WebBoard :กฎหมาย|ข้อบังคับและนโยบายของนายจ้าง กับการนำไปใช้ที่แท้จริงคนละอย่าง

ข้อบังคับและนโยบายของนายจ้าง กับการนำไปใช้ที่แท้จริงคนละอย่าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ข้อบังคับและนโยบายของนายจ้าง กับการนำไปใช้ที่แท้จริงคนละอย่าง

  • 270
  • 1
  • post on 15 ส.ค. 2566, 19:24

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

นายจ้าง/ลูกจ้าง


  ชื่อก็บอกแล้วว่า เขาเป็นนายจ้าง  เจ้านายย่อมมีอำนาจเหนือลูกน้อง(ลูกจ้าง) ในทุกมิติ การที่เจ้านายไม่อาจจะทำตามนโยบาย  ก็มีช่องทางทำได้ คือเปิดการเจรจาหาข้อยุติ แต่อำนาจการต่อรองของลูกจ้างมีไม่มาก แม้จะมีช่องทางร้องเรียนไปในสื่อต่างๆ ก็คงช่วยได้เล็กน้อย  ก็ต้องใช้วิธีปรับตัว  ถ้าสุดวิสัยที่จะปรับตัวได้ ก็ต้อง หนี(ลาออก) เพราะกลยุทธ์ในการเอาชนะในทุกสนามรบ แม้จะมีเป็นสิบเป็น ร้อยวิธี แต่สุดท้าย  "หนี" คือสุดยอดกลยุทธ์...ไม่ใช่คำตอบ  แต่เป็นเพียงความเห็น  อาจไม่สวยหรู  แต่ก็นำมาจากความจริงที่พบเห็น  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 16 ส.ค. 2566, 06:48

ตอบความคิดเห็นที่ 1

นายจ้างมีข้อบังคับเรื่องการจ่ายค่าชดเชยพิเศษกรณีย้ายสถานประกอบกิจการและปิดสาขาถาวร นายจ้างเขียนในข้อบังคับว่าบทที่ว่าด้วย การจ่ายเงินชดเชยพิเศษ ในกรณีย้ายสถานประกอบกิจการ


4.1 ในกรณีที่บริษัทย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปสถานที่อื่นของบริษัท บริษัทจะปิดประกาศแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าในที่เปิดเผยของบริษัทที่พนักงานสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 (สามสิบ)วันก่อนย้ายสถานประกอบกิจการและประกาศนั้นต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าพนักงานคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดเมื่อใด

     ในการนี้ถ้าพนักงานคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของพนักงานหรือครอบครัว และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการใหม่ ให้พนักงานมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยการแจ้งต่อบริษัทเป็นหนังสือถายใน 30(สามสิบ)วันนับแต่วันที่ปิดประกาศหรือนับแต่วันที่บริษัทย้ายสถานประกอบกิจการสำหรับกรณีที่บริษัทไม่ได้ปิดประกาศ และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่บริษัทย้ายสถานประกอบกิจการ โดยพนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าชดเชยที่พนักงานพึงมีสิทธฺได้รับตามข้อ 3.1 และในกรณีที่บริษัทไม่ได้ปิดประกาศให้พนักงานทราบล่วงหน้าหรือปิดประกาศน้อยกว่า 30(สามสิบ) วันหรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 30 (สามสิบ) วันสุดท้าย สำหรับพนักงานซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวนเป็นหน่วย


คำถาม


1. บริษัทประกาศชัดเจน ขนาดนี้ แต่ HR ทำกฏหมาย มาตรา 120 คัดค้านสิทธิของพนักงาน เอาพนักงานขึ้นกรมสวัสิการแรงงาน ลากเรื่องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ทั้งที่ข้อบังคับชัดเจน ผมมองว่าหัวหมอกลั่นแกล้ง


2. การบังคับย้ายผมไปทำงาน ณ ที่แห่งใหม่ แต่ผมทำหนังสือแจ้งไปชัดเจนตามสิทธิที่ให้ ก่อน 30 วันและไม่มีการปิดประกาศตามข้อบังคับ สาขาปิดกิจการถาวร 31/07/2566 ผมส่งหนังสือ ไป 1/07/2566 แจ้งว่า 1/08/2566 ผมจะไม่มาทำงานแล้วถือว่า สิ้นสุดสัญญาจ้าง พอวันที่ 11/08/2566 มีจดหมายให้ผมไปรายงานตัว เพราะว่าขาดงานเกิน 3 วันแบบนี้ผิดกฏหมายไหมครับ


3. การบังคับย้ายผมครั้งนี้ มีการลดตำแหน่งผมลงเป็นลายลักษ์อักษร แต่ผมไม่ยอมเซ็นต์รับ เพราะผมแสดงเจตนาไม่ไปแต่ต้นและ ผมไม่ได้ทำความผิดใดๆ เป็นการกลั่นแกล้งผมและบีบให้ผมลาออกทางอ้อมอีกอันนี้ผิดกฏหมายไหมครับ


4. ไหนๆก็มาทุกรูปแบบ ผมจะทำหนังสือถึงท่านประธานเรื่องการออกข้อบังคับที่ดูสวยหรู แต่พอเข้าสถานการณ์จริง คนนำไปใช้เอาเปรียบพนักงานและไม่เป็นธรรม ให้เขาตีความดีไหมครับ


คำตอบคงมีประโยชน์มากสำหรับคนที่เข้ามาอ่านครับ


ขอบคุณครับ




โดยคุณ Prawit18 16 ส.ค. 2566, 08:52

ตอบความคิดเห็นที่ 1

ผมพิมรายละเอียดและแนบรูปข้อความไปถามและตั้งหัวข้อไปครับ มันไม่ขึ้น มันขึ้นแต่หัวข้อไปครับ


โดยคุณ Prawit18 16 ส.ค. 2566, 08:05

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด