WebBoard :กฎหมาย|ที่ดินมรดกพ่อที่ไถ่ถอนโดยประกันหนี้และไถ่ถอนโดยทายาท เจ้าหนี้พ่อฟ้องยึดได้มั้ย?

ที่ดินมรดกพ่อที่ไถ่ถอนโดยประกันหนี้และไถ่ถอนโดยทายาท เจ้าหนี้พ่อฟ้องยึดได้มั้ย?

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ที่ดินมรดกพ่อที่ไถ่ถอนโดยประกันหนี้และไถ่ถอนโดยทายาท เจ้าหนี้พ่อฟ้องยึดได้มั้ย?

  • 339
  • 1
  • post on 18 ก.ย. 2564, 15:53

พ่อเอาโฉนดที่ดินค้ำประกันเงินกู้ออมสินให้แม่ 

พ่อเสียชีวิตเม.ยปี55

แม่เสียชีวิตพ.ย.ปี61 

ประกันหนี้เงินกู้แม่จ่ายหนี้ให้ทั้งหมดไถ่ถอน​โฉนดออกมาฟรี

-ลูกนำเงินไปไถ่ถอนที่ดินพ่อติดจำนอง 1ฉบับ ที่​สหกรณ์​การเกษตร​ 1แสนบาท 

แล้ว ต.ค.62 ยื่นทำเรื่องไถ่ถอนมาเป็นชื่อผู้จัดการมรดก(ทายาทคนทิ1)​ยังไม่แบ่ง


คำถาม

1.ที่ดินที่ไถ่ถอนโดยประกันหนี้แม่จ่ายหนี้ให้ ถือว่าสิทธิเป็นของทายาทเลยมั้ย ได้สิทธิแบ่งเลยมั้ย เจ้าหนี้พ่อมีสิทธิฟ้องยึดมั้ย

2.ที่ดินพ่อที่ทายาทไถ่มาเอง สิทธิเป็นของใคร เจ้าหนี้พ่อจะมาฟ้องเอาได้มั้ย

โดยคุณ mayya (172.70.xxx.xxx) 18 ก.ย. 2564, 15:53

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก


1.ที่ดินที่ไถ่ถอนโดยประกันหนี้แม่จ่ายหนี้ให้ ถือว่าสิทธิเป็นของทายาทเลยมั้ย ได้สิทธิแบ่งเลยมั้ย เจ้าหนี้พ่อมีสิทธิฟ้องยึดมั้ย

ตอบ...เมื่อพ่อแม่ ถึงแก่กรรมลง  ทรัพย์สินของท่านจะกลายเป็นมรดก  ตกทอดแก่ทายาท เช่นลูกๆ ด้วยผลของกฎหมาย  แม้ยังไม่มีการไถ่ถอนจากการเป็นหนี้  ทรัพย์สินเหล่านั้น ก็จะตกทอดแก่ทายาท  เพียงแต่ทายาทต้องรับมรดกหนี้นั้น  คือต้องใช้หนี้ของเจ้ามรดก  แต่ไม่ต้องใช้หนี้เกินกว่ามรดกที่ตนได้รับ   เจ้าหนี้จะยึดได้หรือไม่   ก็อยู่ที่กองมรดกนั้นยังมีหนี้สินคงอยู่หรือไม่  ตามที่บอกมา  ได้มีการใช้หนี้แล้ว  ดังนั้นเจ้าหนี้ คงยึดไม่ได้  ทายาทก็สามารถแบ่งปันมรดกได้  แม้ยังไม่ไถถอนจากการเป็นหนี้   ก็สามารถแบ่งปันมรดกได้  เพียงแต่ทายาท ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่  คือ ทายาทมีสิทธิได้รัมรดก  และมีหน้าที่ต้องใช้หนี้ กองมรดกด้วย

2.ที่ดินพ่อที่ทายาทไถ่มาเอง สิทธิเป็นของใคร เจ้าหนี้พ่อจะมาฟ้องเอาได้มั้ย

ตอบ...การไถ่ถอน  ทรัพย์สินของพ่อของทายาท คนใดคนหนึ่ง  ถ้าไม่มีการทำบันทึกไว้ ให้ชัดเจน ในกลุ่มทายาททุกคนว่า ทายาทคนนั้น ขอไถ่ถอน ที่ดินจากการเจ้าหนี้  และทายาททุกคนต้องร่วมรับผิดคือร่วมกันเฉลี่ยเงิน  ที่ทายาทคนนั้นไถ่ถอนมา เท่าเทียมกัน   อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า ทายาทที่ไถ่ถอนนั้น  ไปใช้หนี้ตามอำเภอใจ คือไม่ได้มีหน้าที่ไปใช้หนี้  แม้จะมีข้ออ้างว่า  ใช้หนี้ในฐานะทายาท   ถ้าทายาทคนอื่นๆไม่ยินยอม   จะขอแบ่งปันมรดกตามสิทธิของตน  โดยไม่สนใจเฉลี่ยเงินที่ ทายาท ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนมา   ย่อมเกิดปัญหาโต้แย้งกัน  ให้ต้องยุ่งยากได้...ทางออก   ควรทำบันทึก ในลักษณะนี้ไว้   ตั้งแต่ยังไม่เกิดปัญหา ให้ทายาทลงลายมือชื่ีอรับรองไว้...และควรแจ้งให้ผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดก  ให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งปี  ถ้าแบ่งปันหลังจากผ่านไปหลายปี  แม้ยังไม่ขาดอายุความ แต่มักจะมีปัญหาตามมามากมาย....ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 19 ก.ย. 2564, 08:04

แสดงความเห็น