WebBoard :กฎหมาย|การเรียกค่าเสียหาย

การเรียกค่าเสียหาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การเรียกค่าเสียหาย

  • 231
  • 1
  • post on 25 ก.ย. 2566, 19:55

กรณีที่เราประสบอุบัติเหตุและในวันที่เกิดเหตุเราไปโดนทรัพย์สินเสียหาย (ประปา) และได้ไปลงบันทึกประจวำันแล้ว และทาง จนท.ตำรวจได้ปรับไป 1,000.- บาท ซึ่งในวันนั้น จนท. แจ้งว่าจากนี้จะมีหนังสือจากทางประปาเรียกเก็บค่าเสียหาย และต่อมามีหนังสือจากทางแขวงว่าเราไปชนเสาไฟทางซึ่ง จนท.แขวงแจ้งว่ายึดประจำวันเป็นหลัก โดยอ้างอิงจากวันที่เกิดเหตุ แต่ไม่มีภาพสถานที่เกิดเหตุว่าเราเป็นผู้กระทำ ซึ่งระยะห่างที่เสาถูกชนถึงหลักที่เราประสบเหตุห่างกันประมาณ 100 เมตร (มีเสาไฟทางอีก 2 ต้น) ซึ่งถ้าเราชนเสารถเราไม่น่าจะวิ่งต่อได้ถึง 100 เมตร เรามีสิทธิ์โต้แย้งอะไรได้บ้าง ค่าเสียหายที่เรียกเก็บครึ่งแสน

โดยคุณ nuwanp (xxx) 25 ก.ย. 2566, 19:55

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การเรียกร้องค่าเสียหาย


   หลักการตาม ปพพ. ม.420  "ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเลิน " ทำให้เกิดความเสียต้องรับผิด...ถ้าคุณมั่นใจว่าไม่ได้จงใจหรือไม่ได้ประมาทเลินเล่อ จนเกิดความเสียหาย ก็สามารถโต้แย้งโดยไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายได้  ถ้ามีการเจรจาก็ลองเจรจา ก็ลองต่อรองดู ถ้าเรียกเป็นแสน ต่อรอง เหลือ 1-2 หมื่นบาท ก็จ่ายไปเถอะถือว่าฟาดเคราะห์  ดีกว่ามีคดีฟ้องร้องกัน แต่..ถ้ามมั่นใจ ว่าไม่ผิด ไม่จ่ายเลยก็ได้   แต่เรื่องคงไม่จบลงง่ายๆ  คงมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งแน่นอน  คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อสู้ให้ชัดเจนว่า ไม่ต้องรับผิด  โดยอ้างเหตุผลที่รับฟังได้ เช่น บริเวณที่เสียหายอยู่ห่างเป็น 100 เมตร  หรือเหตุผลอื่นที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้  แต่..ถ้าถูกฟ้องไม่สนใจไม่ยื่นคำให้การต่อสู้ไว้  กฎหมายถือว่าสละสิทธิ์ในการต่อสู้  จะนำพยานหลักฐานมาต่อสู้หักล้างไม่ได้ หรือบางรายไม่ยอมไปศาลเลย  โจทก์ยิ่งชอบ  เพราะเข้าทางเขาพอดี  เขาสามารถให้มีกาารพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้  แน่นอนคงแพ้คดี   ถ้าไม่จ่ายฯ จะถูกยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ตามคำพิพากษาได้ ก็มีข่าวอยู่เสมอว่า ทำไมอยู่ๆ จึงมีหมายมายึดทรัพย์  ทั้งที่ไม่เคยไปศาล เพราะเขามีวิธีพิจารณาลับหลังจำเลยได้ (การขาดนัด) ดังนั้นการยื่นคำให้การต่อสู้ และไปศาลตามนัดเป็นสิ่งสำคัญมาก  ไปที่ศาลขอปรึกษาทนายอาสาให้ช่วยเหลือได้ ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 26 ก.ย. 2566, 10:33

แสดงความเห็น