WebBoard :กฎหมาย|สอบถามเรื่องสัญญาบริษัทรักษาความปลอดภัยและแรงงาน

สอบถามเรื่องสัญญาบริษัทรักษาความปลอดภัยและแรงงาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

สอบถามเรื่องสัญญาบริษัทรักษาความปลอดภัยและแรงงาน

  • 292
  • 1
  • post on 19 พ.ย. 2565, 23:27

สวัสดีค่ะ อยากขอเรียนปรึกษาทนายตามสถานการณ์และข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ค่ะ 


 1. คอนโด A ทำสัญญาว่าจ้างรปภกับบริษัท B เพื่อรักษาความปลอดภัยในคอนโดมีนายรปภ C ถูกส่งมาเป็นพนักงาน รปภ นาย C ปฏิบัติงานอย่างดี ไม่มีข้อบกพร่องมาเป็นเวลาหลายปี


2. เมื่อถึงกำหนดต่อสัญญาในปีนี้คอนโด A ตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับบริษัท B เนื่องจากระบบหลังบ้านของบริษัท B ไม่มีคุณภาพและข้อเสนอต่างๆของบริษัท D น่าสนใจกว่าจึงอยากทำสัญญารักษาความปลอดภัยกับบริษัท D ให้เข้ามาทำงานแทน


3. คอนโด A อยากจะให้นาย C อยู่ปฏิบัติวานไว้เป็นรปภตาอเพราะอยู่ที่คอนโดต่อไปเพราะปฏิบัติงานดีรู้งาน เป็นที่ไว้วางใจ รวมถึงหากนาย C ต้องย้ายไปอยู่ไซด์งานอื่นหลังจากจบสัญญา รปภ C จะมีปัญหาเรื่องที่พักอาศัย ค่าใช้จ่ายและและรปภ C ก็มีตั้งใจและจำเป็นที่จะต้องลาออกจากบริษัท B อยู่แล้วเพื่อหางานใหม่แถวๆ ที่พักอาศัยอยู่แล้ว


4. คอนโด A และรปภ C จึงประสงค์จะให้รปภ C สมัครเป็นพนักงานของบริษัท D และเข้ามาเป็นรปภประจำอยู่ที่คอนโดต่อไปเช่นเดิม โดยบริษัท D ก็ยินดีแต่เมื่อกลับมาดูสัญญาจ้าง ระหว่างคอนโด A กับบริษัท B ที่ทำต่อกันไว้นั้น มีข้อที่ระบุว่า 

“ภายในเวลา 1 ปีหลังจากยกเลิกสัญญา คอนโด A ไม่สามารถว่าจ้างพนักงานของบริษัท B เข้ามาทำงานไม่ว่าจ้าหรือจ้างผ่านผู้รับจัดหางาน  ไม่อย่างนั้นจะถึงเป็นการละเมิดงเองบริษัท B และต้องเสียค่าปรับ” ทำให้คณะกรรมการคอนโด A ไม่กล้าที่จะให้รปภ C กลับเข้ามาทำงานที่คอนโดเพราะกลัวถูกฟ้องและเสียค่าปรับ


ขอสอบถามว่า


1. หาก รปภ C ลาออกจากบริษัท B ด้วยตัวเองทั้งเพราะเหตุเรื่องความจำเป็นทางด้านที่อยู่อาศัยและความไม่สะดวกใจต่างๆ ไปสมัครงานเข้าบริษัท D และบริษัท D ส่งนายรปภ C กลับเข้ามาเป็นรปภในคอนโดถือว่าทำได้หรือไม่? เข้าข่ายละเมิดสัญญาและมีความเสี่ยงที่คอนโด A จะถูกฟ้องร้องเรียกค่าปรับหรือไม่คะ ?


2. เราจะตีความคำว่า “ผ่านผู้รับจัดหางาน” ได้อย่างไรบ้าง หาสัญญาไม่ได้ระบุคำนิยามเอาไว้แน่ชัด จะถือว่าบริษัท D ไม่ใช่ผู้รับจัดหางานได้ไหมคะ ? 


ในความเข้าใจทั่วไป ผู้รับจัดหางานหรือบริษัทจัดหางานเข้าใจว่าหมายถึงตัวกลางทำธุรกิจจัดหางานให้แก่คนที่ต้องการงานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง เช่น พวก เฮดฮันเตอร์ หรือ รีครูทเตอร์ต่างๆ ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างกำกวมว่าเค้าหมายความว่าอย่างไรกันแน่ และในกรณีนี้บริษัท D ถือเป็นบริษัททำธุรกิจรักษาความปลอดไม่ใช่บริษัทที่จัดหาคนเข้าทำงาน


3. หากคอนโดเอว่าจ้างรปภ C (ผ่านบริษัทอื่น เช่น บริษัทบริหารนิติบุคคล) เข้ามาทำงานในตำแหน่งอื่น เช่น ช่างประจำคอนโด คนสวนก่อนครบเวลา 1 ปีที่ระบุในสัญญาถือว่าเข้าละเมิดสัญญาหรือไม่คะ เนื่องจากในสัญญาไม่ได้ระบุว่าห้ามว่าจ้างในตำแหน่งใดค่ะ


4. ในสัญญาระบุว่า คอนโด A ห้ามว่าจ้างพนักงานของบริษัท บี (ไม่ว่าจ้างด้วยตัวเองหรือจ้างผ่านผู้รับจัดหางาน) แต่เมื่อพนักงาน รภป ซี ลาออกจากบริษัทแล้ว สามารถมองได้ว่า รปภ C ถือว่าพ้นตำแหน่งจากการเป็น “พนักงานของผู้ว่าจ้าง” โดยสมบูรณ์ ไม่เข้าตามที่ระบุในสัญญาแล้วได้หรือไม่คะ ?


หรือในกรณีเช่นนี้ หากอยากรักษา รปภ C ไว้ ทางทนายพอจะมีคำแนะนำอื่นๆไหมคะ ? โดยส่วนตัวคิดว่าบริษัท คงจะไม่มาฟ้องกับเรื่องยาม 1 คน (คิดว่าเค้าอาจจะอยากได้ค่าปรับหากพบว่า รปภ C ยังอยู่ในคอนโด) แต่ทางคณะกรรมการและนิติบุคคลไม่กล้าเสี่ยงทำอะไรเพราะไม่อยากให้ทางคอนโดถูกฟ้องหากเค้าทำจริงๆ จึงพยายามหาข้อมูลทางกฎหมายสนับสนุนและทำความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจ ให้รปภ C ได้ทำงานอยู่กับคอนโดต่อไปค่ะ



โดยคุณ Maykazuya (1.46.xxx.xxx) 19 พ.ย. 2565, 23:27

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ปัญหาข้อเท็จจริง/ปัญหาข้อกฎหมาย


1. หาก รปภ C ลาออกจากบริษัท B ด้วยตัวเองทั้งเพราะเหตุเรื่องความจำเป็นทางด้านที่อยู่อาศัยและความไม่สะดวกใจต่างๆ ไปสมัครงานเข้าบริษัท D และบริษัท D ส่งนายรปภ C กลับเข้ามาเป็นรปภในคอนโดถือว่าทำได้หรือไม่? เข้าข่ายละเมิดสัญญาและมีความเสี่ยงที่คอนโด A จะถูกฟ้องร้องเรียกค่าปรับหรือไม่คะ ?

ตอบ...ในเมื่อมีสัญญาระบุไว้ว่า  ห้ามจ้างพนักงานบริษัท บี  ถ้า เอ ไปจ้าง ฯ  ก็คงถูกฟ้อง จะต้องรับผิดตามสัญญาหรือไม่   ก็ต้องไปยื่นข้อต่อสู้ว่า ข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรม  ซึ่งย่อมสุ่มเสี่ยงว่าจะละเมิดหรือไม่ ซึ่งไม่น่าจะต้องเสี่ยงในเรื่องนี้  เคยมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกา  ที่วินิจฉัยข้อสัญญาของนายจ้างในลักษณะนี้ว่า สามารถใช้บังคับได้


2. เราจะตีความคำว่า “ผ่านผู้รับจัดหางาน” ได้อย่างไรบ้าง หาสัญญาไม่ได้ระบุคำนิยามเอาไว้แน่ชัด จะถือว่าบริษัท D ไม่ใช่ผู้รับจัดหางานได้ไหมคะ ? 


ในความเข้าใจทั่วไป ผู้รับจัดหางานหรือบริษัทจัดหางานเข้าใจว่าหมายถึงตัวกลางทำธุรกิจจัดหางานให้แก่คนที่ต้องการงานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง เช่น พวก เฮดฮันเตอร์ หรือ รีครูทเตอร์ต่างๆ ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างกำกวมว่าเค้าหมายความว่าอย่างไรกันแน่ และในกรณีนี้บริษัท D ถือเป็นบริษัททำธุรกิจรักษาความปลอดไม่ใช่บริษัทที่จัดหาคนเข้าทำงาน



3. หากคอนโดเอว่าจ้างรปภ C (ผ่านบริษัทอื่น เช่น บริษัทบริหารนิติบุคคล) เข้ามาทำงานในตำแหน่งอื่น เช่น ช่างประจำคอนโด คนสวนก่อนครบเวลา 1 ปีที่ระบุในสัญญาถือว่าเข้าละเมิดสัญญาหรือไม่คะ เนื่องจากในสัญญาไม่ได้ระบุว่าห้ามว่าจ้างในตำแหน่งใดค่ะ


4. ในสัญญาระบุว่า คอนโด A ห้ามว่าจ้างพนักงานของบริษัท บี (ไม่ว่าจ้างด้วยตัวเองหรือจ้างผ่านผู้รับจัดหางาน) แต่เมื่อพนักงาน รภป ซี ลาออกจากบริษัทแล้ว สามารถมองได้ว่า รปภ C ถือว่าพ้นตำแหน่งจากการเป็น “พนักงานของผู้ว่าจ้าง” โดยสมบูรณ์ ไม่เข้าตามที่ระบุในสัญญาแล้วได้หรือไม่คะ ?


หรือในกรณีเช่นนี้ หากอยากรักษา รปภ C ไว้ ทางทนายพอจะมีคำแนะนำอื่นๆไหมคะ ? โดยส่วนตัวคิดว่าบริษัท คงจะไม่มาฟ้องกับเรื่องยาม 1 คน (คิดว่าเค้าอาจจะอยากได้ค่าปรับหากพบว่า รปภ C ยังอยู่ในคอนโด) แต่ทางคณะกรรมการและนิติบุคคลไม่กล้าเสี่ยงทำอะไรเพราะไม่อยากให้ทางคอนโดถูกฟ้องหากเค้าทำจริงๆ จึงพยายามหาข้อมูลทางกฎหมายสนับสนุนและทำความเข้าใจในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจ ให้รปภ C ได้ทำงานอยู่กับคอนโดต่อไปค่ะ


ตอบ..2-3-4

...เรื่องแบบนี้ เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง  และปัญหาข้อกฎหมาย  ถ้าโต้แย้งกันไม่มีข้อยุติ  ก็ต้องให้ศาลวินิจฉัย เพราะการไปเลิกทำธุรกิจกับบริษัทหนึ่ง  และไปทำร่วมกับอีกบริษัทหนึ่ง  ผลประโยชน์ย่อมไม่ลงตัวกัน  ย่อมเป็นชนวนเกิดให้เกิดการฟ้องร้อง..อีกช่องทางหนึ่งคือใช้การเจรจากัน  อาจจะมีทางออกที่เหมาะสม   ถ้ายังไม่การตกลงกันถ้าไปจ้างฯ  ถ้าเกิดมีการฟ้องร้อง ไม่น่าจะคุ้ม ด้วยความปรารถนาดี ครับ


แนวคำพิพากษาศาลฎีกา  เทียบเคียง

3597/2561 


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 20 พ.ย. 2565, 11:31

ตอบความคิดเห็นที่ 1


แนวคำพิพากษาศาลฎีกา  เทียบเคียง

3597/2561 กฎหมายของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว การจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งสองอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์เป็นระยะเวลาเพียงสองปีนับแต่วันทำสัญญานี้สิ้นสุด ไม่ทำให้จำเลยทั้งสองผู้ถูกจำกัดสิทธิต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จำเลยทั้งสองยังประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้โดยไม่มีข้อจำกัด จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม


โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 20 พ.ย. 2565, 11:32

แสดงความเห็น