WebBoard :กฎหมาย|ทุบกำแพงทำทางเข้าออก

ทุบกำแพงทำทางเข้าออก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ทุบกำแพงทำทางเข้าออก

  • 272
  • 2
  • post on 15 ม.ค. 2566, 20:21

สวัสดีครับ  คุณมโนธรรม

ตอนนี้  ผมได้ใบรับรองจากทาง สนง เขต 

แล้ว  ทางเขตแจ้งว่า  รั้วบ้านที่ผมทุบ 

ตั้งอยู่บนที่ดินของผม  ทางเขตบอกว่า 

ไม่ต้องขออนุญาต เพราะไม่เข้าข่ายเป็นอาคาร


แต่ ที่จะถามคือ  เมื่อเดือน ธันวาคม

 เพื่อนบ้านที่มีปัญหากัน   ปกติเวลาจอดรถ

เขาจอดรถต่อท้ายรถผม  วันนั้นเขาเอารถออก

ไปทำธุระ  พอกลับมา  กลับเอารถมาจอด

หน้ารถผม  ท้ายรถของเขา ถอยมา จนเกือบ

ชนหน้ารถผม  ชนิดที่ว่า  ระยะห่างกันแค่ 1 ฟุต 

เท่านั้น  ซึ่งดูเจตนาแล้วเหมือนแกล้งหรือเปล่า 

ผมไม่ทราบได้  เพราะทุกครั้ง เขาจะนำรถไปจอด 

ต่อท้ายรถผมทุกครั้ง  เวลาเสร็จธุระของเค้า 

รถของเขาเป็นรถบรรทุกมี หลังคาสูง  ทำให้บัง

เวลา มองออกไปข้างนอก มองเห็นแต่รถเค้า  

มองไม่เห็นอะไรเลยครับ

ที่บ้านมี แฟนผมอยู่คนเดียว เขารู้สึกไม่ปลอดภัย

 

จึงอยากจะถามว่า  มีข้อกฎหมาย ข้อไหนที่จะ

เอาผิดเขาได้บ้างครับ  ทุกวันนี้ เพื่อนบ้านคนนี้

จอดรถไว้แบบนี้ตลอด  เขาไม่ยอมเลื่อนออก


เลยครับ









โดยคุณ isiwat (xxx) 15 ม.ค. 2566, 20:21

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณครับ


โดยคุณ อิสิวัชร์ 16 ม.ค. 2566, 18:47

ความคิดเห็นที่ 1

ปัญหาการจอดรถ
  ถ้าจอดรถหน้าบ้าน  ทำให้เข้าออกลำบาก  ก็เป็นการละเมิด (เป็นความรับผิดทางแพ่ง)และอาจจะมีความผิดอาญา ตาม ปอ. ม.397 (ความผิดลหุโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท) ก็แจ้งความตาม ปอ. ม.397 และ เรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งได้ แต่น่าจะไม่คุ้ม...
  ที่เคยตอบว่า กำแพง หมายถึงอาคาร นั้น ตอบตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม.4(2)  ไม่ได้คิดขึ้นมาเอง  ถ้าเจ้าหน้าที่บอกว่า ไม่ใช่อาคาร  ไม่ต้องขออนุญาตในการรื้อถอน  ก็คงเป็นผลดีต่อตัวคุณ   แต่ถ้าคู่กรณี นำเรื่องนี้มากล่าวอ้างว่า คุณรื้อถอนอาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาต  คงเรื่องมีเรื่องยาวแน่....เจ้าหน้าที่อาจจะ  กลับลำเอาง่ายๆว่า ไม่เคยพูดก็ได้  เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสือยืนยันว่า กำแพงไม่ใช่อาคาร...

 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง...และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง

พรบ.ควบคุมอาคาร  พ.ศ. 2522

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2518
จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397
 

คำพิพากษาย่อยาว



โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์จอดขวางถนนซอยเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถนำรถยนต์ออกไปจากซอยได้ เป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโจทก์ให้ปราศจากเสรีภายในร่างกาย และเป็นการรังแกข่มเหงและก่อความเดือดร้อนรำคาญต่อโจทก์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, 397 และ 83

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง มีคำสั่งประทับฟ้อง

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ให้จำคุกจำเลยคนละ 15 วัน และปรับคนละ 500 บาท โทษจำคุกให้ยกเสีย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุนั้น โจทก์ไม่ได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังหรือทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่อย่างใด โจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยนั้นได้ จำเลยเพียงแต่ขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ดังโจทก์ฎีกา

ส่วนฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะถอยรถออกไปจำเลยมิได้มีเจตนาจะปิดกั้นไม่ให้โจทก์เอารถออก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ยอมถอยรถให้โจทก์ออกเป็นการรังแกข่มเหงโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะเป็นซอยในที่ดินของนางสวรรค์ สุวรรณเนตร ซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้านอยู่อาศัย แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในที่ดินในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397

พิพากษายืน
 
 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 16 ม.ค. 2566, 11:58

ตอบความคิดเห็นที่ 1

พรบ.ควบคุมอาคาร  พ.ศ.2522


 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิงทีสร้างขึนอย่างอืน ซึงบุคคลอาจ เข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึง (1) อัฒจันทร์หรือสิงทีสร้างขึนอย่างอืนเพือใช้เป็นทีชุมนุมของประชาชน (2) เขือน สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายนํา อู่เรือ คานเรือ ท่านํา ท่าจอดเรือ รัว กําแพง หรือประตู ที สร้างขึนติดต่อหรือใกล้เคียงกับทีสาธารณะหรือสิงทีสร้างขึนให้บุคคลทัวไปใช้สอย

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 16 ม.ค. 2566, 12:00

แสดงความเห็น