WebBoard :กฎหมาย|การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน

การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน

  • 525
  • 1
  • post on 9 ธ.ค. 2564, 10:53

สอบถาม กรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดิน

      

       มีที่ดิน 1 แปลงพร้อมบ้าน 1 หลังกำหนดให้เป็นบ้านหลังที่ 1 โดยพ่อเป็นเจ้าบ้าน ต่อมาพ่อได้โอนชื่อเจ้าบ้านให้เป็นชื่อของลูกชายให้อาศัยในบ้านหลังนี้พร้อมครอบครัว  แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ลูกสาว ซึ่งเป็นคนสุดท้องที่ดูแลพ่อ-แม่  

        แต่เนื่องอยู่กันหลายคน ต่อมาทางลูกสาวได้เอาโฉนดที่ดินนี้ไปกู้เงินสร้างบ้านใหม่ จดทะเบียนเป็นบ้านหลังที่ 2  ในที่ดินแปลงเดิม อยู่กับพ่อ-แม่ และครอบครัว ใช้ชื่อลูกสาวเป็นเจ้าของบ้านหลังใหม่ จนลูกสาวได้ชำระค่าผ่อนบ้านกัธนาคารหมด ใช้เวลาประมาณ 12 ปี และได้โฉนดกลับมาเรียบร้อยแล้ว


หมายเหตุ : ปัจจุบันครอบครัวพี่ชายได้เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 3 ปี เหลือภรรยากับลูกชาย อาศัยในบ้านหลังที่ 1

 

คำถาม


     1. บ้านหลังที่ 1 ของพี่ชาย ภรรยาเค้ามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้หรือไม่ และเค้าสามารถเรียกร้องขอเป็นกรรมสิทธิ์ในดินแปลงนี้ได้หรือไม่


     2. ถ้าต้องการให้ที่ดินแปลงนี้เป็นกรรมสิทธิ์เดิมของลูกสาวเพียงผู้เดียวต้องทำอย่างไร ( ในกรณีที่เค้าสามารถเรียกร้องกรรมสิทธิ์ในดินได้ ) ปัจจุบัน พ่อ-แม่เสียชีวิตแล้ว และลูกสาวมีครอบครัวแล้ว


โดยคุณ แสวง (49.230.xxx.xxx) 9 ธ.ค. 2564, 10:53

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

กรรมสิทธิ์ในที่ดิน


 1. บ้านหลังที่ 1 ของพี่ชาย ภรรยาเค้ามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้หรือไม่ และเค้าสามารถเรียกร้องขอเป็นกรรมสิทธิ์ในดินแปลงนี้ได้หรือไม่

ตอบ...เจ้าของบ้านหลังที่ 1 มีเพียงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน   มีเพียงกรรมสิทธิ์ ในตัวบ้านเท่านั้น ไม่มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินแต่อย่างใด

     2. ถ้าต้องการให้ที่ดินแปลงนี้เป็นกรรมสิทธิ์เดิมของลูกสาวเพียงผู้เดียวต้องทำอย่างไร ( ในกรณีที่เค้าสามารถเรียกร้องกรรมสิทธิ์ในดินได้ ) ปัจจุบัน พ่อ-แม่เสียชีวิตแล้ว และลูกสาวมีครอบครัวแล้ว

ตอบ...ตามข้อเท็จจริง  ที่ดินก็เป็นกรรมสิทธิ์ ของลูกสาว(เจ้าของบ้านหลังที่ 2) มาแต่แต่ต้น เพราะพ่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ถูกต้อง แต่.. ถ้าเกรงจะมีปัญหา  ก็ขอเสนอทางออกสามทาง  ให้เลือกเอาเองครับ

               ทางแรก  ให้เจ้าของบ้านหลังที่1  ทำสัญญาเช่าที่ดิน เพื่ออยู่อาศัย  ภายในเวลาอันสมควร  ไม่ต้องให้จ่ายค่าเช่าก็ได้ เพียงทำสัญญาเช่าไว้ เพื่อปิดปากไม่ให้เขาอ้างกรรมสิทธิ์ ในที่ดิน  โดยการครอบครองปรปักษ์ ให้ต้องปวดหัวในภายหลัง

               ทางที่สอง   แจ้งให้เขาย้ายออกภายในเวลาอันสมควร ถ้าไม่ย้ายออก ก็ฟ้องขับไล่ได้   ถ้าศาลให้ขับไล่  ถ้าเขาไม่รื้อถอนบ้าน ก็แจ้งเจ้าพนักงานบังคับคดี  รื้อบ้านออกได้เอง  โดยเจ้าของบ้านต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในการรี้อถอน  แต่คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่า เจ้าของที่ดินต้องจ่ายค่ารื้อถอน  แท้จริงตามกฎหมายไม่ใช่...ทางออกนี้ค่อนข้างเข้มงวด  ถ้าเลือกทางนี้ก็ต้อง พบกับคำตำหนิของคนบางคนพอสมควร

             ทางที่สาม  แจ้งรังวัดแยกโฉนดเป็นสองแปลง  แปลงบ้านหลังที่ 1  และแปลงบ้านหลังที่ สอง  โดยเจ้าของที่ดิน ยินยอมโอนที่ดินให้เจ้าของบ้านหลังที่ 1 อาจขอให้ช่วยค่าใช้จ่ายในการรังวัด  และการแยกโฉนดที่ดินตามสควร   ส่วนค่าที่ดิน ก็ตกลงขายในราคาแบบญาติมิตร   หรือให้เปล่า   ก็แล้วแต่สถานการณ์เป็นกรณีไป    ก็ต้องดูว่าคู่กรณี เป็นอย่างไร  ถ้าเขาอยู่แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย  ก็เลือกทางที่ไม่เข้มงวดมากนัก ถ้าเขามีปัญหา  บางที ก็ต้องเลือกทางที่เข้มงวด  การช่วยเหลือคนเป็นกุศลผลบุญอันล้ำเลิศ   แต่ต้องทำดีให้ถูกที่ถูกทาง  ถูกเวลา ถูกคน  อย่าให้เป็น แบบชาวนากับงูเห่า  เพราะช่วยแล้วมีภัย   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 10 ธ.ค. 2564, 11:07

ตอบความคิดเห็นที่ 1

..เจ้าของบ้านหลังที่ 1    มีเพียงกรรมสิทธิ์ ในตัวบ้านเท่านั้น ไม่มีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินแต่อย่างใด

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 10 ธ.ค. 2564, 11:09

แสดงความเห็น