WebBoard :กฎหมาย|ทุบกำแพงทำทางเข้าออก 3

ทุบกำแพงทำทางเข้าออก 3

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ทุบกำแพงทำทางเข้าออก 3

  • 218
  • 4
  • post on 11 ธ.ค. 2565, 14:19

สวัสดีครับ  เรียนสอบถามครับ

ตอนนี้  ผมได้ทุบกำแพงแล้วครับ  

ควรเรียกว่า รั้วบ้าน มากกว่า 

ก่อนทำ ผมจะแจ้งประธาน

นิติแต่ไม่อยู่  จึงบอกรองประธานแทน

 แล้วรถที่จอดขวางกำแพงที่จะทุบคือ รถของ

รองประธาน  แล้วรองประธานมาเลื่อน

รถออกให้ผม

ทุบจนเป็นช่องโหว่ขนาดใหญ่  พอ

กลางวันออกไปกินข้าว กลับมาอีกที 

รถของรองประธานมาจอดขวางเหมือนเดิม

แล้วประธานนิติบุคคลไลน์มาบอก

ให้ผมหยุดทำก่อน โดยอ้างเหตุผลว่า

มีลูกบ้านร้องเรียนว่า ผมไปทุบกำแพง

หมู่บ้าน  และอย่างที่ผมเล่าไปก่อนหน้านี้ 

เหตุผลล่าสุดที่บอกว่า

 กำแพงครึ่งในเป็นของผม  ครึ่งนอก

เป็นของนิติ  ตอนนี้รั้วบ้านผมเป็นช่องโหว่

ผมเอาสแลมมาปิดไว้ก่อน แล้ว รถของรองประธาน

นิติมาจอดขวางไว้ ไม่ให้ผมทำต่อ 

แล้วผมไม่แน่ใจ

ว่า พวกนิติ ไปแจ้งความอะไรไว้หรือเปล่า

ผมอยากทราบว่า  ตามที่คุณ มโนธรรม 

บอกว่า

ถ้าเขาไปแจ้งความ  แม้ไม่มีความผิด แต่

จะยุ่งยากในการพิสูจน์ตนให้พ้นผิด 

คือยังไง  

ครับ  ในเมื่อรั้วบ้านเป็นของเรา ตั้งแต่

ซื้อบ้าน

แล้ว  แล้วเค้าจะแจ้งข้อหาเอาผิดอะไรผม

ครับ  ผม งง  รั้วบ้านตัวเองทำอะไรก็ไม่ได้

คือ ประธานนิติ กับ รองนิติ

 เค้าเป็นพวกเดียวกัน

ครับ  บ้านไหนมีช่องทางเอาเปรียบอะไร

ได้ก็

ทำ  บ้านผมอยู่ใน กทม ครับ  และ

จะถามข้อบังคับของนิติหน่อยครับ  ยาวหน่อย

นะครับ   นี่คือข้อบังคับนิติ ที่เขาไฮไล ข้อความ

ให้ผมอ่าน  

หมวดที่  2

วัตถุประสงค์    

 นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีวัตถุประสงค์เพื่อ

รับโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและ

บริการสาธารณะที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัด

ให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผัง

โครงการที่ได้รับอนุญาตไปจัดการและ

บำรุงรักษาให้คงสภาพดีดังเช่นที่ได้จัดทำ

ขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก

หมู่บ้านจัดสรรและให้มีอำนาจหน้าที่

ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว  

ภายใต้ข้อบังคับแห่งพระราชบัญญัติ

การจัดสรรที่ดิน  พ.ศ.  2543  ดังนี้

1  กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์

สาธารณูปโภค

2  กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัย

และการจราจรภายในที่ดินจัดสรร

5  จัดให้มีบริการสาธารณะเพื่อ

สวัสดิการของสมาชิกหรือจัดสรรเงิน

หรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณะประโยชน์

การดำเนินการตาม ข้อ  1,2,5 ต้องได้รับ

ความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของ

สมาชิก  


อยากให้ช่วยข้อข้องใจ กฏของนิติ ให้หน่อย

ครับ

ผมเข้าใจเอาว่า  ประธานนิติ คงคิดว่า 

การที่ผมทุบกำแพงบ้านผม  ทำให้มัน

ไม่คง

สภาพเดิมที่มันเหมือนตอนแรกที่หมู่บ้าน

นี้เป็น

มาก่อนหรือเปล่าครับ  แล้วถ้าผมทำ

มันจะผิดอะไร  บ้านอื่นที่ทุบกำแพง

ด้านข้างทำประตู เขาทำมาก่อนผมอีก 

เขาทำได้  เราก็ควรจะทำได้เหมือนกัน

ใช่มั้ยครับ   ขอบคุณครับ











โดยคุณ อิสิวัชร์ (118.174.xxx.xxx) 11 ธ.ค. 2565, 14:19

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 4

How amazing this article is!!! It is the article which can help me to look back on myself while reading an article about 메이저놀이터 , and to grow in the future rather than always beating myself up and staying in one place.

โดยคุณ 메이저놀이터추천 21 ธ.ค. 2565, 09:59

ความคิดเห็นที่ 3

จากที่คุยข้อกฏหมายมา 3-4 ครั้ง ทำให้ผมมีความรู้ทางด้านกฏหมายเพิ่มขึ้นอย่างมากเลยครับ ขอบคุณมากครับ

จะเรียนสอบถามหน่อยครับ  

ถ้านิติทำผิดกฎระเบียบที่ตัวเองตั้งขึ้นมา

ซะเอง แต่กลับเอากฏระเบียบมาบังคับลูกบ้าน เราจะทำอย่างไรได้บ้าง

โดยคุณ อิสิวัชร์ 12 ธ.ค. 2565, 23:25

ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณครับ

โดยคุณ อิสิวัชร์ 12 ธ.ค. 2565, 16:47

ความคิดเห็นที่ 1

ปัญหาสังคม/ปัญหาข้อกฎหมาย


  ระบบกฎหมายของไทย  คือระบบการกล่าวหา  กรณีคุณทุบกำแพง  ถ้า นิติฯ จะตั้งข้อหาก็ย่อมได้  คือข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ( ปอ. ม.358 จำคุก สามปี ปรับ 6 หมื่นบาท) ถ้ามีการแจ้งความ  ตำรวจก็ต้องมีหมายเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหา  ถ้าไม่ไป อาจจะ..ถูกออกหมายจับ   คุณก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า คุณคือเจ้าของกำแพง  เพราะซื้อบ้านย่อมได้กำแพงด้วย  จึงบอกคุณว่า มันคงมีเรื่องยุ่งยากตามมาได้...และอาจจะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกก็ได้  จึงให้คุณใจเย็น  ค่อยแก้ไขไปตามขั้นตอน  ถ้ามีปัญหาขึ้นมาจะปวดหัว เสียความรู้สึก แน่นอน  มีแนวคำพิพากษาศาลฎีา ที่เทียบเคียงเรื่องของคุณ  ที่ศาลฎีกาท่าน วินิจฉัยออกมา น่าจะมีผลเสียต่อคุณ  ลองอ่านดูนะครับ


รื้อรั้วกำแพงหมู่บ้านจัดสรร
คำพิพากษาฎีกาที่ 3503/2561 (หน้า 997 เล่ม 4) จำเลยทั้งสองรื้อทำลายรั้วพิพาทเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรั้วพิพาทและมีหน้าที่บำรุงรักษากิจการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้คงสภาพดังเช่นได้ทำขึ้นตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิดได้โดยตรง มติที่ประชุมคณะกรรมการของโจทก์จะชอบหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์และคณะกรรมการต้องรับผิดชอบต่อที่ประชุมของมวลสมาชิก หาใช่ข้อที่จะทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่โดยบริบูรณ์นั้นต้องเสื่อมเสียไปไม่
รั้วพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของรั้วซึ่งบริษัท ว.สร้างขึ้นพร้อมการจัดสรรที่ดินปลูกสร้างบ้านขายตั้งแต่ปี 2532 เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านภายในโครงการจัดสรรอันเป็นการให้มีสาธารณูปโภคตามนัยข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และโดยผลของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 ทำให้รั้วพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทั้งหมด รั้วพิพาทจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่รั้วตั้งอยู่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 146 หากแต่ถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน บุคคลจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกจากที่ได้รับอนุญาตแล้วมิได้ รวมทั้งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายหนึ่งรายใดก็ไม่อาจกระทำได้เช่นกัน ต่อมาเมื่อโจทก์จัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วได้รับโอนสาธารณูปโภคจากบริษัท ว.มาดำเนินการ รั้วพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์
นอกจากการรื้อทำลายรั้วพิพาทแล้ว จำเลยทั้งสองยังก่อสร้างซุ้มประตู ประตูเหล็กในตำแหน่งรั้วพิพาทแล้วใช้เป็นทางผ่านเข้าออกตลอดมา อันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ในการใช้ประโยชน์ บำรุงรักษารั้วพิพาทเพื่อใช้เป็นสาธารณูปโภค ในการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ซื้อที่ดินในโครงการหมู่บ้านจัดสรรทุกรายต่อเนื่องเรื่อยมา แม้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วพิพาทหากเป็นมูลละเมิดนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
(หมายเหตุ 1. คดีนี้ จำเลยมีที่ดินอยู่ในโครงการของโจทก์และมีที่ดินอีกแปลงหนึ่งอยู่นอกโครงการอยู่ติดกับที่ดินของจำเลยที่อยู่ในโครงการของโจทก์
2.จำเลยรื้อรั้วระหว่างที่ดินทั้งสองของจำเลยแล้วก่อสร้างซุ้มประตู ประตูเหล็กในตำแหน่งรั้วที่มีการรื้อถอนแล้วใช้เป็นทางผ่านเข้าออกตลอดมา
3.จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะกรรมการบางคนขาดคุณสมบัติ ทำให้มติที่ประชุมคณะกรรมการของโจทก์ไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มติของคณะกรรมการจะชอบหรือไม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ เพราะโจทก์เป็นเจ้าของรั้วพิพาทและมีหน้าที่บำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพอยู่
4.จำเลยอ้างว่า รั้วพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของจำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รั้วพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทั้งหมด มิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่รั้วตั้งอยู่ รั้วพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์
5.จำเลยอ้างว่า คดีขาดอายุความ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า นอกจากจำเลยรื้อทำลายรั้วแล้ว จำเลยยังก่อสร้างซุ้มประตู แล้วใช้เป็นทางผ่านเข้าออกตลอดมา อันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ คดีไม่ขาดอายุความ)
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 12 ธ.ค. 2565, 10:25

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้อ่านมากที่สุดในหมวด

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด