WebBoard :บังคับคดี|คำประกันเงินกู้ กยศ.

คำประกันเงินกู้ กยศ.

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

คำประกันเงินกู้ กยศ.

  • 753
  • 2
  • post on 30 ก.ย. 2565, 06:09

ภรรยาไม่มีเงินได้ไปค้ำประกันเงินกู้ กยศ.ให้ลูกพี่ลูกน้องโดยที่สามีไม่รู้เรื่องมารู้ตอนมีจดหมายมาที่บ้านว่าผู้กู้ไม่จ่ายยอดหนี้ตามกำหนดคือไม่เคยจ่ายเลยซักงวด กรณีถูกหมายศาลเราสามารถทำอย่างไร แล้วตรงส่วนนี้ถ้าถึงกรณีต้องสืบทรัพย์จะรวมถึงทรัพย์ในส่วนของสามีที่จดทะเบียนสมรสหรือไม่ครับ แล้วมีแนวแก้ไขเรื่องนี้อย่างไรตอนนี้ ผู้กู้ไม่ถูกกับผู้ค้ำประกันด้วยครับ

โดยคุณ PManeevong (49.231.xxx.xxx) 30 ก.ย. 2565, 06:09

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

แม้ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและมีการขายทอดตลาดจะเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านกับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้คัดค้านคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เพราะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีจากสินสมรสได้เพียงในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เท่านั้น มิอาจกระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังนั้น ปัญหาว่าหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีต่อโจทก์เป็นหนี้ร่วมโดยผู้คัดค้านได้ให้สัตยาบันหรือมีหนังสือให้ความยินยอมดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะวินิจฉัยไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏในคำฟ้อง คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำขอยึดทรัพย์ระบุว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลย กรณีจึงยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลว่าเป็นหนี้ร่วมตามที่โจทก์กล่าวอ้างเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดกึ่งหนึ่งจ่ายให้แก่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมไปได้ การที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสและหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ร่วม ไม่ทำให้การดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์กล่าวอ้าง
 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 30 ก.ย. 2565, 13:10

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ฎีกาที่  7890/2555 ครับ


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 30 ก.ย. 2565, 13:11

ความคิดเห็นที่ 1

การกู้ยืมเงิน และการค้ำประกัน กยศ.


  ถ้าทำสัญญาฯในปี 2564  ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน   แต่ถ้ากู้ยืมเงินก่อน ปี 2564   ผู้ค้ำประกัน คงต้องรับผิดตามสัญญานั้น  เมื่อผู้ค้ำประกันได้รับหมายฯ  ควรไปตามหมายนั้น เพื่อให้มีโอกาสได้เจรจาขอผ่อนผันการชำระหนี้ ที่ผ่อนจำนวนน้อยแต่ผ่อนส่งหลายปี   และไปใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเงินคืนจากผู้กู้ได้....แต่ถ้าไม่ไปตามหมายนัด    เจ้าหนี้ ก็มีช่องทางขอให้ศาลพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้(การขาดนัด) ผลก็คือ ศาลคงให้ผู้ค้ำประกันใช้หนี้ตามที่ถูกฟ้อง   และมีหมายบังคับให้ใช้หนี้ตามที่ถูกฟ้อง ซึ่งคงเป็นเงินก้อนโตพอสมควร  ถ้าเพิกเฉยไม่ใช้หนี้ ตามหมายบังคับ  สุดท้ายคงมีการบังคับคดี โดยการยึดทรัพย์ของผู้ค้ำประกัน ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ได้  ถ้าปล่อยไว้จนให้มีการบังคับคดี คงแก้ปัญหาได้ยากยิ่ง  ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจ จงไปตามหมายนัด ขอเจรจาผ่อนใช้หนี้ไปก่อน....แม้ผู้ค้ำประกันไม่ถูกกันกับผู้กู้   ก็ปล่อยไปก่อน  ต้องไปศาลแก้ปัญหาก่อน(โดยการขอผ่อนใช้หนี้ และมาไล่เบี้ยจากผู้กู้ในภายหลังได้) เรื่องอื่นค่อยว่ากันภายหลัง


  การบังคับคดี  ก็สามารถบังคับคดีจากผู้ค้ำประกันได้  ถ้ามีสามีที่จดทะเบียบนสมรส  และมีสินสมรส  ก็สามารถยึดทรัพย์สินของคู่สมรสไปขายฯได้  สามีก็มีสิทธิเพียงขอกันส่วนของตนกึ่งหนึ่ง  เช่น ถ้ายึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสไปขายได้ 2 แสนบาท  สามีก็ขอกันส่วนของตนไว้ได้ 1 แสนบาท  อีก 1 แสนบาทก็นำไปใช้หนี้่ตามที่ถูกฟ้อง  แต่สามีจะห้ามยึดทรัพย์อันเป็นสินสมรสไปขายไม่ได้  ดังนั้นการไปเจรจาขอผ่อนใช้หนี้ คือทางออกที่ดีที่สุด  เรื่องไม่กินเส้นกับผู้กู้ก็กล้ำกลืนปล่อยไปก่อน   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 30 ก.ย. 2565, 13:09

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

โดยคุณ PManeevong 30 ก.ย. 2565, 19:05

ตอบความคิดเห็นที่ 1

แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง


     ฎีกาที่ 7890/2555


  

 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 30 ก.ย. 2565, 13:10

แสดงความเห็น