WebBoard :กฎหมาย|เอารถไปรื้อเครื่องพอออกมาจากอู่ได้ไม่เกิน7วัน เครื่องพัง ปัดความรับผิดชอบ

เอารถไปรื้อเครื่องพอออกมาจากอู่ได้ไม่เกิน7วัน เครื่องพัง ปัดความรับผิดชอบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

เอารถไปรื้อเครื่องพอออกมาจากอู่ได้ไม่เกิน7วัน เครื่องพัง ปัดความรับผิดชอบ

  • 280
  • 1
  • post on 1 ต.ค. 2564, 00:03

กระผมอยากจะร้องทุกข์

เรื่องการรับผิดชอบของทางอู่ เชียงราย

เรื่องการรื้อเครื่องยนและไม่มีความรอบคอบในการประกอบ

จึงทำให้ก้านสูบหลุดและทำให้เครื่องยนต์เสียหาย

แต่ไร้ความรับผิดชอบใดๆ  (รายละเอียดมีดังนี้)


วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2564

กระผมได้นำรถยนต์ ยีห้อ FORD รุ่น RANGER ปี 2016

เข้าไปซ่อม ที่้ ร้าน  แถว สันทราย ใกล้ๆ ปั๊มน้ำมัน ปตท สาขา 4แยกแม่กรณ์

อาการรถเบื้อต้นคือ ระบบส่งกำลังเทอร์โบชาจเจอร์ เสีย(แกนขาด)

และได้ปรึกษาหารือกับเจ้าของร้าน

และทางเจ้าของร้านก็แนะนำให้รื้อเครื่องมาเช็ค

ผมก็ได้ทำการตกลงไป


วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2564

ทางร้านได้ส่งรูปมาให้ว่า กำลังจะถอดเซ็ค

ฟักบัว และปั้มน้ำมันเครื่อง แคม และฝาเครื่อง

และได้แจ้งว่า ปั๊มน้ำมันเครื่องมีปัญหา (แรงดันไม่พอในบูทสูง)

และส่งรูปเทอร์โบแจ้งมาว่าใบกลางขาด

และรื้อเช็คเครื่องจนหมด


วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2564

ได้ส่งใบเสนอราคามาให้

มีรายการดังนี้

1.เทอร์โบ F55V. 16,500

2. ค่าประกอบพร้อมเช็คเครื่อง 8,500

3 ปั๊มน้ำมันเครื่อง(เพีอง) 6,500

4.น้ำมันเครื่องสังเตราะห์ 100 liqui moly 2,300

5.ปลายหัวฉีดแท้ พร้อมเทส 12,500 

6.รีแฟลดใหม่ 2.2 6,900

7.ล้างระบบหล่อเย็น 500

8.ปะเก็นเครื่องชุดใหญ่ ฟอร์ด 2.2 6,100

9.ค่าไสฝาสูบ 800

รวมเป็นงิน 60,600

ราคาไม่รวมกาษีมูลคำเพิ่ม 56,635.51

คานีมูลค่าเพิ่ม 7% 60,600

จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 60,600.00 บาท (หกหมื่นหกร้อยบาทถ้วน)


ซึ่งทางกระผมมีใบเสนอราคาและหลักฐานการรื้อเครื่องทุกอย่าง

และได้โอนเงินไปวันเดียวกัน

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2564

กระผมได้ไปรอรับรถตั่งแต่ประมาณ 10.00 น.

แล้วรถเสร็จประมาณ 20.00น.

ทางร้านได้แจ้งให้ผมไปรีแพรชเครื่องยนต์ ที่ อ.แม่สาย โดยพาช่างไปด้วยสองคน

และพอเสร็จก็แยกย้านกันกลับบ้าน

จากนั้น

รถก็มีอาการ น้ำมันเครื่องหยด

ได้ยินเสียงในห้องเครื่อง


วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2564

รถได้มีอาการพัง

ก้านสูบแตกไปฟาดกับแคร้ง

และได้น้ำไปที่ร้าน  อีกครั้ง


วันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2564

ทางร้าน ได้นำรถสไลท์ ไปอู่อีกแห่งเป็นอู่ที่เคยประกอบเครื่องให้ก่อนหน้านั้น ที่ อ.เวียงเชียงรุ่ง จ.เชียงราย

(ซึ่งไม่ได้แจ้งทางกระผมให้ทราบก่อน)


วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2564

กระผมได้เข้าไปเจรจากับทางอู่ถึงการรับผิดชอบและประกัน 

ซึ่งทางอู้ได้ปัดความรับผิดชอบ มาว่า มันเป็นความผิดในการขับขี่ ของตัวลูกค้าเอง ทางร้านไม่รับประกัน

ซึ่งทางร้านจะรับประกันแค่ตัวอะไหล่ที่เปลี่ยน

(แต่ทางร้านได้รี้อ ตรงส่วนที่เสียหายออกก่อนหน้า และการจะเกิดการไม่ระมัดระวังในการประกอบ)

ทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย การสูบหลุดและหัก พาดห้องเครื่องพัง ต้องยกเครื่องใหม่ประมาณ 85,000

ซึ่งผมต้องดำเดินการยังไงต่อไปครับ

ตอนนี้ยื่นเรื่องเข้าศูนย์ดพรงธรรมและ สคบ. แล้ว สามารถฟ้องได้ไหมครับ


โดยคุณ ฤทธิเกียรติ์ (172.70.xxx.xxx) 1 ต.ค. 2564, 00:03

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การจ้างทำของ 


  คือมุ่งความสำเร็จของงานที่จ้างเป็นสำคัญ  เช่นจ้าง

ให้ซ่อมรถ  การจ้างทำของไม่ต้องมีสัญญา  เพียงตกลงด้วยวาจาก็ใช้บังคับได้....การตอบปัญหาวันนี้  จะมุ่งเน้นข้อกฎหมายให้ทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเจรจากัน  เพราะในเมื่อมีร้องศูนย์ดำรงธรรม   ก็ย่อมให้มีการเจรจาตกลงไกล่เกลี่ยกัน....

     การที่คุณเจ้าของรถรับมอบรถคืนมาจากอู่  โดยมิอิดเอื้อนโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย  ผู้ว่าจ้าง(อู่) ไม่ต้องรับผิด  ตาม ปพพ. 598  อู่คงพอรู้หลักกฎหมายในเรื่องนี้ดีพอสมควร เมื่อเกิดความบกพร่อง จึงปัดว่าเป็นความผิดของผู้ขับขี่...

     การนำรถไปให้อู่อื่นซ่อม ทำนองเป็นผู้รับจ้างช่วง  ถ้าไม่มีการตกลงกันชัดเจนว่า ห้ามนำไปให้อู่อื่นซ่อม  เจ้าของรถก็ย่อมเสียเปรียบ  เพราะมีข้อกฎหมายให้อู่สามารถทำได้ คือ ปพพ. ม.  607

   ในการเจรจาก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามที่เกิดขึ้นจริง  แต่ก็คงมีการเจรจาต่อรองกันมากมาย  เพราะเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งเท่านั้น  ถ้าตกลงกันไม่ได้  ศูนย์ดำรงธรรม  ก็คงแนะนำให้ไปฟ้องทางแพ่งเอาเองเท่านั้น  ก็สามารถฟ้องได้ภายใน อายุความ 2 ปี (ฎ.1062/2551)  แต่จะคุ้มค่าหรือไม่ ต้องคิดคำนวณเอาเอง ครับ...  การซ่อมรถถ้าให้ศูนย์ของผู้ขายรถโดยตรงซ่อม จะปลอดภัย  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 1 ต.ค. 2564, 07:31

แสดงความเห็น