WebBoard :เร่งรัดหนี้|กรณีผู้ค้ำประกันร่วมหลายคน จะรับผิดชอบกันอย่างไรครับ

กรณีผู้ค้ำประกันร่วมหลายคน จะรับผิดชอบกันอย่างไรครับ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

กรณีผู้ค้ำประกันร่วมหลายคน จะรับผิดชอบกันอย่างไรครับ

  • 527
  • 1
  • post on 30 พ.ย. 2563, 21:01

สวัสดีครับ ขอสอบถามหน่อยครับ


ผู้กู้ได้กู้เงินจากธนาคารสองแสนบาท เมื่อปี 2546 มีผู้ค้ำประกันร่วมสี่คน โดยสามคนแรก (จำเลยที่ 1-3) เป็นทายาทของผู้กู้


ต่อมาผู้กู้เสียชีวิต และไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารตามสัญญา ธนาคารจึงฟ้องศาลให้ชำระหนี้ทั้งหมด


ถ้าหากจำเลยที่ 1-4 ไม่ยอมไปตามนัดไกล่เกลี่ย ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป


จำเลยที่ 1-3 มีสถานะทางการเงินที่พร้อมจ่ายบ้าง ไม่พร้อมบ้าง แต่ได้รับมรดกเป็นอสังหาริมทรัพย์เกินจำนวนหนี้

จำเลยที่ 4 มีเงินสดอยู่ในบ์ญชีของธนาคารดังกล่าวเกินจำนวนหนี้


ไม่ทราบว่ากรณีนี้ธนาคารจะบังคับเอาทรัพย์จากจำเลยที่ 1-4 อย่างไร จะไปไล่เบี้ยกับทายาทซึ่งก็คือจำเลยที่ 1-3 ก่อนหรือไม่ครับ แต่สัญญาทำเมื่อปี 46 ซึ่งยังเป็นกฎหมายหนี้เก่า ผมเข้าใจว่าธนาคารมีอำนาจจะเลือกเก็บหนี้จากผู้ค้ำฯตาม "ความสะดวก" ของธนาคาร ซึ่งก็คือจำเลยที่ 4 ก่อน ผมเข้าใจผิดหรือไม่อย่างไรครับ หรือว่าแล้วแต่ศาลตัดสินครับ?

โดยคุณ daedsidog (172.68.xxx.xxx) 30 พ.ย. 2563, 21:01

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ผู้ค้ำประกัน

  ตามกฎหมายที่ยังไม่แก้ไข   ผู้ค้ำประกันจะเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ เมื่อมีการผิดนัดฯ   เจ้าหนี้จึงใช้สิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันคนใดก่อนก็ได้.ที่สะดวก.(คุณเข้าใจถูกต้อง)...เมื่อคุณใช้หนี้  ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยจากทายาทของลูกหนี้ได้ ซึ่งถ้ามีข้อเท็จจริงว่า ทายาทนั้นรับมรดกของลูกหนี้เกินกว่าจำนวนหนี้  ทายาทต้องรับผิดในหนี้ทั้งหมด...เบื้องต้น  ควรใช้การเจรจาขอให้ทายาท รับผิดในหนี้ของผู้ตาย เพราะทายาทต้องรับมรดกไปทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน (มรดกหนี้) การฟ้องไล่เบี้ยสามารถทำได้ แต่คงยุ่งยากพอสมควร...
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ธ.ค. 2563, 09:16

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด