WebBoard :กฎหมาย|ขอสอบถามขอบเขตการใช้ของลิขสิทธิ์่ค่ะ

ขอสอบถามขอบเขตการใช้ของลิขสิทธิ์่ค่ะ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ขอสอบถามขอบเขตการใช้ของลิขสิทธิ์่ค่ะ

  • 385
  • 2
  • post on 31 ส.ค. 2565, 22:07


 


 

 


 

Short note


สามารถยกให้คนอื่นไปฟรีๆ ได้หรือไม่?

โดยคุณ Crissaty (xxx) 31 ส.ค. 2565, 22:07

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

แนวคำพิพากษาเทียบเคียง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2544

แม้สัญญาพิพาทที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" ก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาพิพาทเป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาแล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่ ป. ผู้จดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความว่า ตกลงกันเป็นเงิน 200,000บาทนั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาพิพาทยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัย สมบัติเจริญ ร้องแต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาพิพาทในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดเพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาพิพาท โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิในงานเพลงนั้นทั้งหมด ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้สิทธิในลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก
 

  คำพิพากษาย่อยาว



โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และห้ามมิให้จำเลยทั้งสามนำเพลงซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของนายสุรพล สมบัติเจริญ ไปทำซ้ำเพื่อจำหน่ายต่อไป

จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากสารบบความ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยชั้นนี้ตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานเพลงพิพาททั้ง 24 เพลง ตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า แม้สัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 ที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นดังกล่าวนั้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" โดยโจทก์มีนายปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มาเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 3 ผู้รับมอบฉันทะในฐานะบุตรนางศรีนวล สมบัติเจริญผู้จัดการมรดกของนายสุรพล สมบัติเจริญ ได้ตกลงยินยอมขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงของนายสุรพลตามบัญชีแนบท้ายสัญญาให้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่งตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 เป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้นซึ่งเอกสารหมาย จ.1 นอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 แล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่นายปรีชาเบิกความว่าตกลงกันเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท นั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 ยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัยสมบัติเจริญ ร้อง แต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้ว ตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 ในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาเอกสารหมาย จ.1 จริง โจทก์ก็ย่อมได้ลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้นทั้งหมดไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้ลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก ดังนั้น ที่จำเลยที่ 3 นำสืบโดยมีจำเลยที่ 3 มาเบิกความยืนยันว่า ที่ทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 ก็เพื่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะนำบทประพันธ์เพลงของนายสุรพลบิดาจำเลยที่ 3 ไปจัดการหาประโยชน์ โดยจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ร้องเพลงดังกล่าวที่มีโจทก์เป็นผู้ส่งเสริมให้จำเลยที่ 3 เป็นนักร้องยอดนิยม จึงมีน้ำหนักให้รับฟัง อีกประการหนึ่งที่นายปรีชาหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้เบิกความถึงหมายเหตุท้ายสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 ตอบทนายจำเลยที่ 3 ถามค้านว่า ขณะทำเอกสารหมาย จ.1 ยังไม่มีหมายเหตุ แต่ต่อมาประมาณ 12 ปี นายวิรวดปานเจริญ หรือมีนามแฝงว่า เอื้อ อารีย์ จึงได้ทำหมายเหตุดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 3 ได้เบิกความโต้แย้งว่า นายวิรวดผู้กรอกข้อความในเอกสารหมาย จ.1 เป็นผู้ทำหมายเหตุในวันทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 นั้นเอง ซึ่งในปัญหาว่า นายวิรวดทำบันทึกหมายเหตุท้ายเอกสารหมาย จ.1 ในภายหลังหรือไม่ จากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้ความต้องกันว่า นายวิรวดเป็นผู้กรอกข้อความในสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 และได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานด้วยและเอกสารหมาย จ.1 จัดทำขึ้นไว้เพียงฉบับเดียว โดยโจทก์เป็นผู้เก็บไว้ ทั้งนี้นายปรีชาหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 3 รับว่า นายปรีชาเป็นผู้เก็บรักษาโดยเก็บเข้าแฟ้มในตู้เอกสาร มีการใส่กุญแจและนายปรีชาเป็นผู้รับผิดชอบ อันแสดงว่าสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 ได้อยู่ในความครอบครองของโจทก์และการรู้เห็นของนายปรีชาตลอดมา โดยไม่ได้ความจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 อีกหรือไม่ นายปรีชาเบิกความเกี่ยวกับหมายเหตุว่า ต่อมาอีกประมาณ 12 ปี นายวิรวดได้ทำหมายเหตุไว้ท้ายเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งในข้อนี้ดูเหมือนจะสอดคล้องกับสำเนาสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.24 ที่เป็นเอกสารในคดีที่จำเลยที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทนิธิทัศน์โปรโมชั่น จำกัด กับพวกเป็นจำเลย ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ในงานเพลงตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5190/2536 ของศาลอาญา โดยเอกสารหมาย จ.24 ก็คือเอกสารที่ถ่ายภาพมาจากเอกสารหมาย จ.1นั่นเองเป็นแต่เอกสารหมาย จ.24 ได้มีการลงวันที่ทำสัญญาเป็นวันที่ 18 กรกฎาคม 2522 และลงราคาซื้อขายลิขสิทธิ์กันเป็นจำนวน 200,000 บาท ลายมือที่กรอกข้อความระบุวันที่ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ลายมือของนายวิรวดที่กรอกข้อความส่วนอื่นในเอกสารหมาย จ.1 ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 3 รับกันข้างต้น อันแสดงว่าได้มีบุคคลอื่นมากรอกข้อความภายหลังเอกสารหมาย จ.24 ไม่มีหมายเหตุไว้และเป็นเอกสารที่บริษัทนิธิทัศน์โปรโมชั่น จำกัด กับพวกฝ่ายจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5190/2536 ของศาลอาญาเป็นผู้อ้าง ปรากฏข้อความที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ในเอกสารหมาย จ.24 ว่า นายประจวบ จำปาทองมอบให้ประกอบคดี ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นเช่นที่นายปรีชาพยานโจทก์เบิกความประกอบเอกสารหมาย จ.1 แล้ว ย่อมแสดงว่านายวิรวดได้ทำบันทึกหมายเหตุท้ายสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เอกสารหมาย จ.1 หลังวันที่ 12 มิถุนายน 2533 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทนิธิทัศน์โปรโมชั่น จำกัด กับพวกตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5190/2536 ของศาลอาญา อันจะเป็นเวลาหลังจากทำเอกสารหมาย จ.1 ประมาณ 12 ปี ดังเช่นที่นายปรีชาเบิกความ ซึ่งหากนายวิรวดทำบันทึกหมายเหตุเอกสารหมาย จ.1 จริงแล้ว ทำไมจึงมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ด้วย ทั้ง ๆ ที่เอกสารหมาย จ.1นายปรีชาหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เป็นผู้เก็บรักษา และนายวิรวดก็ทำงานอยู่กับโจทก์โดยมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยการผลิตและจัดซื้อลิขสิทธิ์ในงานเพลง ย่อมไม่มีเหตุผลอันใดที่นายวิรวดจะเอาสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงเอกสารหมาย จ.1 มาบันทึกหมายเหตุที่ทำให้โจทก์เสียประโยชน์ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่น่ารับฟังนัก นอกจากนี้นายปรีชายังเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 3 ถามค้านอีกว่า"นายวิรวด ปานเจริญ ได้อยู่ร่วมในการทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1จนเสร็จ นายวิรวดได้ถึงแก่กรรมไปนานประมาณ 10 ปีแล้ว ปีนี้เป็นปีที่ 11 ที่นายวิรวดถึงแก่กรรม" นายปรีชาเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 3 ถามค้านดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 ตามคำของนายปรีชาแสดงว่า นายวิรวดถึงแก่กรรมเมื่อประมาณปี 2537 จึงเป็นไปไม่ได้ว่านายวิรวดได้ทำหมายเหตุท้ายเอกสารหมาย จ.1 หลังจากทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 เป็นเวลา 12 ปีหรือหลังจากที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องบริษัทนิธิทัศน์โปรโมชั่น จำกัด กับพวกเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2533ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5190/2536 ของศาลอาญา ดังที่วินิจฉัยมาแต่ต้น คำเบิกความของนายปรีชาหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ขัดกันเองเป็นพิรุธ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 จึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ เชื่อได้ว่านายวิรวดได้ทำหมายเหตุท้ายเอกสารหมาย จ.1 ให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อกำกับไว้ในวันทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 นั้นเอง เพื่อเป็นการยืนยันว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายเอกสารหมาย จ.1 แต่อย่างใด การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต้องกันว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทแล้วพิพากษายกฟ้องนั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ก.ย. 2565, 09:12

ความคิดเห็นที่ 1

ลิขสิทธิ์
 งานที่สร้างสรรค์  และเป็นลิขสิทธิ์ของบุคคลหรือนิติบุคคล  เป็นทรัพยสิทธิ์อย่างหนึ่ง  จึงสามารถมอบให้ใครก็ได้เสมอ  โดยการมอบให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ...
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ก.ย. 2565, 08:57

แสดงความเห็น