำนองขายทอดตลาด ผู้กู้ร่วมจะโดนฟ้องหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ผู้กู้มีหนี้โดนฟ้องล้ม โดนยึดบ้านติดจำนองขายทอดตลาด ผู้กู้ร่วมจะโดนฟ้องหรือไม่

  • 1139
  • 3
  • post on 22 ธ.ค. 2565, 22:18

ผู้กู้มีหนี้โดนฟ้องล้มละลาย และถูกยึดบ้านที่ติดจำนองขายทอดตลาด โดยดิฉันเป็นผู้กู้ร่วม โดยบ้านที่ถูกขายทอดตลาด ขายได้ต่ำกว่ายอดหนี้บ้านที่จำนองอยู่ ขอสอบถามอาจารย์ว่า ผู้กู้ร่วมจะโดนธนาคารฟ้องหรือไม่ เพราะว่าบ้านยังติดจำนองผ่อนอยู่ ธนาคารจะฟ้องเอาส่วนต่างที่ขาดไปกับผู้กู้ร่วมได้ไหมคะ


ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ พี่ศรี (27.55.xxx.xxx) 22 ธ.ค. 2565, 22:18

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ขอบคุณค่ะ ที่ให้ความรู้และแนะนำเป็นอย่างดี มี ตย.ฎีกา ด้วย แต่ดิฉันก้ยังไม่เข้าใจ ฎีกา  ใกล้เคียงสุด แต่ดิฉันขออธิบายเพิ่มเติมค่ะ


ดิฉัน ไม่ได้โดนฟ้องล้ม และไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีเลยค่ะ โดยผู้กู้หลักโดนฟ้องล้มละลายจากคดีอื่น  แล้วศาลเลยนำบ้านที่ยังติดจำนองที่ดิฉันเป็นผู้กู้ร่วมไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ของผู้ล้มละลาย โดยขายต่ำกว่าราคาจริง โดยรวมทรัพย์ทั้งหมดของผู้ล้มละลายก็ยังไม่ได้เท่าค่าบ้านที่ดิฉันเป็นผู้กู้ร่วมเลย ดิฉันเลยกังวลในส่วนนี้ว่า แบงก์จะมาฟ้องส่วนต่างกับผู้กู้ร่วม โดยคนที่ล้มละลายถูกล้มก็แค่ 3 ปี แล้วก็จะหลุดภาระหนี้สินทั้งหมด เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี หรือหลายปี ดิฉันจะถูกแบงก์ที่จำนองบ้านฟ้องส่วนต่างหรือไม่คะ


ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ พี่ศรี 23 ธ.ค. 2565, 22:14

ตอบความคิดเห็นที่ 3

ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยนะคะ ได้คำตอบและคำแนะนำที่ดี ขอบคุณมากๆอีกครั้งค่ะ

โดยคุณ พี่ศรี 25 ธ.ค. 2565, 18:42

ตอบความคิดเห็นที่ 3

ข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน  การตอบย่อมคลายเคสื่อนไป ก็กราบขออภัยนะครับ... เมื่อผู้กู้ล้มละลาย   ผู้ร่วมก็ย่อมถูกบังคับคดีไปด้วย   การขายทรัพย์(บ้าน)ได้ราคาต่ำ  เมื่อไม่คุ้มกับหนี้   ธนาคารย่อมมาฟ้องเรียกค่าส่วนต่างได้อีก  ซึ่งต่างกับผู้กู้ที่ถูกฟ้องล้มละลาย  เมื่อแจ้งข้อมูลของทรัพย์สินโดยครบถ้วน  ก็จะได้รับการปลดจากหนี้สินทั้งปวง ใน 3 ปี..  แต่ผู้กู้ร่วมไม่ได้เป็นผู้ล้มละลาย  ย่อมไม่ได้รับสิทธิ์เช่นนั้นด้วย  คือถ้าขายทอดตลาดบ้านได้ไม่คุ้มหนี้   ธนาคารก็ยังมาฟ้องเรียกค่าส่วนต่างได้อีก...อย่างไรก็ตาม  คำตอบอาจจะคลาดเคลื่อนไปได้อีก  เพราะไม่ได้ดูเอกสาร ตลอดจนคำฟ้อง  คำพิพากษา อย่างชัดเจน....ขอแนะนำให้นำเอกสารต่างๆให้ครบถ้วน ไปที่ศาล  เพื่อขอพบทนายอาสาของสภาทนายความ  เพื่อขอคำปรึกษาแนะนำ  น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนถูกต้องที่สุด การปรึกษาทนายอาสา ไม่มีค่าใช้จ่าย  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 25 ธ.ค. 2565, 10:20

ตอบความคิดเห็นที่ 3

ขออภัย ตอบหลายครั้ง ตอนแรกนึกว่ากรอกไม่ผ่านค่ะ

โดยคุณ พี่ศรี 23 ธ.ค. 2565, 22:16

ความคิดเห็นที่ 2

แต่ขอบคุณมากค่ะ ที่ตอบและให้ความรู้ มี ตย.ฎีกา แต่ขออธิบายของเคสดิฉันเพิ่มเติมค่ะ


คือดิฉันไม่ได้ถูกฟ้องล้มละลาย หรือเกี่ยวข้องกับหนี้ที่โดนฟ้องล้มค่ะ แค่สินทรัพย์บ้านที่ติดจำนอง ที่โดนเอาไปขายทอดตลาดให้ที่โดนฟ้องล้มละลาย ดิฉันเป็นญาติที่ช่วยไปเป็นผู้กู้ร่วม เลยกังวลว่า ในเมื่อบ้านขายทอดตลาด ขายได้ต่ำกว่ามูลค่าจริง แบงก์ที่ทำสินเชื่อผ่อนไว้จะมาฟ้องดิฉันเอาส่วนต่างหรือไม่ เพราะว่าคนที่ล้มละลายก็รวมชำระหนี้แล้วก็ยังไม่เท่ากับยอดบ้านจำนองขายทอดตลาดไป แล้วคนที่ล้มละลายก็ติดล้ม 3 ปี ก็จะหลุดหนี้ทุกอย่าง ส่วนดิฉันจะโดนฟ้องส่วนต่างของบ้านหรือไม่คะ กังวลกลัวจะโดนฟ้อง หรือหลัง 3 ปี หรือผ่านไปหลายๆปี แบงก์จะมาฟ้องส่วนต่างจากดิฉัน


ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ พี่ศรี 23 ธ.ค. 2565, 21:58

ความคิดเห็นที่ 1

ลูกหนี้ร่วม

  การเป็นผู้กู้ร่วม  ก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วม  เมื่อถูกฟ้องล้มละลาย  ก็ต้องเป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งผู้กู้และผู้กู้ร่วม
ถ้าถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด  ควรปฏิบัติตาม พรบ.ล้มละลายฯ ม.30 (1)  ภายใน 24 ชม. ต้องไปสาบานตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ยื่นคำชี้แจงตามแบบพิมพ์ ว่า ได้มีหุ้นส่วนกับผู้ใดหรือไม่  ถ้ามีให้ระบุชื่อที่อยู่...ของหุ้นส่วน  (2) ภายใน 7 วันต้องไปชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สินตามแบบพิมพ์  แสดงเหตุผลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ฯ แจ้งรายละอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน  ทรัพย์สินของคู่สมรส...ถ้าไม่แจ้งตาม ม.30 จะมีโทษตาม ม.163  คือปรับไม่เกินสองแสนบาท จำคุกไม่เกินสองปี... ถ้ามีการแจ้งตามงื่อนไข ม.30 คงได้รับการปลดจากบุคคลล้มละลาย ภายใน 3 ปี ตาม ม.81/1  ......คำสั่งปลดจากบุคคลล้มละลาย ทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนึ้ทั้งปวง เว้นแต่ หนี้ภาษีอากร หรือทุจริตฉ้อโกง ตาม ม.77(1) (2)
  ดังนั้นเรื่องบ้านที่ติดจำนอง  จะดำเนินการอย่างไร ต่อไป  เมื่อปฏิบัติตาม ม.30 ครบถ้วนแล้ว (ถือว่าสุจริต) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดการทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายได้เอง และคงได้รับการปลดจากบุคคลล้มละลาย ภายใน 3 ปีโดยปลอดจากหนี้สินทั้งปวง...ถ้าทำการโดยไม่สุจริต  อาจขยายเวลาการปลดล้มละลาย เป็น 10 ปี...

แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง

  ฎีกาที่ 1349/2550

จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์แยกเป็นต้นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 187,093 บาท และโจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระรวม 10 งวด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยอมให้คิดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม การที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว กรณีจึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งโจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้
  ฎีกาที่  4797/2553
ก่อนถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย
 

 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 23 ธ.ค. 2565, 11:48

แสดงความเห็น