WebBoard :กฎหมาย|การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

  • 192
  • 1
  • post on 20 พ.ค. 2566, 15:08

สวัสดีครับ ขออนุญาตสอบถามหน่อยครับ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 เมื่อเวลาประมาณ 19.15 น. ผมกับแฟนกำลังขับรถกลับบ้าน ได้มีแท็กซี่เปลี่ยนเลนกระทันหัน ได้เข้ามาชนเข้าที่ด้านขวาของรถมอไซค์ผม ทำให้ผมกับแฟนกระเด็นตกจากรถ ไถลไปตามพื้นถนน ทำให้แฟนผมหมดสติไปชั่วขณะ และแท็กซี่คันดั่งกล่าวได้ลงมาดูแล้วบอกรับผิดชอบ พอผมกลับมาดแฟนผมได้ซักพัก แท็กซี่คันนั้นได้ขับไปที่ สน. อ้างว่าตกใจและขับมารอที่สถานีตำรวจ กู้ภัยได้นำแฟนผมมาส่ง รพ.ผลตรวจออกมาว่า กะโหลกศีรษะร้าว มีเลือดคลั่งในสมอง ให้แอดมิดที่โรงบาล 7 วัน แต่หมอไม่ได้ผ่าตัด แต่แท็กซี่คู่กรณีมาเยี่ยมแค่ครั้งเดียว ไม่มีใครมาเยียวยา หมอได้เขียนใบรับรองแพทย์ให้แฟนผม รักษาตัวอยู่บ้านและให้คนดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะแฟนผมมีอาการปวดหัวมากมาตลอด ผมต้องขาดรายได้ เพราะรถพัง เข้าอู่แระกัน 7 วัน และผมได้กลับมาดูแลแฟนที่บ้าน ผมทำงานอิสระ ไม่มีเงินเดือน รายได้ไม่ตายตัว แต่อย่างต่ำวันละพัน สถานการณ์แบบนี้ผมควรเรียกค่าสินไหมทดแทน เท่าไหร่ ขอความคิดเห็นจากผู้รู้หน่อยครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ tonyWabena (xxx) 20 พ.ค. 2566, 15:08

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ค่าสินไหมทดแทน

  ตามข้อเท็จจริงแฟนของคุณน่าจะบาดเจ็บสาหัส  ถ้ารักษาตัวด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน ถือว่าเข้าองค์ประกอบในการบาดเจ็บสาหัส  ดังนั้นจำนวนวันในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ประกอบความเห็นของแพทย์สามารถใช้เป็นหลักฐานในเรียกร้องค่าสินไหมฯ และดำเนินคดีอาญากับคู่กรณีได้ หลักฐานเหล่านี้มีความสำคัญมาก ควรตรวจดูให้ชัดเจนว่าแพทย์ลงความไว้อย่างไรบ้าง... คุณกับแฟนควรร้องทุกข์(แจ้งความ)กับตำรวจ ให้ดำเนินคดีกับคู่กรณีในความผิดฐานประมาทจนทำให้แฟนของคุณบาดเจ็บสาหัส  ตาม ปอ. ม.300(จำคุกสามปี ปรับ 6 หมื่นบาท) ซึ่งเป็นคดีอาญา   ถ้าไปมุ่งแต่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพียงอย่างเดียว  คู่กรณีคงไม่วิตกอะไรมากมาย  ก็คงใช้การเจรจาต่อรอง ยื้อเวลาไปเรื่อยๆจนคุณ อ่อนอกอ่อนใจ  เพราะเป็นเพียงการรับผิดทางแพ่ง  แต่ถ้าแจ้งข้อประมาททำให้บาดเจ็บสาหัส  ซึ่งเป็นคดีอาญา  การเจรจาน่าจะมีช่องทางที่ได้เปรียบ  เพราะคู่กรณีจะวิตกว่า อาจต้องโทษจำคุก  เมื่อแจ้งข้อหาทางอาญา  แม้ตำรวจจะให้เจรจากัน  ถ้าเจรจากันไม่ลงตัว  ตำรวจก็ต้องสรุปสำนวนส่งอัยการเพื่อฟ้องศาลต่อไป  เมื่ออัยส่งฟ้องศาล   คุณและแฟนก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมฯไปในคดีที่อัยการฟ้อง  โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องทางแพ่งเอาเอง   แต่ก็คงใช้เวลาเนิ่นนานพอสมควร  บางคนจึงจ้างทนายความฟ้องร้องเอาเอง  ก็ต้องพิจารณาดูว่า จะเลือกไปทางไหน....
  ปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งคือ  การเกิดอุบัติเหตุ  เป็นความผิดของคู่กรณีฝ่ายเดียวหรือไม่  ต้องฟังความเห็นของร้อยเวรเจ้าของคดีว่า  เขามีความเห็นอย่างไร  ถ้า  พงส.ลงความเห็นว่า คู่กรณีเป็นฝ่ายประมาทเพียงผู้เดียว  คุณก็ย่อมได้เปรียบ  เพราะสามารถดำเนินคดีอาญาและเรียกร้องค่าสินไหมฯทางแพ่งได้เต็มที่  แต่ถ้า พงส.ลงความเห็นว่า ต่างฝ่ายต่างประมาท คดีก็แทบจะพลิก  กลับกลายเป็นว่า ถ้ามีการเรียกร้องค่าสินไหมฯ  อาจจะลดลงได้เพียงครึ่งเดียว  หรือได้ตามส่วนตามข้อเท็จจริงในการสอบสวน ดังนั้นต้องฟังความเห็นของ พงส.ให้ชัดเจนว่า เขาลงความเห็นว่าอย่างไร   ถ้ามีการฟ้องร้องถึงศาล   ศาลก็ต้องรับฟัง ร้อยเวรเจ้าของคดีเป็นสำคัญ   เพราะไปตรวจที่เกิดเหตุ ทำบันทึก และมีแผนที่เกิดเหตุ ที่ชี้ว่า ใครเป็นฝ่ายประมาท และเป็นการปฏิบัติหน้าของเจ้าหน้าที่   ความเห็นของตำรวจจึงมีน้ำหนักที่ศาลรับฟัง 
  ส่วนค่าสินไหมฯที่จะเรียกร้องได้ตามกฎหมาย ตาม ปพพ.ม.443 คือ 
    1.กรณีของคุณและภริยา สามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง
    2. ค้าขาดประโยชน์ในการทำงาน  เช่นการถูกละเมิดทำให้ทำงานไม่ได้ตามปกติ  20 วัน  ถ้าทำงานวันละ 1,000  บาท ก็เรียกร้องได้  20,000 บาท เป็นต้น
    3.  ค่าเสียหายแก่ร่างกาย จิตใจ อนามัย ฯ ตาม ปพพ. ม.420  ที่คนทั่วไปเรียกว่าค่าทำขวัญ  ก็เรียกร้องได้ความเหมาะสม  กฎหมายไม่ได้กำหนดตัวเลขไว้ว่าจะสามารถเรียกร้องได้เท่าไร   บางรายเรียร้องเป็นเป็นแสนเป็นล้านก็มี   สุดท้ายศาลก็คงใช้ดุลยพินิจว่า ควรจะได้รับเท่าไร
    4. ค่าเสียหายแก่ทรัพย์สิน  คือรถฯเสียหาย   ก็เรียกร้องได้ตามที่เสียหายจริง
         ในทางปฏิบัตการเรียกร้องค่าสินไหมฯ  บางกรณีเรียกร้องกันเป็นแสนเป็นล้าน  แต่ก็มักมีการเจรจาต่อรองกัน  สุดท้าย  ก็คงได้รับการเยียวยา  ประมาณ 30-40 % เพราะอะไร  ถ้าคุณได้เข้าสู่บรรยากาศของการเจรจาต่อรอง คุณจะรู้ซึ้งเป็นอย่างดี...ส่วนความรับผิดทางอาญา   ถ้าคู่กรณีรับสารภาพ  และวางเงินค่าเสียหายที่ศาลในจำนวนที่เหมาะสม  เขาน่าจะไม่ถูกจำคุก  ตาม ปอ. ม.56 ม.78....คุณและแฟนที่ประสบเคราะห์ในครั้งนี้ ต้องฝึกทำใจไว้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปว่า  คงได้รับการเยียวยาไม่มากมายอะไร ....ข้อคิด ถ้าคู่กรรียินยอมจ่ายเงินให้ซักก้อนหนึ่ง  ก็หักใจรับไปเถอะ  แม้ไม่คุ้ม  แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ถ้ามีคดีจะมีความทุกข์ทรมานพอสมควร  ไปพบคนนั้นคนนี้ ไปแล้วไปอีกกว่าจะจบ  เราทั้งเจ็บทั้งช้ำ  แต่ได้รับการเยียวยาเพียงน้อยนิด คงไม่คุ้ม   ด้วยความปรารถนาดี ครับ (ตอบจากประสบการณ์จริง  ในการเป็นคนกลางในการเคลียร์คดีมากว่า 30 ปี)..
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 21 พ.ค. 2566, 09:43

แสดงความเห็น