WebBoard :เร่งรัดหนี้|ปรึกษา ค้ำประกันรถยนต์ แต่ผู้ซื้อไม่ส่งต่อ ทำอย่างไรดีครับ

ปรึกษา ค้ำประกันรถยนต์ แต่ผู้ซื้อไม่ส่งต่อ ทำอย่างไรดีครับ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ปรึกษา ค้ำประกันรถยนต์ แต่ผู้ซื้อไม่ส่งต่อ ทำอย่างไรดีครับ

  • 415
  • 2
  • post on 1 มี.ค. 2562, 16:55

เรื่องการค้ำประกันรถ คือ

ชื่อผู้เช่าซื้อ เป็นชื่อแม่ของแฟน ส่วนคนผ่อนเป็นพี่ชายของแฟน และแฟนผมเป็นคนค้ำประกันให้

ต่อมาพี่ชายของแฟน ส่งไม่ไหว ขาดส่ง 3 เดือนเลยตัดสินใจ ปล่อยให้ บ.เช่ายืม มายึด ก่อนปล่อยยึด พี่ชายแฟน ไปโรงพักบันทึกประจำวันว่าจะมีการคืนรถเเละแจ้งว่าสภาพรถอยู่ในสภาพปกดี

จากนั้นก็มีหนังสือแจ้งเก็บค่าส่วนต่าง 290,000 บาท ที่ต้องจ่ายส่งมาให้ แฟนผมซึ่งเป็นคนค้ำประกันก็เลยกังวล เพราะพี่ชาย ก็มีรายได้ในเเต่ละเดือนที่ไม่มั่นคง เลยอยากจะถามว่า

1. ก่อนมีหมายศาลแจ้งมาให้ไปขึ้นศาล ทางลูกหนี้ หรือ ผู้ค้ำประกัน สามารถเจรจาต่อรองกับทาง บ. เช่าซื้อก่อนได้หรือไม่ ในส่วนของการลดหย่อน ค่าส่วนต่างที่ถูกเรียกเก็บ
2. เมื่อมีใบแจ้งหนี้มา หลังจากนั้นเป็นเวลาเท่าไร ถึงจะมีหมายศาล แจ้งมา เพื่อให้ไปขึ้นศาล
3. หากไม่มาตามศาลนัด จะมีผลอย่างไรบ้างกับลูกหนี้ และ ผู้ค้ำประกัน
4. วันไปขึ้นศาล ใครต้องไปด้วยบ้างครับ ทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันใช่หรือไม่ ถ้าลูกหนี้ไม่สามารถไปได้ไป ต้องทำอย่างไร
5. คดีที่ทาง บ เช่าซื้อ ฟ้องเป็น คดีแพ่ง หรือ อาญา
6. โดยปกติการไกล่เกลี่ยจะจบในชั้นศาลที่เท่าไหร่
7. ในการไกล่เกลี่ยในชั้นศาล สามารถลดหย่อนค่าส่วนต่างได้จริงใช่ไหมครับ
8. โดยปกติ หลังจากการไกล่เกลี่ย จะสามารถปรับลดค่าส่วนต่างได้ไปเท่าไร และก็ระยะเวลาในการผ่อนชำระเป็นกี่เดือน
9. ค่าใช้จ่ายในการขึ้นศาล เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

โดยคุณ THEES (172.68.xxx.xxx) 1 มี.ค. 2562, 16:55

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

คำถามที่คัดลอกมาไม่ขึ้น  มีเพียงคำตอบ  ก็ดูเอาเองว่า ตอบในข้อไหน 1-2-3-4-5-6-7-8-9 ตามลำไดับ..
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 2 มี.ค. 2562, 16:03

ความคิดเห็นที่ 1

การเช่าซื้อ/การค้ำประกัน



ตอบ...สามารถเจรจาต่อรองกันได้เสมอ  เมื่อตกลงกันอย่างไร ควรทำบันทึกข้อตกลงไว้เป็นหลักฐาน  เก็บไว้ฝ่ายละ 1 ชุด...


ตอบ...คงไปกำหนดแน่นอนไม่ได้ อาจ จะ  1-2 เดือน  หรือ 9 ปีเศษก็ได้  เพราะการฟ้องเรียกค่าส่วนต่างมีอายุความถึง 10 ปี  แต่ยิ่งนานวัน ดอกเบี้ยย่อมยิ่งเพิ่มพูนขึ้น เป็นเงาตามตัว...


ตอบ...ถ้าไม่ได้ตามนัด  ถือว่าขาดนัด  โจทก์คงให้มีการพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว  ผลก็คือต้องแพ้คดี   และคงส่งคำบังคับ(คำพิพากษา มาถึงบ้าน ให้ไปใช้หนี้  ตามที่ถูกฟ้อง)

ตอบ..ลูกหนี้ทุกคนควรไปพร้อมกัน  ถ้าไปไม่ได้  ก็ทำใบมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแทนได้  ดาวน์โหลดใบมอบอำนาจได้ ใน เน็ต   ถ้ามอบอำนาจ ควรบอกเงื่อนไข ผู้รับมอบอำนาจว่า  จะให้เขาเจรจาอย่างไร  จะผ่อนได้เดือนละเท่าไหร่  เป็นต้น


ตอบ..เป็นคดี แพ่ง..


ตอบ...คงสรุปไม่ได้  ถ้าไม่ยอมลดราวาศอกกัน  อาจลากยาวถึงชั้นฎีกา  แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ การฎีกา  แทบทำไม่ได้  ดังนั้นคงจบลงเพียงชั้นอุทธรณ์..

ตอบ...ก็มีกรณีตัวอย่างมากมาย  ที่เจ้าหนี้ยอมลดหนี้ลง  ถ้ามองดูแล้ว ลูกหนี้ ไม่มีทรัพย์สินใดๆให้ยึดได้ แต่ถ้าลูกหนี้ มีทรัพย์สินพอให้ยึดได้  การเจรจาคงลำบาก

ตอบ...ตอบไม่ได้  อยู่ที่การเจราจาตกลงกัน  เช่น หนี้ 290,000  บาท ลดเหลือ 200,000 บาท แต่ให้จ่ายในงวดเดียว  หรือ ให้จ่ายก่อน 50,000  บาท  และส่งอีกงวดละ 10,000  บาท ภายใน 12 งวด  แต่งวดสุดท้ายต้องจ่ายทั้งหมดที่ยังคงเหลือ   เป็นต้น...ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้  ก็ต้องให้ศาลพิพากษาไปตามรูปคดี  ถ้าไม่ใช้หนี้ตามคำพิพากษา   ก็คงถูกยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้...

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 2 มี.ค. 2562, 16:01

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด