WebBoard :กฎหมาย|มรดกผู้ตาย

มรดกผู้ตาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

มรดกผู้ตาย

  • 635
  • 1
  • post on 21 ต.ค. 2564, 19:56

ผู้ตายใส่ชื่อบุตรในโฉนดที่ดินภรรยาจดทะเบียนสมรสมีสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวหรือไม่ ส่วนที่อีกแปลงหนึ่งผู้ตายได้ซื้อไว้โดยสั่งไว้ทางวาจาจะยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่บุตรทุกคนคำสั่งนั้นมีผลทางกฏหมายได้หรือไม่

กองมรดกจะแบ่งให้บุตรกับภรรยาจำนวนเท่ากันหรือไม่ มีบุตร ๕ คน ภรรยา จะได้มรดกเท่ากับบุตร ๕ คนหรือมากว่าหรือเท่าๆกัน

โดยคุณ ทัศนัย คงยิ้ม (171.99.xxx.xxx) 21 ต.ค. 2564, 19:56

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก และ จัดการทรัพย์สิน

  การใส่ชื่อบุตรให้ถือกรรมสิทธิ์แทนภรรยา  โดยหลักภรรยาก็คือเจ้าของที่แท้จริง  จึงมีกรรมสิทธิ์แปลงนี้แต่เพียงผู้เดียว  แต่...การให้บุตรถือกรรมสิทธิ์แทน  มีความเสี่ยงสูงมาก  ถ้าไม่มีการบันทึกข้อความว่า ให้บุตรถือกรรมสิทธิ์แทนภรรยา  ก็ต้องมีข้อพิสูจน์กันยืดยาว  เพราะบุตรมีชื่อในโฉนดที่ดิน ย่อมได้รับการสันนิษฐานว่า เป็นเจ้าของที่ดิน (ปพพ. ม.1373) ก็ต้องเจรจาให่บุตรโอนให้ภรรยาคืน   ถ้าเขากลับลำว่าเขาคือเจ้าของ คงต้องมีการฟ้องร้องและหาทางพิสูจน์ ให้ศาลเห็นว่า  บุตรถือกรรมสิทธิ์แทน...ทางออกที่น่าจะสะดวกคือ  ย่อมแบ่งที่ดินให้บุตรบ้าง  หรือยินยอมจ่ายเงินบ้างตามสมควร ให้บุตรเพื่อให้เขาโอนที่ดินให้คืน  ซึ่งถ้าทำได้  จะง่ายกว่าการมีคดีฟ้องร้อง เพื่อพิสูจน์กัน  ว่าใครคือเจ้าของที่แท้จริง  ก็ไม่ทราบว่า ทำไมต้องไปให้บุตรถือกรรมสิทธิ์แทน  เป็นการวางระเบิดเวลาไว้ รอวันระเบิด....และที่ดินแปลงนี้ไม่ใช่มรดก...
  ส่วนที่ดินอีกแปลง แม้ผู้ตาย(เจ้ามรดก)ไม่ได้สั่งเสียไว้  เมื่อเจ้ามรดกตายลง   ที่ดินก็จะเป็นมรดกตกทอดแก่ภรรยาและบุตร เสมอ  ถ้าที่ดินแปลงนี้  เป็นสินสมรส (ได้มาในระหว่าง จดทะเบียนสมรส) ภรรยาต้องได้ส่วนแบ่งไปก่อนกึ่งหนึ่ง  ที่เหลือกึ่งหนึ่ง แบีง 5 ส่วนเท่าๆกัน  คือ ภรรยา  และบุตร 4 คน....แต่ถ้าที่ดินไม่ใช่สินสมรส คือผู้ตายได้มาก่อนสมรส  หรือรับมรดกมา  ก็แบ่งกัน 5 ส่วนเท่าๆกัน (ภรรยาไม่ได้ส่วนแบ่งไปก่อนกึ่งหนึ่ง  เพราะไม่ใช่สินสมรส)....ก็ใช้การเจรจาตกลงแบ่งปันกัน ด้วยสันติ  คือทางออกที่ดีที่สุด  อาจจะต้องมีผู้จัดการมรดก เป็นตัวแทนผู้ตาย  ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ให้ทายาททุกคน....ถ้าการเจรจาแบ่งปันไม่ลงตัว  ขอแนะนำให้ไปที่ศาล  ขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  น่าจะเป็นทางออกที่ดีทีท่สุด ปลอดภัยที่สุด และไม่มีค่าใช้จ่าย...ด้วยความปรารถนาดี ครับ 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 23 ต.ค. 2564, 10:24

แสดงความเห็น