WebBoard :กฎหมาย|ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งมรดกให้บุตรบุญธรรม

ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งมรดกให้บุตรบุญธรรม

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ผู้จัดการมรดกไม่แบ่งมรดกให้บุตรบุญธรรม

  • 634
  • 3
  • post on 12 ก.ย. 2564, 23:25

สวัสดีค่ะคืออยากจะมาสอบถามหน่อยค่ะพอดีหนูเป็นบุตรบุญธรรมของนาย ว.(ผู้เสียชีวิต)ในครอบครัวของนาย ว.จะมี แม่ น้องสาวคนที่1 น้องสาวคนที่2 น้องชาย ภรรยา(ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) ลูกสาวที่1 ลูกสาวที่2 (ทั้งสองคนนี้เป็นลูกสาวของภรรยาเก่าที่เสียชีวิตไปแล้ว)และหนู(ลูกสาวบุญธรรม)หนูเป็นลูกสาวของคนที่สอง(ตอนนี้หนูยังไม่บรรลุนิติภาวะ)แต่นาย ว. รับเป็นบุตรบุญธรรม พอนาย ว. เสียชีวิตลง ได้มีการคุยกันภายในครอบครัวให้น้องสาว1เป็นผู้จัดการมรดกเพราะน้องสาว2อ่านหนังสือไม่ออก ทั้งนี้นาย ว. ได้แบ่งทรัพย์สินไว้ให้เรียบร้อยแล้วและเซ็นยกเงินให้บุตรบุญธรรมไว้จำนวนหนึ่งพอถึงวันไปเซ็นรับเงินน้องสาว1ได้ ยื่นเอกสารฉบับนึงมาให้บุตรบุญธรรมเซ็นซึ่งทางบุตรบุญธรรมก็ได้เซ็นไปเพราะเราไว้ใจกันพอผ่านมาหลายเดือนทางเราไม่ได้รับเงินจำนวนนั้นแถมบ้านที่ดินรถไถ่หรือทรัพย์สินต่างไปที่นาย ว. เซ็นให้บุตรของตนให้ภรรยาและให้บุตรบุญธรรมถูกเปลี่ยนชื่อเป็นของน้องสาว1ของแม่ของน้องชายซึ่งทางเราไม่ทราบเพราะทางฝั่งแม่ของนาย ว.ไม่ได้แจ้งให้ทางเราทราบและมาทราบภายหลังคือน้องสาว1ได้ทำการถอนเงินที่นาย ว.เซ็นให้บุตรบุญธรรมไปแล้ว คือหนูอยากจะถามว่าเราสามารถยื่นฟ้องได้มั้ยคะพอดีทรัพย์สินมันเยอะจริงๆหนูสามารถทำยังไงได้บ้างตอนนี้ผ่านมา5ปีแล้วค่ะยังไม่มีวี่แววที่จะได้รับทรัพย์สินเลยค่ะ                        

โดยคุณ ลลิตา (172.68.xxx.xxx) 12 ก.ย. 2564, 23:25

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

การจัดการมรดก 


    ก่อนอื่นขอบอกว่า...  ข้อเท็จจริงที่เล่ามา  ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร  ก็จะขอตอบตามข้อมูลที่บอก  ถ้าไม่ถูกต้อง  ก็สามารถแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจน  และพร้อมจะให้คำตอบที่ถูกต้อง  ครับ...

   ที่บอกว่า ว. รับคุณเป็นบุตรบุญธรรมนั้น  มีการจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ ประเด็นนี้สำคัญมาก  เพราะถ้าไม่จดทะเบียน  ก็ถือว่าไม่ใช่บุตรบุญธรรมตามกฎหมาย  ก็รับมรดกของบิดาบุญธรรมไม่ได้  และบอกว่าคุณเป็นบุตรของคนที่สอง หมายความว่าคุณเป็นหลานของ ว.  ใช่หรือไม่...
    ประเด็นที่ว่า  ว. มีการเซ็นมอบทรัพย์สินให้คุณนั้น  เป็นเอกสารแบบไหน เข้าข่ายเป็นพินัยกรรมหรือไม่  ถ้าเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้อง  เอกสารนั้นย่อมสมบูรณ์ เมื่อ  ว. ตาย ลง  คุณก็มีสิทธิ์รับมรดกของ ว. ตามพินัยกรรมนั้น  ถ้าผู้จัดการมรดกไม่แบ่งปันให้  ก็ต้องโต้แย้ง  ถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาล...และเอกสารที่ ว. เซ็นไว้ให้นั้น ยังอยู่หรือไม่...
   หลักการแบ่งปันมรดก  จากข้อมูลที่เล่ามา...ผู้ที่มีสิทธิ์รับมรดกของ ว.คือ  แม่ของ ว. บุตร คนที่ 1 คนที่ 2 น้องชาย...และตัวคุณผู้เป็นบุตรบุญธรรม (ถ้าจดทะเบียนถูกต้อง) ส่วนภรรยาของ ว. ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของ  ว.  เพราะไม่จดทะเบียนสมรส   แต่มีสิทธิ์ของแบ่งปันทรัพย์สิน ของ ว. ได้ ในฐานะ หุ้นส่วน(ทำมาหาได้ร่วมกัน ในฐานะสามีภรรยา แม้ไม่จดทะเบียนฯ)
และภรรยาอาจจะได้รับมรดก ถ้า ว.  เจ้ามรดก  ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินให้เขา...  หลักการแบ่งปันมรดก ในกรณีที่ถาม  ถ้าภรรยาที่ไม่จดทะเบียนสมรสพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินของ ว เขามีส่่วนทำมาหาได้ร่วมกัน เขาก็สามารถขอแบ่งไปได้ กึ่งหนึ่ง  ที่เหลือ กี่งหนึ่งแบ่งกัน 5 ส่วนเท่าๆกัน  คือ แม่ของ ว. ลูกทั้ง 3 คน  และคุณผู้เป็นบุตรบุญธรรม....ในเมื่อมีผู้จัดการมรดก  ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่  ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้ถูกต้อง  ให้ทายาทลงชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน  และมีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์สิน ไปตามกฎหมายกำหนด ดังกล่าวข้างต้น หรือตามที่ตกลงกันก็ได้  ควรแบ่งปันให้แล้วเสร็จ
ภายใน หนึ่งปี นับแต่ เจ้ามรดกตาย  ถ้ายังเพิกเฉยต้องแจ้งให้เขาแบ่งปัน หรือแบ่งปันไม่ถูกต้อง   ต้องโต้แย้ง  ถ้าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้ว  แต่ยังไม่ถูกต้อง ทายาท ต้องฟ้องร้องภายในอายุความ 5 ปี  แต่ถ้ายังไม่แบ่งให้ตามสิทธิ์  ต้องสอบถามหรือแจ้งเปฺ็นหนังสือ ให้ผู้จัดการมรดก แบ่งปันมรดกให้โดยเร็ว และควรขอดูบัญชีทรัพย์มรดกด้วย ถ้าไม่ทำไว้ ถือว่า ทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง ร้องศาล ให้ถอดถอนจากผู้จัดการมรดกได้ ไม่ควรรอมาถึง 5 ปี(นานเกินไป) ถ้าเขายังเพิกเฉยควรฟ้องศาล....ขอแนะนำว่า ในขณะนี้ศาลทั่วประเทศมีระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  ก็ไปที่ศาล  ที่ภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้นๆ  แจ้งเจ้าหน้าที่  เล่าข้อเท็จจริง  ขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  เจ้าหน้าที่จะเชิญคู่กรณีมาเจรจาตกลงกันที่ศาล  โดยมีเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ย  ให้ความช่วยเหลือแนะนำที่ถูกต้องทั้งสองฝ่าย น่าจะมีช่องทางตกลงกันได้อย่างสันติ โดยไม่ต้องมีทนายความก็ได้ โดยมีศาลคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด จึงมั่นใจในความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้  ที่สำคัญการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องไม่มีค่าใช้จ่าย ครับ...ขอแนะนำว่า อย่ามัววิตกเกรงกลัว  ไม่กล้าไปศาล  เพราะอาจรับฟังข้อมูลที่ผิดๆมา ว่า  ไปศาลยุ่งยากสลับซับซ้อน  กลัวโดนหลอก โลกเปลี่ยนไปแล้ว  ขณะนี้ศาลมีระบการไกล่เกลี่ย และประนีประนอม  ที่ช่วยลดปัญหาลดค่าใช้จ่าย สะดวกปลอดภัย รวดเร็ว บริสุทธิ์ยุติธรรม....แต่ถ้าคุณไม่ใช่บุตรบุญธรรมที่ถุกต้องตามกฎหมาย  คุณไม่มีสิทธิ์รับมรดก เว้นแต่จะมีพินัยกรรมระบุไว้ชัดเจนว่ามอบให้คุณ  ด้วยความปรารถนาดี  ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 13 ก.ย. 2564, 08:15

ตอบความคิดเห็นที่ 3

ส่งเป็นอักษรตัวเล็ก  จึงส่งได้ครบถ้วน หวังว่า คงได้ประโยชน์นะครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 13 ก.ย. 2564, 08:16

ความคิดเห็นที่ 2

การจัดการมรดก 


    ....ขอแนะนำว่า ในขณะนี้ศาลทั่วประเทศมีระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 13 ก.ย. 2564, 08:12

ตอบความคิดเห็นที่ 2

เสียดายข้อมูลที่มีประโยชน์  หายไป  ทำให้คำตอบดูไม่ชัดเจน

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 13 ก.ย. 2564, 08:13

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก 

    ก่อนอื่นขอบอกว่า...  ข้อเท็จจริงที่เล่ามา  ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร  ก็จะขอตอบตามข้อมูลที่บอก  ถ้าไม่ถูกต้อง  ก็สามารถแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจน  และพร้อมจะให้คำตอบที่ถูกต้อง  ครับ...

   ที่บอกว่า ว. รับคุณเป็นบุตรบุญธรรมนั้น  มีการจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ ประเด็นนี้สำคัญมาก  เพราะถ้าไม่จดทะเบียน  ก็ถือว่าไม่ใช่บุตรบุญธรรมตามกฎหมาย  ก็รับมรดกของบิดาบุญธรรมไม่ได้  และบอกว่าคุณเป็นบุตรของคนที่สอง หมายความว่าคุณเป็นหลานของ ว.  ใช่หรือไม่...
    ประเด็นที่ว่า  ว. มีการเซ็นมอบทรัพย์สินให้คุณนั้น  เป็นเอกสารแบบไหน เข้าข่ายเป็นพินัยกรรมหรือไม่  ถ้าเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้อง  เอกสารนั้นย่อมสมบูรณ์ เมื่อ  ว. ตาย ลง  คุณก็มีสิทธิ์รับมรดกของ ว. ตามพินัยกรรมนั้น  ถ้าผู้จัดการมรดกไม่แบ่งปันให้  ก็ต้องโต้แย้ง  ถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาล...และเอกสารที่ ว. เซ็นไว้ให้นั้น ยังอยู่หรือไม่...
   หลักการแบ่งปันมรดก  จากข้อมูลที่เล่ามา...ผู้ที่มีสิทธิ์รับมรดกของ ว.คือ  แม่ของ ว. บุตร คนที่ 1 คนที่ 2 น้องชาย...และตัวคุณผู้เป็นบุตรบุญธรรม (ถ้าจดทะเบียนถูกต้อง) ส่วนภรรยาของ ว. ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของ  ว.  เพราะไม่จดทะเบียนสมรส   แต่มีสิทธิ์ของแบ่งปันทรัพย์สิน ของ ว. ได้ ในฐานะ หุ้นส่วน(ทำมาหาได้ร่วมกัน ในฐานะสามีภรรยา แม้ไม่จดทะเบียนฯ)
และภรรยาอาจจะได้รับมรดก ถ้า ว.  เจ้ามรดก  ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินให้เขา...  หลักการแบ่งปันมรดก ในกรณีที่ถาม  ถ้าภรรยาที่ไม่จดทะเบียนสมรสพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินของ ว เขามีส่่วนทำมาหาได้ร่วมกัน เขาก็สามารถขอแบ่งไปได้ กึ่งหนึ่ง  ที่เหลือ กี่งหนึ่งแบ่งกัน 5 ส่วนเท่าๆกัน  คือ แม่ของ ว. 
ภายใน หนึ่งปี นับแต่ เจ้ามรดกตาย  ถ้ายังเพิกเฉยต้องแจ้งให้เขาแบ่งปัน หรือแบ่งปันไม่ถูกต้อง   ต้องโต้แย้ง  ถ้าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้ว  แต่ยังไม่ถูกต้อง ทายาท ต้องฟ้องร้องภายในอายุความ 5 ปี  แต่ถ้ายังไม่แบ่งให้ตามสิทธิ์  ต้องสอบถามหรือแจ้งเปฺ็นหนังสือ ให้ผู้จัดการมรดก แบ่งปันมรดกให้โดยเร็ว และควรขอดูบัญชีทรัพย์มรดกด้วย ถ้าไม่ทำไว้ ถือว่า ทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง ร้องศาล ให้ถอดถอนจากผู้จัดการมรดกได้ ไม่ควรรอมาถึง 5 ปี(นานเกินไป) ถ้าเขายังเพิกเฉยควรฟ้องศาล....ขอแนะนำว่า ในขณะนี้ศาลทั่วประเทศมีระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  กต้องตามกฎหมาย  คุณไม่มีสิทธิ์รับมรดก เว้นแต่จะมีพินัยกรรมระบุไว้ชัดเจนว่ามอบให้คุณ  ด้วยความปรารถนาดี  ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 13 ก.ย. 2564, 08:07

ตอบความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก 


    ก่อนอื่นขอบอกว่า...  ข้อเท็จจริงที่เล่ามา  ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร  ก็จะขอตอบตามข้อมูลที่บอก  ถ้าไม่ถูกต้อง  ก็สามารถแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมให้ชัดเจน  และพร้อมจะให้คำตอบที่ถูกต้อง  ครับ...

   ที่บอกว่า ว. รับคุณเป็นบุตรบุญธรรมนั้น  มีการจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ ประเด็นนี้สำคัญมาก  เพราะถ้าไม่จดทะเบียน  ก็ถือว่าไม่ใช่บุตรบุญธรรมตามกฎหมาย  ก็รับมรดกของบิดาบุญธรรมไม่ได้  และบอกว่าคุณเป็นบุตรของคนที่สอง หมายความว่าคุณเป็นหลานของ ว.  ใช่หรือไม่...
    ประเด็นที่ว่า  ว. มีการเซ็นมอบทรัพย์สินให้คุณนั้น  เป็นเอกสารแบบไหน เข้าข่ายเป็นพินัยกรรมหรือไม่  ถ้าเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้อง  เอกสารนั้นย่อมสมบูรณ์ เมื่อ  ว. ตาย ลง  คุณก็มีสิทธิ์รับมรดกของ ว. ตามพินัยกรรมนั้น  ถ้าผู้จัดการมรดกไม่แบ่งปันให้  ก็ต้องโต้แย้ง  ถ้าตกลงกันไม่ได้ ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาล...และเอกสารที่ ว. เซ็นไว้ให้นั้น ยังอยู่หรือไม่...
   หลักการแบ่งปันมรดก  จากข้อมูลที่เล่ามา...ผู้ที่มีสิทธิ์รับมรดกของ ว.คือ  แม่ของ ว. บุตร คนที่ 1 คนที่ 2 น้องชาย...และตัวคุณผู้เป็นบุตรบุญธรรม (ถ้าจดทะเบียนถูกต้อง) ส่วนภรรยาของ ว. ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของ  ว.  เพราะไม่จดทะเบียนสมรส   แต่มีสิทธิ์ของแบ่งปันทรัพย์สิน ของ ว. ได้ ในฐานะ หุ้นส่วน(ทำมาหาได้ร่วมกัน ในฐานะสามีภรรยา แม้ไม่จดทะเบียนฯ)
และภรรยาอาจจะได้รับมรดก ถ้า ว.  เจ้ามรดก  ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินให้เขา...  หลักการแบ่งปันมรดก ในกรณีที่ถาม  ถ้าภรรยาที่ไม่จดทะเบียนสมรสพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินของ ว เขามีส่่วนทำมาหาได้ร่วมกัน เขาก็สามารถขอแบ่งไปได้ กึ่งหนึ่ง  ที่เหลือ กี่งหนึ่งแบ่งกัน 5 ส่วนเท่าๆกัน  คือ แม่ของ ว. 
ภายใน หนึ่งปี นับแต่ เจ้ามรดกตาย  ถ้ายังเพิกเฉยต้องแจ้งให้เขาแบ่งปัน หรือแบ่งปันไม่ถูกต้อง   ต้องโต้แย้ง  ถ้าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้ว  แต่ยังไม่ถูกต้อง ทายาท ต้องฟ้องร้องภายในอายุความ 5 ปี  แต่ถ้ายังไม่แบ่งให้ตามสิทธิ์  ต้องสอบถามหรือแจ้งเปฺ็นหนังสือ ให้ผู้จัดการมรดก แบ่งปันมรดกให้โดยเร็ว และควรขอดูบัญชีทรัพย์มรดกด้วย ถ้าไม่ทำไว้ ถือว่า ทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง ร้องศาล ให้ถอดถอนจากผู้จัดการมรดกได้ ไม่ควรรอมาถึง 5 ปี(นานเกินไป) ถ้าเขายังเพิกเฉยควรฟ้องศาล....ขอแนะนำว่า ในขณะนี้ศาลทั่วประเทศมีระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 13 ก.ย. 2564, 08:10

แสดงความเห็น