WebBoard :กฎหมาย|ลูกหนี้

ลูกหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ลูกหนี้

  • 329
  • 2
  • post on 23 ก.ย. 2565, 15:47

สวัสดีค่ะ  สอบถามข้อกฎหมายค่ะ  ลูกหนี้ยืมเงินไปและไม่จ่ายดอกเบี้ยเราสามารถเขียนสัญญากู้ยืมเงินใหม่โดยเขียนรวมเงินกู้และดอกเบี้ยลงในสัญญาได้ไหมค่ะ  ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ น้อง (182.52.xxx.xxx) 23 ก.ย. 2565, 15:47

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง



     ฎีกาที่ 2518/2530


  คู่สัญญากู้ยืมเงินตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลาหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้ว ให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคแรก มิได้บังคับว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้นแม้จะตกลงกันไว้ตั้งแต่ขณะทำสัญญาข้อตกลงนี้ก็ไม่เป็นโมฆะ.

  ฎีกาที่ 5291/2540

โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 21ต่อปี ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อสัญญากู้เงินได้มีการตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 และยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 1 ปีทบเข้ากับต้นเงินและให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงในสัญญากู้เงินต่อไปด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่ตกลงในสัญญาและคิดดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 1 ปี ทบต้นได้ต่อไปจนกว่าจะชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้นการที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นดอกเบี้ยที่ทบนั้นจึงกลายเป็นเงินต้นไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง
 
 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 24 ก.ย. 2565, 09:42

ตอบความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณค่ะที่ให้คำแนะนำ

โดยคุณ น้อง 24 ก.ย. 2565, 19:25

ความคิดเห็นที่ 1

การกู้ยืมเงิน

   หลักกฎหมายตาม ปพพ. ม.655  ห้ามคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ   แต่ถ้าค้างดอกเบี้ยไม่น้อยหนึ่งปี  คู่สัญญากู้ยืมเงิน จะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบกับต้นเงิน แล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันก็ได้  การตกลงต้องทำเป็นหนังสือ....ถ้าได้มีข้อตกลงกันตั้งแต่แรก ที่มีการกู้ยืม  ก็ใช้บังคับได้  แต่จะมาตกลงกันภายหลัง  ถ้าผู้กู้ไม่ยินยอมทำหนังสือยินยอม คงมีปัญหา  คงไม่มีมาตรการใดที่ไปบังคับผู้กู้ได้  นอกจากฟ้องตามสัญญากู้ยืมฉบับเดิม..

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 24 ก.ย. 2565, 09:36

แสดงความเห็น