มีคนอื่นเข้ามาสร้างบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกนานเกินกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งเป็นที่ดินที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกให้ทายาททุกคน ตอนนี้อยู่ระหว่างการฟ้องร้องแบ่งทรัพย์มรดกกับผู้จัดการมรดก เหตุผลที่รู้คือผู้จัดการมรดกไม่ยอมแย่งให้ จึงไปสืบทรัพย์มรดกจนพบว่ามีคนเข้ามาครอบครองอาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกนานแล้ว แบบนี้ทำอะไรได้บ้างครับ
ฎีกา 5929/2552 (ย่อ)
การครอบครองปรปักษ์
กรณีนี้มีคดีขึ้นสู่ศาลมากมาย ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาไม่จบไม่สิ้น ทั้งการเสียค่าใช้จ่าย และความบาดหมางใจกัน....เพราะกฎหมายเปิดช่องให้ผู้ที่แย่งการครอบครองที่ดินของผู้อื่น อาจจะ....ได้กรรมสิทธิ์ ที่เรียกกันว่าการครอบครองปรปักษ์ ตามเงื่อนไข ของ ปพพ. ม.1382 คือเข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยสงบ(เจ้าของไม่เคยโต้แย้ง ไม่เคยดำเนินคดี) โดยเปิดเผย(ผู้คนทั่วไปรู้เห็นพร้อมยืนยันได้) ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ(คือเข้าไปทำประโยชน์ ในฐานะเจ้าของ ไม่ใช่ การเช่า หรือเจ้าของอนุญาต) เป็นเวลาติดกัน 10 ปี ต้องร้องศาลให้ได้กรรมสิทธิ์ ถ้าการสืบพยานได้ข้อเท็จจริงตามเงื่อนไข หรือองค์ประกอบ ม.1382 เจ้าของที่ดินอาจจะสูญเสียที่ดินไปได้...เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมาย ต้องการให้เจ้าของที่ดินได้ทำประโยชน์ในที่ดิน เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ การปล่อยปละละเลยเป็น 10 ปี กรรมสิทธิ์ในที่ดินอาจจะถูกแย่งชิงไปได้....ถ้าเขามีการร้องศาล ก็สามารถร้องคัดค้านได้ ด้วยเหตุผลนานัปการ เช่น เราอนุญาต ให้ทำกิน หรือเหตุผลอื่นตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป ทนายความเขาย่อมรู้ช่องทางในการร้องคัดค้านได้ คือเจ้าของที่ดินได้รับการสันนิษฐานว่า การมีชื่อในเอกสารสิทธิ์ ย่อมเป็นผู้ครอบครองโดยชอบ แม้เจ้าของตายไปสิทธิการครอบครองนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาท ตามหลักการของ ปพพ. ม.1373.... ถ้าผู้ร้องศาลให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ นำสืบได้ไมชัดเจน ในประเด็นดังกล่าวข้างต้น ตาม ม.1382 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์...
มีอีกช่องทางหนึ่งในการแก้ปัญหา คือ ให้ผู้จัดการมรดกไปที่ศาล ยื่นคำร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง เมื่อเรียกคู่กรณีมาเจรจากัน น่าจะมีช่องทางยุติปัญหาได้โดยสันติ ไม่ต้องมีทนายความ เช่น เจ้าของที่ดินหรือทายาท อาจจะยินยอมจ่ายเงินไปบ้างตามสมควร เพื่อให้เขาย้ายออกจากที่ดิน หรือ ให้เขาซื้อที่ในราคาที่เหมาะสม หรือทางอื่นๆที่สันติ ที่พึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่าย การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง มีกฎหมายรองรับให้ทำได้ ตาม ป.วิแพ่ง ม.20 ตรี มีเจ้าหน้ที่ศาลช่วยไกล่เกลี่ยดูแล ภายใต้การกำกับดูแลของศาล การเจรจาน่าจะมีทางออก ดีกว่าการฟ้องร้อง เพราะการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ ขอแนะนำให้ช่องทางนี้ ด้วยความปรารถนาดี ครับ
ฎีกา 5929/2552 (ฉบับย่อ)
แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง
ฎีกาที่ 5929/2552