WebBoard :เร่งรัดหนี้|กรณีผู้ค้ำทำสัญญาใหม่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้หรือไม่

กรณีผู้ค้ำทำสัญญาใหม่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

กรณีผู้ค้ำทำสัญญาใหม่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้หรือไม่

  • 608
  • 1
  • post on 23 มิ.ย. 2563, 10:49

ข้อเท็จจริง A=ผู้ให้กู้, B=ผู้กู้, C=ผู้ค้ำประกัน


B กู้ A โดยมี C ค้ำประกัน สัญญาลงวันที่ 8 ส.ค. 59 เป็นสหกรณ์ชำระรายเดือน

B ผิดนัดครั้งแรกเดือนส.ค. 60 เดือนถัดมามาชำระมาเรื่อยๆ แล้วมาไม่จ่ายอีกครั้งยาวเลย ก.ย. 61 เป็นต้นมา ซึ่ง A แจ้งให้ C ทราบ ตั้งแต่เดือนก.ย. 61 ให้C ทราบว่า B ผิดนัดนะ


A เรียกทั้ง BและC มา ในเดือน ก.ย. 62 ปรากฎว่า B ไม่มา C มา แล้วC อ่ะตกลงกับ A ว่า จะชดใช้ให้ ก็ทำการกู้เงินกันใหม่ซึ่งเป็นกองทุนอย่างหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน โดยในวัตถุประสงค์ของกองทุน A ซึ่งเป็นสหกรณ์จะช่วยจ่าย 3% ส่วนภาระที่เหลือ C รับผิด แบบนี้


1. C ใช้สิทธิไล่เบี้ยกับ B ได้หรือไม่

2. สัญญา B ระงับไปแล้ว แต่ปรากฎว่า A ได้เรียกให้ B มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยชำระเป็นรายเดือนๆละ 5 บาท วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้คืนให้ C เพื่อช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน และนำเงินที่เหลือมาหักหนี้ที่ B มีกับ A สหกรณ์ คือ ฌาปนกิจ  แบบนี้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่ A ทำกับ B ขัดกฎหมายหรือไม่

3. ตามหลัก A ต้องทำหนังสือแจ้ง C ผู้ค้ำประกัน ตั้งแต่ผิดนัด ครั้งแรก ส.ค. 60 หรือแจ้งครั้งเดือน ก.ย. 61 เป็นต้นไป เพื่อให้มีสิทธิคิดดอกเบีย+ค่าปรับจากการผิดนัดของ B


รบกวนด้วยครับผม

โดยคุณ สราวุธ (162.158.xxx.xxx) 23 มิ.ย. 2563, 10:49

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การกู้ยืมเงิน

1. C ใช้สิทธิไล่เบี้ยกับ B ได้หรือไม่

ตอบ...ไล่เบี้ยได้ ตาม ปพพ. ม.693...


2. สัญญา B ระงับไปแล้ว แต่ปรากฎว่า A ได้เรียกให้ B มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยชำระเป็นรายเดือนๆละ 5 บาท วัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้คืนให้ C เพื่อช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน และนำเงินที่เหลือมาหักหนี้ที่ B มีกับ A สหกรณ์ คือ ฌาปนกิจ  แบบนี้ หนังสือรับสภาพหนี้ที่ A ทำกับ B ขัดกฎหมายหรือไม่

ตอบ...ก็ไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า  สัญญาของ บี  ระงับไปได้ด้วยเหตุใด (หนี้ระงับ..ต้องมีการใช้หนี้จนหมด  หรือแปลงหนี้ใหม่ หรือยกเลิกสัญญา) อยู่ๆหนี้จะระงับ ไม่น่าจะเป็นไปได้....อย่างไรก็ตามถ้า บี ยินยอมทำสัญญารับสภาพหนี้  สัญญานี้ย่อมบังคับได้  เพราะมีมูลหนี้อยู่จริง   เว้นแต่ เจ้าหนี้ (เอ)จะยกเลิกสัญญาการกู้ยืมเงินนั้นแล้ว

3. ตามหลัก A ต้องทำหนังสือแจ้ง C ผู้ค้ำประกัน ตั้งแต่ผิดนัด ครั้งแรก ส.ค. 60 หรือแจ้งครั้งเดือน ก.ย. 61 เป็นต้นไป เพื่อให้มีสิทธิคิดดอกเบีย+ค่าปรับจากการผิดนัดของ B

ตอบ..เจ้าหนี้ ต้องปฏิบัติ ตาม ปพพ. ม.686 (ที่แก้ไขใหม่)คือ  เมื่อลูกหนี้ผิดนัด  เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำฯ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ถ้าไม่แจ้งฯ  ผู้ค้ำฯย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมฯ  ภายหลังจากพ้นกำหนดเวลา 60 วัน (ปพพ. ม.686 วรรคสอง)ตามข้อเท็จจริง  เจ้าหนี้ต้องแจ้งผู้ค้ำฯ ภายใน 31 ตค.60 (60วันที่ผิดนัด) เมื่อไม่แจ้งฯ ย่อมคิดดอกเบี้ย และค่าสินไหมฯ หลังจาก  31 ตค.31  ไม่ได้  แต่ ความรับผิดก่อนผิดนัด ของผู้ค้ำฯ ก็ยังคงมีอยู่...อย่างไรก็ตาม  เรื่องนี้ เป็นเรื่องทางแพ่ง  ถ้าผู้ค้ำฯ  ไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ก็คงต้องร่วมรับผิด...


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 24 มิ.ย. 2563, 14:56

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด