WebBoard :กฎหมาย|การไถ่ถอนบ้านคืนจากการขายฝากแทนพี่น้องร่วมสายเลือด

การไถ่ถอนบ้านคืนจากการขายฝากแทนพี่น้องร่วมสายเลือด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การไถ่ถอนบ้านคืนจากการขายฝากแทนพี่น้องร่วมสายเลือด

  • 160
  • 1
  • post on 31 ก.ค. 2566, 04:57
สวัสดีค่ะ  มีการทำสัญญาขายฝากบ้านและที่ดิน เกิน 1 ปี มาแล้ว ยังไม่ได้ไถ่ถอนคืน ปัจจุบันพี่น้องจ่ายหนี้ดอกเบี้ยแทนเจ้าตัวเพื่อไม่ให้โดนยึดอยู่ค่ะ

คำถามดังนี้ค่ะ
1. พี่น้องของคนขายฝากสามารถดำเนินเรื่องไถ่ถอนแทนได้ไหมคะ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
2. คนรับซื้อฝากสามารถโอนบ้านกลับมาเป็นชื่อของคนทำเรื่องเลยได้ไหม  หรือต้องเป็นเรื่องที่ทำระหว่างคนขายฝาก กับญาติเอง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างคะในกรณีเจ้าตัวคนขายฝากไม่มาทำเรื่องเองค่ะ
3. รายจ่ายค่าธรรมเนียมที่จะเกิดขึ้น เมื่อทำครบกระบวนการค่ะ 
โดยคุณ 54629 (73.149.xxx.xxx) 31 ก.ค. 2566, 04:57

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การขายฝาก

   ผู้ที่จะไถ่คืนการการฝากได้ คือ 1.  ผู้ขายเดิม หรือทายาท 2. ผู้รับโอนสิทธินั้น  3.  บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้เฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ได้ (ปพพ. ม.497)


ตอบ ถ้ามีสัญญาไว้ตามข้อ 3 ข้างต้น ก็ใช้สิทธิ ไถ่จากการขายฝากได้  ถ้าไม่มีสัญญาไว้   ก็ให้ผู้ขายเดิม มอบอำนาจ ให้ไปไถ่ได้ (ควรใช้แบบมอบอำนาจของกรมที่ดิน สอบถาม เจ้าพนักงานที่ดินได้)

ตอบ..เมื่อไถ่มา  ชื่อในเอกสารก็ยังเป็นชื่อของผู้ขายคนเดิม  จะโอนเป็นของผู้ไถ่ได้ ต้องให้เจ้าของคนเดิม โอนให้  โดยการมอบอำนาจการโอนให้ชัดเจน(ต้องใช้แบบของกรมที่ดิน) หรือให้เจ้าของเดิม  ไปลงลายชื่อโอน ณ สนง.ที่ดิน...ประเด็นนี้สำคัญมาก ถ้าเจรจากันยังไม่ลงตัว หรือทำเอกสา่รไม่ครบถ้วน  ถ้าไปไถ่ถอนมา   ชื่อในเอกสารก็ยังเป็นของเจ้าของคนเดิม   ถ้าเขาไม่ยอมโอนให้  คงยุ่งยาก   อาจจะต้องมีการฟ้องร้องกันวุ่นวาย  ดังนั้นต้องทำตามขั้นตอนให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาทที่จะตามมา



เจ้าของที่ดิน   แต่ไปไถ่ถอนออกมา  ถ้าทำการไม่รัดกุม ชื่อในเอกสารก็ยังเป็นของเจ้าของคนเดิม  ถ้าเขาเล่นเกมไม้่โอนให้  งานเข้าแน่นอน แม้เป็นญาติสนิท  ก็วางใจไม่ได้  เพราะคดีที่ขึ้นสู่ศาล  ส่วนใหญ่ก็เป็นคดีระหว่างพี่น้องทั้งนั้น  ด้วยความปรารถนาดี  ครับ


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 31 ก.ค. 2566, 08:44

ตอบความคิดเห็นที่ 1

การขายฝาก

   ผู้ที่จะไถ่คืนการการฝากได้ คือ 1.  ผู้ขายเดิม หรือทายาท 2. ผู้รับโอนสิทธินั้น  3.  บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้เฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ได้ (ปพพ. ม.497)


ตอบ ถ้ามีสัญญาไว้ตามข้อ 3 ข้างต้น ก็ใช้สิทธิ ไถ่จากการขายฝากได้  ถ้าไม่มีสัญญาไว้   ก็ให้ผู้ขายเดิม มอบอำนาจ ให้ไปไถ่ได้ (ควรใช้แบบมอบอำนาจของกรมที่ดิน สอบถาม เจ้าพนักงานที่ดินได้)

ตอบ..เมื่อไถ่มา  ชื่อในเอกสารก็ยังเป็นชื่อของผู้ขายคนเดิม  จะโอนเป็นของผู้ไถ่ได้ ต้องให้เจ้าของคนเดิม โอนให้  โดยการมอบอำนาจการโอนให้ชัดเจน(ต้องใช้แบบของกรมที่ดิน) หรือให้เจ้าของเดิม  ไปลงลายชื่อโอน ณ สนง.ที่ดิน...ประเด็นนี้สำคัญมาก ถ้าเจรจากันยังไม่ลงตัว หรือทำเอกสา่รไม่ครบถ้วน  ถ้าไปไถ่ถอนมา   ชื่อในเอกสารก็ยังเป็นของเจ้าของคนเดิม   ถ้าเขาไม่ยอมโอนให้  คงยุ่งยาก   อาจจะต้องมีการฟ้องร้องกันวุ่นวาย  ดังนั้นต้องทำตามขั้นตอนให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาทที่จะตามมา




โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 31 ก.ค. 2566, 08:45

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด