WebBoard :กฎหมาย|เกษียณอายุงาน เมื่ออายุ60ปี

เกษียณอายุงาน เมื่ออายุ60ปี

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

เกษียณอายุงาน เมื่ออายุ60ปี

  • 473
  • 2
  • post on 22 ก.พ. 2566, 20:59

ทำงานเอกชนครับ อายุครบ60ปีเมื่อธันวาคมที่ผ่านมา ตอนเดือนธันวาคมที่ผ่านมาบริษัทจัดงานเลี้ยง นั่งคุยกับ ผจก.ฝ่ายบุคคลว่าปีนี้พี่อายุครบ60ปี ปีหน้าจะเกษียน เค้าบอกยังพี่วิธีนับตัองนับปีหน้าจึงจะครบ60ปีเต้ม แล้วถามผมว่าสนใจทำงานต่อไหม ผมบอกสน ใจคิดว่าเค้าจ่ายเงินชดเชยให้เราแล้วแล้วจ้างต่อแบบชั่วคราว    พอะปิดงานหละงหยุดปีใหม่  ฝ่ายบุคคลเดินมาหาให้กระดาษมาหนึ่งใบเป้นข้อความ ขอต่ออายุเกษียนอีก2ปี ให้เราเซ้นต์  ใจกัอคิดดีกว่าอยู่เปล่าๆมีงานทำอีก2ปี  เซ้นไปและทำงานต่อ    แต่พอมากุมภาพันธ์ มีการเพิ่มงานให้อีกหลายอย่าง จากงานที่รับผิดชอบเดิม ทำให้เครียด  และโรคประจำตัวกำเริบ     อย่างนี้ผมขอเกษียนใหม่ได้ไหม  เพราะเพิ่งเซ้นขอต่อเกษียนไป     ขอคำแนะนำด้วยครับ กลัวว่าถ้าทำต่อเครียดจากงานมากต้องลาออกเองแล้วจะไม่ได้เงินชดเชยครับ








โดยคุณ Sakklonghok (171.96.xxx.xxx) 22 ก.พ. 2566, 20:59

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณมากสำหรับคำตอบและความรู้ทางกฎหมายขอให้ท่านมีความก้าวหน้าและเจริญยิ่งๆขึ้นไป.



โดยคุณ Sakklonghok 1 มี.ค. 2566, 19:58

ความคิดเห็นที่ 1

วัยเกษียณ


  เรื่องที่ถาม เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง  และปัญหาข้อกฎหมาย  ผมจึงได้นำการวินิจฉัยของ กรมสวัสดิภาพแรงงาน ที่ตอบข้อสงสัย ของแรงงานที่มีปัญหา  ทำนองเดียวกับคุณ ลองอ่านดูนะครับ  น่าจะได้คำตอบ...หรือสอบถามเพิ่มเติมตามที่อยู่ข้างล่าง


๒. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๑๘/๑ การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่ นายจ้างก าหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือก าหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลง หรือก าหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนา เกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคหนึ่ง ตอบข้อหารือ ๑. ตามมาตรา ๑๑๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ แม้จะให้สิทธิแก่นายจ้างและลูกจ้างตกลงอายุเกษียณกันเองหรือนายจ้างเป็นผู้ก าหนดอายุเกษียณ ของลูกจ้างฝ่ายเดียวในข้อบังคับก็ตาม แต่ในมาตรา ๑๑๘/๑ วรรคสอง ก าหนดสิทธิการแสดงเจตนา เกษียณอายุได้เมื่อลูกจ้างอายุครบ ๖๐ ปี ดังนั้น หากบริษัทจ ากัด จะก าหนดอายุเกษียณไว้ที่ ๖๐ ปี และให้ พนักงานบริษัทฯ เกษียณอายุได้ ณ วันสิ้นปีของอายุเกษียณของพนักงานนั้น เห็นว่ากรณีนี้เป็นการที่บริษัทฯ ก าหนดการเกษียณอายุลูกจ้างไว้ตามมาตรา ๑๑๘/๑ วรรคหนึ่งแล้ว ซึ่งบริษัทฯ จะก าหนดการเกษียณอายุ ลูกจ้างตามปีปฏิทินหรือปีงบประมาณของบริษัทฯ ก็ได้ ดังนั้น แม้พนักงานบริษัทฯ จะมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ก่อนถึงวันสิ้นปีปฏิทินตามที่บริษัทฯ ก าหนดไว้ พนักงานผู้นั้นก็ไม่อาจใช้สิทธิเกษียณอายุ ตามมาตรา ๑๑๘/๑ วรรคสองได้ เพราะมิใช่กรณีที่นายจ้างมิได้ก าหนดการเกษียณอายุหรือก าหนด การเกษียณอายุไว้เกินกว่า ๖๐ ปี ทั้งนี้ตามค าชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ (แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ า ข้อบังคับเกี่ยวกับการท างาน และ การเกษียณอายุ) ) ๓ ข้อหารือกฎหมายแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (Department of Labour Protection and Welfare) ส าหรับกรณีที่พนักงานมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ แต่พนักงานไม่ประสงค์จะ เกษี ยณ อายุแล ะท างานต่อไป เมื่อถึงวัน สิ้นปี ของปีที่พนั กงานมีอายุเกษี ยณ จะถือว่าพนักงาน พ้นจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ ด้วยเหตุเกษียณอายุตามที่ก าหนดในข้อบังคับเว้นแต่จะมีการตกลง ต่ออายุสัญญาจ้างแรงงานก่อนการเกษียณอายุตามข้อบังคับและเป็นการตกลงขยายระยะเวลาการเกษียณอายุ ทั้งนี้ ลูกจ้างยังคงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุและมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายอยู่ ๒. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ ก าหนดหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยกรณีนายจ้างเลิกจ้างหรือเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุได้ โดยอัตราค่าชดเชยที่นายจ้าง ต้องจ่ายนั้นขึ้นอยู่กับอายุงานของลูกจ้างตามที่ก าหนดในมาตรา ๑๑๘ (๑) – (๕) จากข้อเท็จจริงพบว่า บริษัทฯ ก าหนดอายุเกษียณไว้ที่ ๖๐ ปี และมีผลเลิกสัญญาจ้างในวันสิ้นปี ดังนั้น กรณีพนักงานมีอายุครบ ๖๐ ปี และเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ ที่ก าหนดการเกษียณอายุมีผลเลิกสัญญาจ้างในวันสิ้นปี ดังนั้น ต้องนับอายุงานของพนักงานตั้งแต่วันแรกเข้าจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม จากข้อเท็จจริงพบว่า พนักงานมีอายุงาน ๑๕ ปี จึงต้องด้วยบทบัญ ญัติที่ว่าลูกจ้างท างานติดต่อกันครบ ๑๐ ปีขึ้นไป บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันตามมาตรา ๑๑๘ (๕) รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นตามข้อตกลงในวันที่การเลิกจ้างมีผล หมายเหตุ อ้างอิงข้อหารือกองนิติการ ที่ รง ๐๕๐๕/๒๕๙๒ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ -------------------------------------------------- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กลุ่มงานที่ปรึกษากฎหมาย นิติกรรมและสัญญา กองนิติการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชั้น ๑๒ ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐ โทร. ๐ ๒๒๔๖ ๗๐๓๙ , โทรสาร ๐ ๒๒๔๖ ๗๕๘๙

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 28 ก.พ. 2566, 11:24

แสดงความเห็น