WebBoard :เร่งรัดหนี้|ศูนย์ดำรงธรรม มีอำนาจหน้าที่ทวงถามหนี้ให้ เจ้าหนี้นอกระบบ หรือเปล่า

ศูนย์ดำรงธรรม มีอำนาจหน้าที่ทวงถามหนี้ให้ เจ้าหนี้นอกระบบ หรือเปล่า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ศูนย์ดำรงธรรม มีอำนาจหน้าที่ทวงถามหนี้ให้ เจ้าหนี้นอกระบบ หรือเปล่า

  • 871
  • 3
  • post on 8 ก.ค. 2562, 12:26

มีเรื่องค้างคาใจเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรม ของจังหวัดๆนึง เรื่องมีอยู่ว่า ผมเป็นข้าราชการ แล้วมีหนี้ดอกจำนวนนึงกับพนักงานของหน่วยงานนึงซึ่งมีศูนย์ดำรงธรรมตั้งอยู่ในนั้นด้วย ก็ยอมรับว่าไม่สามารถจ่ายดอกได้ทุกเดือน แต่ก็จ่ายย้อนหลังให้ แบบทบสองสามเดือนบ้าง สี่เดือนบ้าง จนมาถึงจุดๆนึงที่ไม่สามารถจ่ายได้ และรอโอกาสหาเงินมาปิดยอดทั้งหมด(ปัจจุบันจ่ายหมดแล้ว) ผมก็หยุดจ่ายไป เจ้าหนี้ก็มาหาที่ทำงานบ้าง ผมก็ผลัดไปบอกว่าตอนนี้ยังไม่มี ให้รอหน่อย ซึ่งยอมรับว่ามันก็กินระยะเวลาไปพอสมควร ระหว่างรั้รเจ้าหนี้ก็ยังเข้ามาที่ทำงานอยู่เรื่อยๆ ผมก็คุยกับเค้าไปตามความเป็นจริงว่าอยากให้เค้ารออีกนิด  จนวันนึงมีหนังสือจากศูนย์ดำรงธรรม ถึง หัวหน้างาน ให้ที่ทำงานตรวจสอบผม และให้ดำเนินการจ่ายหนี้ ในเอกสารที่แนบมามีใจความว่า ศูนย์ดำรงธรรม ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าหนี้ผม และทางศูนย์ดำรงธรรมก็ได้ตรวจสอบแล้วว่าผมเป็นหนี้จริง (ไม่มีหนังสือสัญญาอะไรเลย เพียงแต่ผมวางหัวทะเบียนรถยนต์ไว้ให้ และทะเบียนรถก็เป็นชื่อของภรรยา) ต้องบอกเลยครับว่า ข้อความในหนังสือที่ได้อ้างว่าตรวจสอบแล้วนั้น  ข้อมูลที่เจ้าหนี้ระบุลงไปในหนังสือร้องเรียน ไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย ตรงอย่างเดียวคือผมเป็นหนี้โดยการวางหัวทะเบียนรถยนต์ไว้ ส่วนวันเวลา เหตุการณ์ต่างๆที่อ้างถึง ไม่ตรงความเป็นจริงเลย (เค้าบอกมาว่าตรวจสอบคำร้องแล้วว่าจริงเป็นไปตามเนื้อความที่ร้องเรียน)หลังจากนั้น ก็มีหนังสือทวงถามมายังที่ทำงานผมอีกครั้ง จนที่ทำงานเรียกเจ้าหนี้และผมมาพูดคุย ซึ่งผมก็ไม่ได้ปฏิเสธความเป็นหนี้แต่อย่างใด และปัจจุบันผมก็ได้ปิดยอดหนี้ไปหมดแล้ว จนมาวันนี้ (วันที่ตั้งกระทู้) มีหนังสือจากหน่วยเหนือขึ้นไป ส่งมายังที่ทำงาน ว่ามีหนังสือจากศูนย์ดำรงธรรม ให้ติดตามหนี้ของผม (ผมก็เพิ่งรู้ว่าส่งหนังสือถึงหน่วยเหนือของผมด้วย) ซึ่งผมก็กำลังจะส่งเอกสารหลักฐานชี้แจงไปว่าได้จ่ายหมดแล้ว ..... ยอมรับว่าการเป็นหนี้ ก็ต้องจ่ายหนี้ แต่ที่ค้างคาใจก็คือ การปฏิบัติของศูนย์ดำรงธรรม เป็นไปโดยอำนาจหน้าที่หรือเปล่าครับ เป็นการทวงถามหนี้โดยผิดกฏหมายหรือเปล่าครับ และการดำเนินการทวงถามหนี้ให้กับบุคคลใกล้ชิดกับผู้มีตำแหน่งในนั้นทั้งที่รู้ว่าเค้าปล่อยเงินกู้นอกระบบ ถูกต้องหรือเปล่าครับ และการที่บอกว่าตรวจสอบแล้วว่าข้อมูลที่ร้องเรียนเป็นความจริงนั้นผมจึงค้างคาใจการปฏิบัติของศูนย์ดำรงธรรมมากๆครับ เพราะเป็นเรื่องที่ผมเกี่ยวข้องเต็ม 100 จึงรู้ดีว่าอะไรคือข้อมูลจริงหรือไม่จริง ....การตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพียงแค่ต้องการทราบข้อมูล และแชร์ประสบการณ์ที่พบเจอครับมันอาจจะเป็นเรื่องที่ผมคิดไปเอง แต่ก็อาจเป็นประโยชน์สำหรับบางท่าน ที่จะได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ ศุนย์ดำรงธรรม เพื่อจะได้เข้าไปตามช่องทางต่างๆได้ถูกต้อง และได้ประโยชน์กับตัวเองในร้องเรียนขอความเป็นธรรม ส่วนตัวก็ยังเชื่อว่าศุนย์ดำรงธรรมสามารถบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ครับ สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ครับ

โดยคุณ tonpanna (162.158.xxx.xxx) 8 ก.ค. 2562, 12:26

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

ศูนย์ดำรงธรรมไม่มีหน้าที่ทวงหนี้ให้ กรณีเจ้าหนี้นอกระบบ อาจเป็นการเรียกเข้ามาไกล่เกลี่ยกัน หรือไม่คุณก็ได้ร้องเรียนที่จังหวัดอื่นดูก่อนได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 25 ก.ค. 2562, 11:19

ความคิดเห็นที่ 2

ขอขอบพระคุณ คุณมโนธรรม ครับ
โดยคุณ tonpanna 11 ก.ค. 2562, 13:45

ความคิดเห็นที่ 1

เจ้าหน้าที่รัฐประพฤติมิชอบ...


 ศูนย์ดำรงธรรมฯ  ก็มีหน้าที่เพียงเป็นคนกล่าง ในการไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท  เพื่อให้ยุติลงได้อย่างสันติ  ถ้าคู่กรณียินยอมพร้อมใจตกลงกันอย่างไร (ที่ชอบด้วยกฎหมาย) ก็ต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอม  เพื่อให้คู่กรณีถือไว้ ฝ่ายละฉบับ  เพื่อปฏิบัติตามสัญญาฯ นั้น  ศูนย์ฯไม่มีอำนาจหน้าที่ ที่จะไปทวงหนี้ใคร  แม้ในสัญญาจะระบุว่ามีการเป็นหนี้  และลูกหนี้ยินยอมชดใช้  ก็ต้องให้คู่กรณีไปทวงถามกันเอาเอง  ถ้าลูกหนี้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาฯ  เจ้าหนี้ต้องไปฟ้องร้องทางแพ่งเอาเองเท่านั้น....ถ้าเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ  ไปทวงหนี้   ถือว่ามีความผิด ตามพรบ.ทวงถามหนี้  เพราะไม่ใช่เจ้าหนี้โดยตรง และกระทำการที่มีกฎหมายห้ามไว้ชัดเจน คือห้ามเจ้าหน้าที่รัฐ ทวงหนี้ หรือสนับสนุบการทวงหนี้ ตาม  ม.14 (1) (2)  (พรบ.การทวงถามหนี้ฯ) ซึ่งมีโทษตาม ม. 42 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...และมีความผิดฐาน เจ้าพนักงาน ปฏิบัติหน้าทีั่โดยมิชอบ  ตาม ปอ. ม.157 มีโทษจำคุก  1-10 ปี ปรับ 20,000  บาท ถึง 200,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ควรปรึกษาทนายความ เพื่อดำเนินคดี เพื่อให้ศูนย์ฯ ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง และบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง  ซึ่งศูนย์ฯทั่วประเทศ เท่าที่ทราบ เป็นที่พึ่งได้จริง...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 10 ก.ค. 2562, 13:06

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด