WebBoard :กฎหมาย|โจทก์หลายคน /ไกล่เกลี่ย คดียักยอกทรัพย์มรดก

โจทก์หลายคน /ไกล่เกลี่ย คดียักยอกทรัพย์มรดก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

โจทก์หลายคน /ไกล่เกลี่ย คดียักยอกทรัพย์มรดก

  • 424
  • 1
  • post on 22 ก.ย. 2565, 23:00

คดีนี้ฟ้องผู้จัดการมรดกข้อหายักยอกทรัพย์มรดก มีโจทก์ 4 คน ไกล่เกลี่ยกันมา 2 รอบแล้ว โจทก์ 3 คนมีทีท่ายอมตามที่จำเลยยื่นข้อเสนอ แต่โจทก์คนที่ 4 ไม่เห็นด้วย เพราะ การแบ่งทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดกได้ในส่วนที่ดีกว่าส่วนอื่น ทั้งๆที่ตัวเองเป็นคนผิด ทนายก็เหมือนอยากจะให้จบตรงที่รวมที่ดินแล้วแบ่งขาย มีทีท่าว่าจะไปตามจำเลย แบบนี้เราจะให้โจทก์ทั้ง 3 คน ถอนชื่อออกจากการฟ้องแล้วเหลือโจทก์คนที่ 4 ฟ้องคนเดียวได้มั้ย เพราะการเจรจาไกล่เกลี่ยดูแล้วไม่เป็นธรรมเลย และไม่ได้ตามความต้องการที่โจทก์ต้องการด้วย จะรวมกันขายก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีคนมาซื้อ เราไปต่อสู้ในวันที่ศาลนัดได้ไหมถ้าโจทก์ทั้ง 3 คนยอมจำเลย

โดยคุณ เจษฎา (xxx) 22 ก.ย. 2565, 23:00

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การไกล่เกลี่ยประนีประนอม


  การมีโจทก์ 4 คน  แม้ 3 คนจะยินยอมตามที่มีการไกล่เกลี่ยฯ ถ้าคุณเห็นว่าไม่เป็นธรรม  จะไม่ให้ความยินยอมด้วยก็ได้   เพราะการไกล่เกลี่ย  การจะยินยอมหรือไม่ เป็นสิทธิอันชอบธรรม และความสมัครใจเท่านั้น  ไม่มีการบังคับว่าต้องยินยอมไปตามๆกันก็ได้  ก็แสดงตัวให้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย  ศาลอาจจะให้มีการดำเนินการพิจารณาคดี ในห้องพิจารณาคดี เฉพาะคุณและจำเลย สองคนก็สามารถทำได้...

 @ ข้อคิด  จากประสบการณ์อันยาวนาน มากว่า 30 ปี  คดีมรดกมักจะยุ่งยาก เจรจากันมักไม่ลงตัว ด้วยเหตุปัจจัยมากมาย  ขอบอกว่า การไกล่เกลี่ยเจรจา มักจะไม่ได้อะไรทั้งหมด ดังที่เราหวังไว้  อาจจะขาดเกินไปบ้าง ด้วยเหตุผลมากมาย  ถ้ายอมลดราวาศอก ยอมถอยกันคนละก้าว คดีน่าจะจบลงด้วยสันติ เช่นที่ดิน อาจไม่มีคนมาซื้อ ก็มีทางออกเช่น แบ่งสัดส่วนเท่าๆกันทั้ง 4 คน  หรือถ้าที่ดินไม่อยู่ในวิสัยที่จะแบ่งปันกันได้  ก็ใช้วิธีให้ทายาททั้ง 4 คนถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ถ้าขายได้ในโอกาสต่อไป ก็สามารถแบ่งเงินกันออกเป็น 4 ส่วนได้  การไม่ยินยอมดังที่มีการไกล่เกลี่ย  ก็สามารถทำได้...  ในห้องพิจารณาคดี สุดท้ายศาลอาจให้ขายที่ดินและนำเงินมาแบ่งกันก็เป็นไปได้  การพิจารณาคดีในห้องพิจารณา อาจต้องข้ามเดือนข้ามปี  กว่าคดีจะจบลงคงบอบช้ำกันถ้วนหน้า  ในเมื่อเป็นญาติสนิท  หรืออาจจะเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ทำไมต้องมามีปัญหาโต้ แย้งกันให้พี่น้องต้องมองหน้ากันไม่ติด...   สมบัติผลัดกันชม  ไม่มีใครครอบครองเป็นเจ้าของได้เนิ่นนานมากนัก  จะหมุนเวียนเปลี่ยนมือไป ไม่รู้จบ ได้บ้างเสียบ้าง  ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ควรยินยอมกันไปจะมีแต่ความสุข  ถ้ารู้จักคำว่า "พอ"  และสามารถปล่อยวางลงได้  จะมีความที่แท้จริง ด้วยความปรารุนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 23 ก.ย. 2565, 11:53

แสดงความเห็น