WebBoard :บังคับคดี|แม่ไปเซ็นค้ำประกันไว้

แม่ไปเซ็นค้ำประกันไว้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

แม่ไปเซ็นค้ำประกันไว้

  • 446
  • 2
  • post on 8 ส.ค. 2563, 18:11

สวัสดีทีมงานทนายคลายทุกข์ครับ


คือคุณแม่ของผมได้ไปเซ็นค้ำประกันให้เพื่อนคนหนึ่งเมื่อแปดปีก่อนโดยไม่มีใครในครอบครัวทราบ

เพื่อนคนที่ว่าเสียชีวิตไปเมื่อสี่ปีที่แล้ว


เดือนนี้มีจดหมายจากธนาคารว่าคนที่กู้เงินไปผิดนัดชำระหนี้ และธนาคารต้องการให้แม่ผมจ่ายหนี้คืนจำนวนเงินประมาณสองแสนบาทในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี


ตอนนี้แม่ผมเป็นอัลไซเมอร์ ไม่สามารถเซ็นชื่อ สื่อสารไม่ได้ ให้รายละเอียดใดๆเกี่ยวกับสัญญากู้เงิน/ค้ำประกันไม่ได้ และผมไม่สามารถติดต่อลูกๆของเพื่อนแม่คนนี้ได้ (ไม่ยอมรับโทรศัพท์)


คำถามก็คือ


1. พอจะทราบไหมครับว่า นานแค่ไหนครับกว่าธนาคารจะฟ้อง จนถึงสิ้นสุดกระบวนการทางกฎหมาย (กลัวว่าถ้าสุดท้ายธนาคารบังคับทายาทคนที่กู้ให้ชำระหนี้ไม่ได้ แล้วแม่ผมต้องเป็นคนจ่าย ดอกเบี้ยจะบานจนไม่คุ้มเท่าไปจ่ายเลย)


2. สำหรับในกรณีนี้ ไม่ทราบว่ามีความจำเป็นต้องไปทำเรื่องเป็นผู้พิทักษ์ให้แม่ผมหรือไม่ครับ


3. สมมติว่าถ้าผมพิสูจน์ได้ว่าแม่ผมเป็นอัลไซเมอร์แล้วตั้งแต่ก่อนเซ็นค้ำประกัน การค้ำประกันนี้จะเป็นโมฆะหรือไม่ โดยมีหลักฐานเป็นประวัติคนไข้ / การจ่ายยาจากโรงพยาบาล


4. สืบเนื่องจากข้อสาม ถ้าหากว่าเป็นโมฆะ แต่หากเมื่อแปดปีก่อนแม่ผมเริ่มไปหาหมอเนื่องจากอาการหลงลืมอันเป็นผลจากโรคอัลไซเมอร์ แต่ตอนนั้นยังไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ การค้ำประกันจะยังคงเป็นโมฆะหรื่อไม่


ขอบคุณครับ

โดยคุณ daedsidog (172.68.xxx.xxx) 8 ส.ค. 2563, 18:11

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

การค้ำประกัน


1. พอจะทราบไหมครับว่า นานแค่ไหนครับกว่าธนาคารจะฟ้อง จนถึงสิ้นสุดกระบวนการทางกฎหมาย (กลัวว่าถ้าสุดท้ายธนาคารบังคับทายาทคนที่กู้ให้ชำระหนี้ไม่ได้ แล้วแม่ผมต้องเป็นคนจ่าย ดอกเบี้ยจะบานจนไม่คุ้มเท่าไปจ่ายเลย)

ตอบ   โดยหลัก  คงต้องฟ้องภายในอายุความ 10 ปี ครับ

2. สำหรับในกรณีนี้ ไม่ทราบว่ามีความจำเป็นต้องไปทำเรื่องเป็นผู้พิทักษ์ให้แม่ผมหรือไม่ครับ

ตอบ...ถ้าสามารถทำได้ก็มีประโยชน์  เพราะสามารถจัดการเรื่องต่างๆแทนแม่ได้..


3. สมมติว่าถ้าผมพิสูจน์ได้ว่าแม่ผมเป็นอัลไซเมอร์แล้วตั้งแต่ก่อนเซ็นค้ำประกัน การค้ำประกันนี้จะเป็นโมฆะหรือไม่ โดยมีหลักฐานเป็นประวัติคนไข้ / การจ่ายยาจากโรงพยาบาล

ตอบ...สามารถยกเป็นข้อต่อสู้ได้  แต่ดูแล้วค่อนข้างลำบาก ครับ


4. สืบเนื่องจากข้อสาม ถ้าหากว่าเป็นโมฆะ แต่หากเมื่อแปดปีก่อนแม่ผมเริ่มไปหาหมอเนื่องจากอาการหลงลืมอันเป็นผลจากโรคอัลไซเมอร์ แต่ตอนนั้นยังไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ การค้ำประกันจะยังคงเป็นโมฆะหรื่อไม่

ตอบ...ถ้าไปค้ำประกันก่อนมีใบรับรองแพทย์ว่ามีโรคฯ  ข้อต่อสู้คงมีน้ำหนักน้อย


(ต่อเนื่อง)

- ดอกเบี้ยผิดนัด คิดเพิ่มทุกครั้งที่ไม่มีการจ่ายค่างวดใช่หรือไม่ (เพิ่มทุกเดือน?)

ตอบ..โดยหลักดอกเบี้ยผิดนัดจะคิดร้อยละ 7.5 ต่อปี ( ปพพ. ม. 224)

- กฎหมายใหม่ที่ห้ามอายัดทรัพย์ผู้ค้ำก่อนที่จะไปอายัดผู้กู้ไม่มีผลต่อสัญญาที่ทำไว้ก่อนปี 2557  เพราะฉะนั้นการไปจ่ายให้เร็วที่สุดน่าจะเป็นประโยชน์ต่อแม่ผมมากกว่ารอให้ศาลฟ้องใช่ไหมครับ เพราะดูแล้วทายาทผู้กู้จงใจที่จะหนีหนี้

ตอบ...หลักการใหม่ คือเมื่อลูกหนี้ผิดนัด  เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวผู้ค้ำฯภายใน 60 วัน    ถ้าไม่บอก กล่าวฯ ผู้ค้ำฯจะหลุดพ้นความรับผิดในดอกเบี้ย ค่าสินไหมฯ หลังจาก 60 วันนั้น ( ปพพ. ม.686) แต่หนี้เงินต้นคงยังต้องรับผิดอยู่....และหลักการใหม่คือ ถ้าเจ้าหนี้ เรียกร้องให้ผู้ค้ำฯ รับผิด  ผู้ค้ำฯ ขอให้เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้ก่อนได้ ( ม.688) ถ้าการเรียกร้องจากลูกหนี้ไม่เป็นการยาก เจ้าหนี้ต้องเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน (ม.689) ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกัน ก็ต้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์นั้นก่อน ( ม.690) เพราะผู้ค้ำฯ ไม่ใช่ลูกหนี้ร่วม  แต่อาจจะมีปัญหาถ้าไปทำสัญญาค้ำประกันก่อนปี 2558


- ระหว่างการทำเรื่องผู้พิทักษ์แล้วไปจ่ายในนามแม่ของผม กับการนำเงินตัวเองไปจ่าย อย่างไหนจะดีกว่ากันหรือครับ

ตอบ...(ความเห็น)  ควรใช้การเจรจากับเจ้าหนี้ ขอใช้หนี้ ที่แม่ค้ำประกัน  และไปฟ้องไล่เบี้ยจากทายาท หรือกองมรดกของลูกหนี้  


- มีอะไรที่ผมพอจะทำได้บ้างเพื่อให้ทายาทของผู้กู้จ่ายเงินที่เหลือนี้บ้างครับ

ตอบ...เมื่อใช้หนี้ ก็ฟ้องทายาท หรือ กองมรดกของทายาท ให้รับผิด แต่วันเวลาผ่านมาถึง 4 ปี ก็ค่อนข้างลำบากพอสมควร...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 9 ส.ค. 2563, 07:59

ความคิดเห็นที่ 1

เพิ่มเติมครับ


- ดอกเบี้ยผิดนัด คิดเพิ่มทุกครั้งที่ไม่มีการจ่ายค่างวดใช่หรือไม่ (เพิ่มทุกเดือน?)

- กฎหมายใหม่ที่ห้ามอายัดทรัพย์ผู้ค้ำก่อนที่จะไปอายัดผู้กู้ไม่มีผลต่อสัญญาที่ทำไว้ก่อนปี 2557  เพราะฉะนั้นการไปจ่ายให้เร็วที่สุดน่าจะเป็นประโยชน์ต่อแม่ผมมากกว่ารอให้ศาลฟ้องใช่ไหมครับ เพราะดูแล้วทายาทผู้กู้จงใจที่จะหนีหนี้


- ระหว่างการทำเรื่องผู้พิทักษ์แล้วไปจ่ายในนามแม่ของผม กับการนำเงินตัวเองไปจ่าย อย่างไหนจะดีกว่ากันหรือครับ


- มีอะไรที่ผมพอจะทำได้บ้างเพื่อให้ทายาทของผู้กู้จ่ายเงินที่เหลือนี้บ้างครับ

โดยคุณ daedsidog 9 ส.ค. 2563, 04:48

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด