WebBoard :กฎหมาย|สร้างบนที่ดินของยาย แต่ยายโอนบ้านและที่ดินให้หลาน โดยฝ่ายเราไม่รู้

สร้างบนที่ดินของยาย แต่ยายโอนบ้านและที่ดินให้หลาน โดยฝ่ายเราไม่รู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

สร้างบนที่ดินของยาย แต่ยายโอนบ้านและที่ดินให้หลาน โดยฝ่ายเราไม่รู้

  • 192
  • 2
  • post on 26 ส.ค. 2566, 00:35
คุณยายมีลูก 5 คน แม่ดิฉันเป็นลูกคนที่4 20ปีก่อน ยายได้อนุญาติให้แม่ เข้ามาสร้างบ้านบนที่ดินของยาย ในรั้วบ้านเดียวกับยาย เพื่อให้แม่(ลูกคนที่4) และลูกชายของเขา และคือ น้องชายของดิฉันอยู่ เพราะแม่ดูแลยาย อยู่ตรงนั้นมา ถึงปี 55-56โดยประมาณ หลานของยายซึ่งเป็นลูกของป้า(ป้าเป็นลูกคน2) ได้มาขอให้ยายโอนที่ดินให้เป็นชื่อเขาเพื่อที่จะนำไปจำนองกับธนาคาร เพื่อประคองธุรกิจ โดยที่แม่ของดิฉัน(ลูกคนที่4)มาทราบเรื่องราวภายหลังแล้ว และปี 59 ยายเสีย หลังจากนั้น ทางแม่และป้าก็ค่อนข้างจะไม่ค่อยได้ติดต่อกัน ห้องเช่าที่อยู่ในรั้วบ้านยาย ทางป้าก็ไม่มาดูแล ทางแม่ก็ได้แต่ดูแลตามที่เคยช่วยยายดูแลมาก่อนที่ท่านจะป่วยและเสียไป 
ในปี65 มีจดหมายจากกรมบังคับคดี แจ้งห้ามเคลื่อนย้าย เพราะบ้านและที่ดินผืนนี้ถูกยึด และก็ไม่มีการติดต่อมาของป้า 
ในปี66 ทางป้าได้ส่งจดหมายโดยทนาย ว่าให้ระงับการดูแลห้องเช่า จากการให้วาจาไว้ในอดีต และย้ายออกภายใน90วัน 
โดยป้าไม่คิดที่จะ คืนค่าสร้างบ้านใดๆ ให้เลย และในการดูแลห้องเช่าก็ไม่ได้มีเงินเดือนหรือ อะไรให้
เหมือนไล่ไปเฉยๆ แม่ข้าพเจ้าแค่ต้องการ ค่าสร้างบ้านคืน .. 
อยากสอบถามว่ากรณีแบบนี้ สามารถ ทำอย่างไรได้บ้าง ถ้าตัวข้าพเจ้า ต้องการซื้อที่ดินของยาย ไว้เอง ทำได้หรือ ไม่ ?
หรือต้องรอ กรมบังคับคดียึดที่พื้นนี้แล้วไปรอ ซื้อตอนขายทอดตลาด 
หรือ สามารถ ขอขอตกลงกับเจ้าของ คือ หลานของยาย ว่าทางข้าพเจ้าขอปิดเคลียร์ชำระหนี้ให้ และให้ทางนั้นขายให้แก่ข้าพเจ้า ได้หรือ ไม่? 
ขอบคุณคะ
โดยคุณ พลอยไพลิน แสงสันติธรรม (xxx) 26 ส.ค. 2566, 00:35

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แม่ตกลงซื้อที่ดินแปลงหนึ่งให้เป็นชื่อของข้าพเจ้าและพี่สาว  มีสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้าน 1 หลัง แต่ไม่นานเกิดการทะเลาะกันจึงได้ขอให้พี่สาวถอนชื่อออกจากที่ดิน และทำเรื่องโอนที่ดินให้เป็นชื่อข้าพเจ้าทั้งหมด แต่ยกให้เฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ตอนนี้มีปัญหาคือพี่สาวไม่ยอมออกจากทะเบียนบ้าน และเทศบาลไม่สามารถออกเล่มใหม่ได้เพราะพี่สาวเป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้าง และเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน ถ้าฟ้องร้องกันจะมีโอกาสที่จะชนะไหมคะ ไม่สามารถตกลงกันได้ค่ะ 

โดยคุณ กุสุมา 24 ต.ค. 2566, 21:11

ความคิดเห็นที่ 1

ปัญหาที่ดิน


  ยาย...อนุญาตให้แม่ปลูกบ้านบนที่ดิน  แม่ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้าน   เมื่อยายโอนที่ดินให้หลาน  โดยหลัก..หลานย่อมได้ไปเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะบ้านไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน (เพราะยายอนุญาตให้สร้าง)  แต่ ในความจริง  แม่ย่อมอยู่ในฐานะเสียเปรียบ  เพราะการจะพิสูจน์ว่า ยายยินยอมให้ปลูกสร้าง  เป็นเรื่องลำบากมาก  และยิ่งยายมาเสีย  คุณแม่ยิ่งตกอยู่ในฐานะลำบาก...เมื่อนำที่ดินไปจำนอง  และผิดนัดการชำระหนี้  สุดท้ายก็ต้องถูกยึดไปขายทอดตลาด  เพื่อนำเงินไปใช้หนี้จำนอง   แม่จะยื่นคำขอแบ่งเงินจากการขายทอดตลาด ในฐานะเจ้าของบ้าน  ก็พอมีช่องทางทำได้  แต่ก็คงยุ่งยาก  ไม่ต่าง

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 26 ส.ค. 2566, 09:32

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ปัญหาที่ดิน


  ยาย...อนุญาตให้แม่ปลูกบ้านบนที่ดิน  แม่ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในตัวบ้าน   เมื่อยายโอนที่ดินให้หลาน  โดยหลัก..หลานย่อมได้ไปเฉพาะที่ดิน ไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะบ้านไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน (เพราะยายอนุญาตให้สร้าง)  แต่ ในความจริง  แม่ย่อมอยู่ในฐานะเสียเปรียบ  เพราะการจะพิสูจน์ว่า ยายยินยอมให้ปลูกสร้าง  เป็นเรื่องลำบากมาก  และยิ่งยายมาเสีย  คุณแม่ยิ่งตกอยู่ในฐานะลำบาก...เมื่อนำที่ดินไปจำนอง  และผิดนัดการชำระหนี้  สุดท้ายก็ต้องถูกยึดไปขายทอดตลาด  เพื่อนำเงินไปใช้หนี้จำนอง   แม่จะยื่นคำขอแบ่งเงินจากการขายทอดตลาด ในฐานะเจ้าของบ้าน  ก็พอมีช่องทางทำได้  แต่ก็คงยุ่งยาก  ไม่ต่างจากเข็นครกขึ้นภูเขา  คงต้องเจ็บปวดและสูญเสียเงินทองไม่น้อย

   ทางรอด...ในเมื่อมีการยึดที่ดินไปขายทอดตลาด  ขอแนะนำให้ไปติดที่ สนง.บังคับคดี  เพื่อลงทะเบียนของซื้อที่ดินแปลงนี้ (ค่าลงทะเบียนคงเป็นหลักหมื่น) และเข้าประมูลในงวดที่มีการนัดหมาย (คงมีประมาณ 4-5 นัด)  วิธีการที่เขาทำกันอยู่เสมอคือ ไปติดต่อ สถาบันการเงิน  เพื่อขอสินเชื่อมาจ่ายเงินในการประมูลซื้อจากการขายทอดตลาด...ไม่ต้องไปติดต่อ หลานเจ้าของที่ดิน เพื่อเจรจาเรื่องนี้   เพราะจะบาดหมางใจกันเปล่าๆ  ไปติดต่อ สนง.บังคับคดีโดยตรง จะได้ข้อมูลที่ชัดเจน...การขายตลาดในงวดแรก คงมีราคาสูง  งวดหลังๆถัดมา ราคาลดต่ำลงมาก  แต่ถ้าเราไป รอ งวดหลังๆ อาจจะมีคนชิงประมูลไปก่อน เว้นแต่ที่ดินอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะ   อาจจะไม่มีคนมาประมูล  ก็ต้องหาความรู้ในเรื่องนี้เอาเอง...และระเบียบของการประมูลลในการขายทอดตลาดที่ควรรู้คือ  ถ้าเราไปประมูลในราคาสูง(งวดแรก) แต่ถ้าไม่สามารถจ่ายเงินที่ประมูลซื้อได้ตามกำหนด  สนง.บังคับคดี จะนำที่ดินออกประมูลใหม่  ถ้าได้ราคาต่ำกว่าครั้งแรก  เราผู้ประมูลได้ในครั้งแรกต้องรับผิดชอบในค่าส่วนต่างนั้น เช่น เราประมูลได้ในราคา 1 ล้านบาท  แต่หาเงินจ่ายไปทันตามกำหนด เมื่อมีประมูลครั้งหลัง ขายได้เพียง 7 แสนบาท  เราต้องรับผิดค่าส่วนต่าง สามแสนบาทเป็นต้น  ดังนั้นการประมูลราคาในการขายทอดตลาดไม่ใช่เรื่องเล่นๆ  ต้องทราบระเบียบในเรื่องนี้ด้วย และมีทางออกอีกทางหนึ่ง  คือยอมสละ ปล่อยวาง ย้ายบ้านไปหาที่อยู่ใหม่ หรือซื้อบ้าจัดสรรใหม่ ที่มีมากมายทั่วแผ่นดินไทย  ไม่ต้องไปมีคดีฟ้องร้องกับใคร  ทางออกนี้ดีที่สุด  คือ "หนี"  เป็นสุดยอดของกลยุทธ์ในการดำเนินชีวิต   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 26 ส.ค. 2566, 09:33

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด