WebBoard :กฎหมาย|ลูกสามารถทวงสิทธิ์ในทรัพย์สินได้หรือไม่

ลูกสามารถทวงสิทธิ์ในทรัพย์สินได้หรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ลูกสามารถทวงสิทธิ์ในทรัพย์สินได้หรือไม่

  • 242
  • 1
  • post on 7 พ.ย. 2565, 09:36

พ่อทำธุรกิจส่วนตัวโดยมีลูกๆช่วยงานที่บริษัท ต่อมาพ่อมีเมียน้อย ทำให้แม่แยกกันอยู่กับพ่อแต่ไม่ได้จดทะเบียนหย่า เมื่อพ่อล้มป่วยลงได้เซนต์มอบอำนาจให้เมียน้อยดำเนินการธุรกิจแทน สิบปีต่อมาพ่อเสียชีวิตลง เมียน้อยได้ดำเนินการปิดบริษัทและขายทรัพย์สินที่มีอยู่ ได้แก่ที่ดิน สินค้า เครื่องจักร เป็นต้น อยากทราบว่า ภรรยาเก่าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าและลูกมีสิทธิ์เรียกร้องในทรัพย์สินนี้หรือไม่

โดยคุณ Tanya 09 (xxx) 7 พ.ย. 2565, 09:36

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

มรดกคุณพ่อ


  ตามข้อเท็จจริง  เมื่อคุณพ่อเสียชีวิตลง  ทรัพย์สินของคุณพ่อย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท อันได้แก่ คุณแม่  แม้แยกกันอยู่ แต่สภาพการสมรสก็ไม่ได้สิ้นไป  และลูกๆของคุณพ่อก็มีสิทธิ์ได้รับมรดกด้วย...ถ้าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นสินสมรส  คือทำหาได้ในระหว่างสมรสกับคุณแม่ (แม้แยกกันอยู่ หรือ ในเอกสิทธิ์มีชื่อของคุณพ่อเพียงผู้เดียว)  แม่ก็มีส่วนเป็นเจ้าของกึ่งหนึ่ง...ตัวอย่าง  ถ้าคุณพ่อมีทรัพย์มรดกมูลค่า สิบล้านบาท  คุณแม่ในฐานะคู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งไปก่อน 5 ล้านบาท  ส่วนที่เหลือ  5 ล้านบาท  แบ่งปันระหว่างคุณแม่ และลูกๆ(คุณแม่ได้รับส่วนแบ่ง สองครั้ง  ครั้งแรก คุณแม่ได้ส่วนแบ่งกึ่งหนึ่งในฐานะคู่สมรส  ครั้งที่สองได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วนกับลูกๆ ในฐานะทายาทโดยธรรม)...ส่วนภรรยาน้อย  เข้ามาในชีวิตครอบครัวไม่ถูกต้อง  ถ้าคุณแม่ฟ้องเรียกค่าทดแทนแต่แรก เขาคงรับไม่ไหว อาจตีตัวจากไป แต่เรื่องแบบนี้ละเอียดอ่อน ในเมื่อคุณพ่อรักและรับเลี้ยงดู ถ้าจะหักลำกันใหญ่โต คงมีปัญหาตามมามากมาย  คุณแม่ย่อมแยกตัวไป ถือว่า คุณแม่เสียสละอย่างใหญ่หลวง...  ภรรยาน้อย  เขาก็คงเรียกร้องขอส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก โดยอ้างว่าทำมาหาได้ร่วมกับคุณพ่อ ทำนองเป็นหุ้นส่วน ก็มีสิทธิ์ขอแบ่งปันตามส่วน....

         ทางออก ให้ลูกๆของคุณพ่อคนใดคนหนึ่งร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกของคุณพ่อ  และแบ่งปันมรดกตามหลักการที่กล่าวในข้างต้น  สำหรับเมียน้อย ก็ใช้การเจรจาแบ่งปันให้ตามสมควร โดยหลักมนุษยธรรม....ถ้าการเจรจากันไม่ลงตัว  ขอแนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือจาก อัยการคุ้มครองสืทธิ์  อัยการท่านคงเรียกคู่กรณีมาเจรจากัน  คงมีทางออกที่เหมาะสม   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 8 พ.ย. 2565, 16:12

แสดงความเห็น