WebBoard :กฎหมาย|ที่ี่ดินมรดก ไม่มีโฉนดโอนยังไงคะ

ที่ี่ดินมรดก ไม่มีโฉนดโอนยังไงคะ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ที่ี่ดินมรดก ไม่มีโฉนดโอนยังไงคะ

  • 290
  • 1
  • post on 16 ธ.ค. 2565, 18:40

สวัสดีค่ะ อยากทราบว่า ที่ดินมรดกของคุณย่าท่านเสียแล้ว จะสืบทอดต่อเป็นชื่อคุณพ่อยังไงคะ เนื่องจากหาโฉนดไม่เจอ...


เริ่มจากที่ดินนี้เป็นของคุณปู่ท่านเสีย คุณย่ารับสืบทอดมา หลังจากนั้นพ่อได้สร้างบ้านขึ้น บนที่ดินนี้ โดยพ่อส่งมาเพียงเงินให้ย่าสร้างไม่ได้กลับบ้านมาดูงานสร้างเลย ตอนนั้นพ่อทำงานออกเรือค่ะ พ่อแทบไม่ได้กลับมาบ้านเลยได้แค่ส่งเงินมาให้ ในบ้านนอกจากย่าก็มีหลาน 3 คน ที่อาศัยอยู่ก่อนท่านจะเสีย

คนที่ 1 เป็นหลานชาย ลูกพ่อ

คนที่ 2 เป็นหลานหญิง ลูกน้องสาวพ่อ ซึ่งเสียชีวิตแล้ว

คนที่ 3 เป็นหลานชาย ลูกน้องสาวพ่อ ซึ่งเสียชีวิตแล้ว

และพ่อมีที่น้องทั้งหมด 4 คน  มี2คน ที่เสียชีวิตแล้ว ปัจจุบัน มี2คน

มีเพียงพ่อลูกชายคนโตและน้องสาว 

ก่อนที่คุณย่าจะเสียชีวิต ที่ดินอื่นๆ ย่าได้แบ่งให้น้องสาวพ่อไปเปลี่ยนเป็นชื่อตนเองแล้ว เหลือแค่ที่ดินบ้านกับนาที่ค้างไว้  

*ตอนนี้ย่าเสียชีวิตแล้ว พ่อต้องการโอนบ้านและที่ดินกลับเป็นของตนที่เป็นคนสร้างบ้าน แต่โฉนดที่ดินหายไป ไม่อยู่ที่บ้าน จำได้ว่าเป็นครุตสีแดง หลานสาวคนที่2ลูกน้องสาวที่เสียไปแล้ว ได้อ้างสิทธิว่า ตัวเองเป็นเจ้าของบ้านบอกว่าย่ายกให้ เป็นเพียงการบอกปากเปล่า ไม่มีหลักฐานอะไรให้ดู เพราะพ่อไม่อยู่บ้านก่อนย่าเสีย ย่าก็ไม่ได้บอกอะไรเรื่องบ้านมาก่อนเลย

ตอนนี้พ่อกลับมาอยู่บ้านแล้ว พ่อได้ไปเช็คกับทางที่ดินแล้ว ว่าโฉนดตอนนี้เป็นชื่อใคร (พ่อขอโฉนดข้างบ้านไปเช็คเลขโฉนดบ้านตัวเอง) สรุปโฉนดยังเป็นชื่อย่า 

- พ่อต้องการโอนให้เป็นชื่อตนเอง ให้ถูกต้องตามกฏหมาย เพราะบ้านพ่อเป็นคนสร้าง สามารถทำยังไงได้บ้างคะ เพราะไม่มีโฉนด ไม่มีหลักฐานอะไรเลย มีเพียงชาวบ้านที่เป็นพยานว่าบ้านหลังนี้พ่อสร้าง ต้องไปล่าลายเซ็นไหมแล้วต้องขอเอกสารที่ไหนคะ


ขอบคุณค่ะ












โดยคุณ Maumind (124.120.xxx.xxx) 16 ธ.ค. 2565, 18:40

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก

 ในเมื่อที่ดินมีชื่อของย่า เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์  เมื่อย่าเสียชีวิตลง  ที่ดินแปลงนี้ จะกลายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททุกๆคน(ลูกๆของย่า และปู่)  การที่จะจัดมรดกทีดินแปลงนี้ได้  พ่อหรือผู้มีส่วนได้เสีย  ต้องร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกของย่าก่อน (ควรให้ทนายความดำเนินการให้จะสะดวก หรือร้องขอให้อัยการร้องขอให้ แต่คงต้องรอคิวยาวนานพอสมควร และต้องมีภาระจัดหารเอกสารไปให้ครบ  แต่ทนายความจะช่วยเหลือในการทำเอกสารให้) เมื่อศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก   ผู้จัดการมรดกต้อง ทำบัญชีเครือญาติ(ที่มีสิทธิรับมรดก)  ทำบัญชีทรัพย์มรดกของคุณย่า ที่มีทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ลงชื่อรับรองบัญชีทรัพย์มรดก อย่างน้อยสองคน   และผู้จัดการมรดกมีหน้าที่เรียกประชุมทายาท  เพื่อเจรจจาแบ่งปันมรดก (โดยหลัก ลูกๆของย่าและปู่ต้องได้ส่วนแบ่งเท่าๆกัน) ทายาที่ตายแล้ว  ก็ต้องให้บุตรของเขารับมรดกแทนที่...โฉนดที่ดินถ้าหายไปหาไม่พบ  ผู้จัดการมรดกก็แจ้งหาย และให้ สนง.ที่ออกใบแทนได้เสมอ
  กรณีของคุณพ่อ ส่งเงินมาให้คุณย่าสร้างบ้าน  เป็นข้อเท็จจริง  ถ้าไม่มีการบันทึกรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ให้ชัดเจน   คุณพ่อคงอยู่ในฐานะเสียเปรียบ  เพราะการสร้างบ้านบนที่ดินของคุณย่า  บ้านจะกลายเป็นส่วนควบของที่ดิน คือเมื่อคุณย่าเสียชีวิตลง  บ้านและที่ดินจะกลายเป็นมรดก  ที่ลูกๆของคุณย่ามีสิทธิขอแบ่งปันได้คนละเท่าๆกัน  คุณพ่อจะนำสืบว่าตนเป็นผู้ส่งเงินมาสร้างบ้าน ก็สามารถทำได้   แต่เรื่องผ่านมานมนานพอสมควร  การหาพยานหลักฐานมายืนยันเรื่องนี้คงลำบากพอสมควร...การที่คุณย่า  โอนที่ดินให้แก่น้องสาวของคุณพ่อ ตั้งแต่คุณย่ามีชีวิตอยู่   เมื่อน้องสาวรับโอนที่ดินไปแล้ว   ไม่ทำให้เขาหมดสิทธิเรียกร้อง  บ้านและที่ดินอันเป็นมรดกได้อีก คือเขาย่อมมีสิทธิ์ขอแบ่งมรดก บ้านและที่ดินของคุณย่าได้อีกเสมอ ในฐานะทายาทโดยธรรม
   การที่คุณพ่อมีพี่น้อง 4 คน   บ้านและที่ดินของคุณย่า ต้องแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน  ส่วนพี่น้องที่ตายแล้ว  ก็ให้ลูกของเขารับมรดกแทนที่   ก็ควรใช้การเจรจา  โดยตีราคา บ้านและที่ดินตามราคาที่เหมาะสม  เช่น ตีราคา  1 ล้านบาท  หาร 4 ส่วน  ก็จะได้ส่วนแบ่ง คนละ  2.5 แสนบาท  ใครต้องการบ้านและที่ดินก็จ่ายเงินส่วนของญาติ 3 ส่วน  เพื่อเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียวก็ได้  การตกลงใดๆ ควรทำบันทึกไว้ให้ชัดเจน  ทายาทลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนึ้ ทุกคน....กรณีคุณพ่อส่งเงินมาสร้างบ้าน  ถ้าพี่น้องยอมรับก็ขอหักเงินส่วนนี้ออกได้  ถ้าเขาไม่เชื่อหรือไม่ยินยอม ก็คงต้อพิสูจน์กันยาวนาน...อย่าไปตกลงรื้อบ้านแบ่งกัน   เพราะย่อมเกิดความเสียหาย  ในเมื่อเป็นญาติสนิท บางเรื่องควรยอมๆกันบ้าง ถ้ามีทิฐิ ย่อม ไม่มีทางตกลงกันได้
   ปัญหาการแบ่งปันมรดก  เป็นเรื่องละเอียดอ่อน  ขอแนะนำให้ใช้การเจรจาแบ่งปันกันไปในฐานะญาติ ถ้ามีการฟ้องร้องย่อมสูญเสียทั้งสองฝ่าย... หรือติดต่ออัยการคุ้มครองสิทธิ์ให้เรียกทายาทไปตกลงกัน น่าจะมีทางออกที่เหมาะสม ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 17 ธ.ค. 2565, 09:05

ตอบความคิดเห็นที่ 1

 จะทำตามคำแนะนำค่ะ ขอบคุณนะคะ 

โดยคุณ Maumind 17 ธ.ค. 2565, 21:55

แสดงความเห็น