WebBoard :กฎหมาย|เปลี่ยนเจ้าบ้านในกรณีที่เจ้าบ้านเดิมเสียชีวิต

เปลี่ยนเจ้าบ้านในกรณีที่เจ้าบ้านเดิมเสียชีวิต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

เปลี่ยนเจ้าบ้านในกรณีที่เจ้าบ้านเดิมเสียชีวิต

  • 1787
  • 2
  • post on 29 พ.ย. 2565, 21:10

1.เจ้าบ้านเดิมเสียชีวิต โดยบ้านหลังที่อาศัยอยู่ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตาย และเป็นบ้านหลังที่ 2

โดยในทะเบียนบ้านมีผู้ตายเป็นเจ้าบ้านคนเดียวไม่มีชื่อสมาชิกในทะเบียนบ้าน แต่อาศัยอยู่ด้วยกัน 3 คนรวมผู้ตาย


และผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกบ้านหลังนี้ให้ดิฉัน

คำถาม ถ้าจะเปลี่ยนเจ้าบ้านต้องทำอย่างไร เปลี่ยนได้ทันทีหรือว่าต้องรอคำสั่งศาลเป็นผู้จัดการมรดกแล้วถึงเปลี่ยนได้


2.ผู้ตายมีภรรยา 2 คน คนที่ 1 จดทะเบียน มีลูก 2 คน แต่ไม่ได้อยู่กินฉันผัวเมียมา 16 ปี คนที่ 2 ไม่จดทะเบียน

ไม่มีบุตร อยู่กินมา 16 ปี ผู้ตายทำพินัยกรรมยกมรดกให้ ภรรยาคนที่ 2 และลูกทั้ง 2 คน โดยแยกชัดเจนว่าใตรได้รับอะไรบ้าง และระบุตัดภรรยาคนที่ 1 ออกจากทายาทโดยชอบทำไม่ให้ได้รับมรดกใดๆ


คำถามภรรยาคนที่2 จะดำเนินการร้องต่อศาลเพื่อเป็นผู้จัดการมรดก เพื่อดำเนินการตามพินัยกรรม ในการไปยื่นต่อศาลจำเป็นต้องให้ภรรยาคนที่ 1 เซ็นเอกสารยินยอมหรือไม่ และ เมื่อได้คำสั่งศาลเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน บ้าน รถยนต์ ก่อนทำการโอนให้ผู้รับมรดกภรรยาคนที่ 1 ต้องเซ็นเอกสารยินยอมและให้สำเนาใบทะเบียนสมรสเพื่อไปทำนิติกรรมการโอนด้วยหรือไม่

โดยคุณ Tonkannika (49.228.xxx.xxx) 29 พ.ย. 2565, 21:10

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

ตอนนี้พ่อของดิฉันป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย คุณหมอบอกมาว่าท่านอาจจะไม่รอดถึงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ ท่านมีชื่อเป็นเจ้าบ้านหลังหนึ่ง ไม่มีผู้อาศัยเพิ่มเติมนอกจากคนเช่าคนก่อนหน้าที่ยายของดิฉันจะซื้อบ้านและที่ดินนี้ (ยายของดิฉันเป็นเจ้าของที่ดิน) อยากสอบถามว่า ถ้าพ่อดิฉันเสียชีวิตแล้้้วสิทธิ์์์ในบ้านจะตกเป็นของใครหรอคะ
โดยคุณ ปานศิริ ปานน้อย 23 มี.ค. 2567, 10:20

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก


1.เจ้าบ้านเดิมเสียชีวิต โดยบ้านหลังที่อาศัยอยู่ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตาย และเป็นบ้านหลังที่ 2

โดยในทะเบียนบ้านมีผู้ตายเป็นเจ้าบ้านคนเดียวไม่มีชื่อสมาชิกในทะเบียนบ้าน แต่อาศัยอยู่ด้วยกัน 3 คนรวมผู้ตาย

ตอบ...เมื่อเจ้าบ้านเสียชีวิต  การจะเปลี่ยนเจ้าบ้านเป็นบุคคลอื่น  ผู้อาศัยในบ้านหลังนี้ 2 คนที่เหลือต้องให้ความยินยอม  แต่...ถ้าเจ้าหน้าที่ สนง.งานทะเบียนราษฎร์  ตีความเคร่งครัด คือเมื่อเจ้าบ้านถึงแก่ความตาย  บ้านจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ต้องให้ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก ให้ความยินยอมว่า ใครจะเป็นเจ้าบ้าน คือต้องมีการร้องศาลของจัดผู้จัดการมรดกก่อน....เบื้องต้นขอแนะนำให้ไปติดต่อสอบถาม  ณ สนง.ทะเบียนราษฎร์ว่า  เพียงให้ 2 คนที่อาศัยอยู่ในบ้านยินยอมเพียงพอหรือไม่  หรือต้องตั้งผู้จัดการมรดกก่อน....

  และผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกบ้านหลังนี้ให้ดิฉัน

ตอบ...การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมมอบบ้านหลังนี้ให้  ถ้าเป็นกรณีทั่วๆไป  ก็คงไม่มีปัญหา แต่การที่ผู้ตายมีภรรยาสองคน  แม้จะแยกกันอยู่เป็นเวลานาน ถ้าไม่จดทะเบียนหย่า และอยู่ร่วมกับภรรยาคนที่สอง  แต่ความผูกพันในฐานะภรรยา(ที่1)กับสามียังคงมีอยู่ตลอดไป ดังนั้นบ้านหลังที่สอง  ภรรยาคนแรกย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของกึ่งหนึ่ง เพราะได้มาในระหว่างสมรส  แม้สามีจะทำพินัยกรรมมอบบ้านหลังนี้ ให้แก่ภรรยา(ที่ 2) เพียงผู้เดียว  ผลตามกฎหมายก็คือ ภรรยาคนที่สองจะได้ส่วนแบ่งในบ้านเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น  แม้ในพินัยกรรมจะระบุเงื่อนไข หรือตัดไม่ให้ภรรยาคนแรก ได้รับส่วนแบ่งใดๆ  เงื่อนไขนั้นก็ใช้บังคับไม่ได้  ภรรยาคนแรกต้องได้รับส่วนแบ่งของเขากึ่งหนึ่งเสมอ

คำถาม ถ้าจะเปลี่ยนเจ้าบ้านต้องทำอย่างไร เปลี่ยนได้ทันทีหรือว่าต้องรอคำสั่งศาลเป็นผู้จัดการมรดกแล้วถึงเปลี่ยนได้

ตอบ..ดูคำตอบข้อ 1 ครับ

2.ผู้ตายมีภรรยา 2 คน คนที่ 1 จดทะเบียน มีลูก 2 คน แต่ไม่ได้อยู่กินฉันผัวเมียมา 16 ปี คนที่ 2 ไม่จดทะเบียน

ไม่มีบุตร อยู่กินมา 16 ปี ผู้ตายทำพินัยกรรมยกมรดกให้ ภรรยาคนที่ 2 และลูกทั้ง 2 คน โดยแยกชัดเจนว่าใตรได้รับอะไรบ้าง และระบุตัดภรรยาคนที่ 1 ออกจากทายาทโดยชอบทำไม่ให้ได้รับมรดกใดๆ

ตอบ...คำตอบข้อ 2  ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าจะแบ่งปันมรดกกันอย่างไร  สรุปคือ  บ้านหลังนี้(หลังที่ 2) ภรรยาคนแรกได้ส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งไปก่อน อีกกึ่งหนึ่งเป็นส่วนแบ่งของภรรยาคนที่สอง และบุตรทั้งสองคน  ตามเงื่อนไข ในพินัยกรรม...วิธีแบ่งปันมรดกที่มักนำมาใช้กันเสมอคือ  ตีราคาบ้านเป็นตัวเงิน ตามราคาที่เหมาะสม  และแบ่งปันกัน   ถ้ารื้อบ้านแบ่งกัน ย่อมเกิดความเสียหาย ไม่น่าจะใช้วิธีนี้...

คำถามภรรยาคนที่2 จะดำเนินการร้องต่อศาลเพื่อเป็นผู้จัดการมรดก เพื่อดำเนินการตามพินัยกรรม ในการไปยื่นต่อศาลจำเป็นต้องให้ภรรยาคนที่ 1 เซ็นเอกสารยินยอมหรือไม่ และ เมื่อได้คำสั่งศาลเป็นผู้จัดการมรดก ทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน บ้าน รถยนต์ ก่อนทำการโอนให้ผู้รับมรดกภรรยาคนที่ 1 ต้องเซ็นเอกสารยินยอมและให้สำเนาใบทะเบียนสมรสเพื่อไปทำนิติกรรมการโอนด้วยหรือไม่

ตอบ...ภรรยาคนที่สอง  ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย  เพราะสามีทำพินัยยกบ้านให้ทั้งหลัง (แม้ในความเป็นจริง  จะได้รับเพียงกึ่งหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้น) จึงสามารถร้องศาลขอเป็นผูจัดการมรดกของสามีได้  เพราะมีพินัยกรรมทที่สามีมอบบ้านให้  โดยหลักการร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก  ไม่ต้องให้ภรรยาคนที่หนึ่งยินยอมก็ได้   แต่ในความเป็นจริง  ถ้าไปยื่นฯ ภรรยาคนที่ 1 คงร้องคัดค้าน ศาลน่าจะให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันก็ได้....การเป็นผู้จัดการมรดก  ไม่ได้ทำให้มีอำนาจพิเศษที่จะสามารถจัดการทรัพย์มรดกได้ตามอำเภอใจ  ผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ ทำบัญชีทรัพย์มรดก ที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียลงลายชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน  และจัดทำบัญชีเครือญาติ  ที่มีสิทธิรับมรดก   และเรียกประชุมทายาท  เพื่อแบ่งปันมรดก ตามสิทธิของแต่ละคนดังกล่าวข้างต้น  ถ้าทำหน้าที่ผิดแผกไปจากนี้ คงถูกฟ้องถอดถอน หรือฟ้องข้อหายักยอกมรดก  ให้ต้องยุ่งยากได้  การจัดการมรดกมักมีปัญหาโต้แย้งกันมากมาย หาข้อยุติได้ค่อนข้างลำบาก ขอแนะนำทางออก  คือไปที่ สนง.อัยการคุ้งครองสิทธิ์ ที่เป็นภูมิลำเนา  ร้องขอให้อัยการเรียกคู่กรณีมาเจรจากัน   อัยการท่านก็คงให้แบ่งปันทรัพย์สินตามที่กฎหมายกำหนด  หรือตามที่ตกลงกัน การช่องทางนี้ อาจจะใช้เวลานานไปบ้าง แต่ปลอดภัย  ไม่มีค่าใช้จ่าย  และคดีคงจบลงด้วยสันติ  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

  

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 30 พ.ย. 2565, 09:23

แสดงความเห็น